ชาวเอเชียในออสเตรเลียเสี่ยงเกิดหอบหืดเฉียบพลันมากกว่าใคร

ข้อมูลล่าสุดชี้ผู้อพยพย้ายถิ่นที่เป็นชาวเอเชียบางกลุ่ม มีความเสี่ยงเกิดอาการหอบหืดเฉียบพลันในช่วงพายุฝนฟ้าคะนอง มากกว่าคนกลุ่มอื่น

จากรายงานด้านสุขภาพของรัฐบาลรัฐวิกตอเรียพบว่า ประชาชนที่มีเชื้อสายเป็นชาวเอเชียตะวันออก หรือเอเชียใต้ ซึ่งย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในออสเตรเลีย มีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเกิดอาการหอบหืดเฉียบพลันและเกิดอาการโรคภูมิแพ้อื่น

ศาสตราจารย์แฟรงค์ เทียน ผู้อำนวยการด้านโรคระบบการหายใจ ของ อีสเทิร์น เฮล์ท คลินิคัล สกูล (Eastern Health Clinical) แห่งมหาวิทยาลัยโมนาช เป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ร่วมทำการศึกษาวิจัยนี้ เขากล่าวว่า

“ประชาชนที่มีพื้นเพเป็นชาวเอเชียและชาวอินเดียซึ่งเดินทางมายังออสเตรเลีย หรือมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเกิดโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะการแพ้ละอองเกสรดอกไม้หรือละอองพืช (Hay Fever) และโรคหอบหืด (asthma) และความเสี่ยงนั้นจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่อยู่ในออสเตรเลีย” ศาสตราจารย์เทียน กล่าว
เหตุการณ์สภาพอากาศที่สุดโต่งยังสามารถเพิ่มความเสี่ยงดังกล่าวให้มากขึ้นอย่างกระทันหันอีกด้วย

แอนนา คิม แอนเดอร์สัน ประสบอาการหอบหืดเฉียบพลันครั้งแรก ระหว่างที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนองครั้งหนึ่งในเมลเบิร์น เมื่อ 8 ปีก่อน

“ฉันเกิดอาการหายใจลำบาก ฉันรู้สึกหายใจติดขัดและมีเสียงดังเวลาหายใจ ฉันมีอาการแน่นหน้าอก และเพราะฉันไม่เคยเป็นโรคหอบหืดมาก่อน ฉันจึงไม่เข้าใจว่ามันเป็นอาการอะไร” คุณแอนเดอร์สัน เล่า
Anna Kim Anderson experienced her first asthma attack in 2010.
Anna Kim Anderson experienced her first asthma attack in 2010. Source: SBS
หลังจากเกิดอาการหอบหืดเฉียบพลันในปี 2010 คุณแอนเดอร์สันได้ประสบอาการเช่นเดียวกันอีกครั้งระหว่างมีพายุฝนฟ้าคะนองในปี 2016

เมื่อเธอไปถึงโรงพยาบาล เธอจึงตระหนักว่าเธอไม่ใช่คนเดียวที่เกิดอาการหอบหืดเฉียบพลันขึ้นระหว่างมีพายุ

“ฉันได้รับออกซิเจนน้อยมาก พวกเขาจึงนำตัวฉันส่งตรงเข้าห้องไอซียูทันที ทั้งห้องเต็มไปด้วยคนเชื้อสายเอเชียและอินเดีย ซึ่งกำลังประสบอาการหอบหืดเฉียบพลันเช่นเดียวกันฉัน”

เกือบร้อยละ 40 ของผู้ป่วยที่มายังห้องฉุกเฉินเพราะอาการหอบหืดเฉียบพลันในระหว่างพายุฝนฟ้าคะนองในปี 2016 เป็นผู้ที่เกิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก หรือในเอเชียใต้

จากผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมด 10 คนเพราะอาการหอบหืดเฉียบพลันระหว่างเหตุการณ์พายุ ในจำนวนนั้น 6 คน เป็นผู้ที่มีเชื้อสายชาวเอเชียตะวันออก และชาวเอเชียใต้

ผู้เชี่ยวชาญต่างยังคงไม่แน่ใจว่าเหตุใดผู้คนกลุ่มนี้จึงมีความอ่อนแอต่อโรคภูมิแพ้ แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่าแม้แต่ผู้ที่เกิดในออสเตรเลียแต่มีพ่อแม่เป็นชาวเอเชีย ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ สูงกว่าผู้ที่ไม่ได้มีพ่อแม่เป็นชาวเอเชีย
Pollen in Melbourne, 2016.
Pollen in Melbourne, 2016. Source: AAP
การศึกษาวิจัยดังกล่าวระบุว่ากรรมพันธุ์ รวมทั้งการได้สัมผัสกับละอองเกสรดอกไม้ ละอองพืชหรือละอองหญ้าต่างๆ ที่มีในภูมิภาคเหล่านั้นในเอเชีย อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการหอบหืดเฉียบพลันนี้

ขณะที่ออสเตรเลีย มีฤดูกาลที่มีละอองเกสรดอกไม้ ละอองพืช และละอองหญ้าล่องลอยในอากาศมากกว่าปกติ ในช่วงต้นเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนธันวาคม คุณแองจี โบน รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพจากกระทรวงสาธารณะสุขรัฐวิกตอเรีย เตือนให้ประชาชนที่มีพื้นเพเป็นชาวเอเชียตะวันออกและชาวเอเชียใต้ให้เตรียมพร้อมรับมือ

“ประชาชนสามารถเตรียมการป้องกันได้ เช่น พยายามทำให้แน่ใจว่าพวกเขามียาพ่นหอบหืดติดตัวไว้ ให้อยู่ภายในอาคารหรือในบ้านจากเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ให้ปิดหน้าต่างเพื่อไม่ให้ละอองเกสรดอกไม้หรือพืชเข้ามาภายในห้องได้” คุณโบน แนะนำ

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 30 October 2018 2:01pm
Updated 2 December 2021 4:16pm
By Amelia Dunn
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand