รมต.สาธารณสุขออสฯ ย้ำวัคซีนต้านโควิดมาถึงต้นปีหน้าแน่นอน

ยืนยันกรอบเวลาเดิม รัฐมนตรีสาธารณสุขออสฯ เผยวัคซีนต้านโควิดไม่เลื่อนเวลามาถึงออสเตรเลียที่กำหนดไว้ภายในเดือนมีนาคมปีหน้า หลังวัคซีนจากบริษัทยักษ์ได้ผลการรักษา 90%

Minister for Health Greg Hunt Source: AAP

Health Minister Greg Hunt Source: AAP

ชาวออสเตรเลียจะสามารถรับวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป โดยวัคซีนที่พัฒนาสำเร็จนั้น จะได้รับการจัดส่งมายังออสเตรเลียด้วยระบบทำความเย็นที่มีความซับซ้อน

นายเกร็ก ฮันท์ รัฐมนตรีสาธารณสุขของออสเตรเลีย ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวในวันนี้ (11 พ.ย.) ว่า กรอบเวลาโครงการวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาของรัฐบาลสหพันธรัฐนั้นยังมีความคงที่

ไฟเซอร์ (Pfizer) บริษัทเวชภัณฑ์ขนาดใหญ่ รายงานว่า วัคซีนต้านไวรัสโคโรนาที่กำลังอยู่ในการทดลองทางคลินิกขั้นสุดท้ายนั้น มีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสที่ร้อยละ 90 แต่ยังคงต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่า วัคซีนดังกล่าวมีความปลอดภัย
A research coordinator administers an injection to Katelyn Evans as part of clinical trial of Pfizer's COVID-19 vaccine at Cincinnati Childrens Hospital.
متطوعة تتلقى جرعة من لقاح فايزر في ولاية اوهايو الأمريكية. Source: Cincinnati Childrens Hospital Medical Center
วัคซีนดังกล่าว ใช้ข้อมูลทางพันธุกรรมของไวรัสในการบอกกับร่างกายให้สร้างภูมิต้านทานเพื่อตอบสนองกับไวรัสโคโรนา ซึ่งนั่นหมายความว่า วัคซีนต้านไวรัสจะต้องถูกเก็บรักษาภายใต้ความเย็น -70 องศาเซลเซียส

ศาสตราจารย์พิเศษจอห์น สเกอร์ริตต์ (John Skerritt) หัวหน้าหน่วยงานควบคุมดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Therapeutic Goods Administration) กล่าวว่า จะมีการใช้ระบบขนส่งและคลังสินค้าแบบควบคุมอุณหภูมิในการขนส่งวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาของไฟเซอร์

“มันเป็นระบบทำความเย็นที่มีความซับซ้อน ซึ่งจะต้องใช้น้ำแข็งแห้ง มันจะอยู่ได้นาน 14 วัน และสามารถเติมน้ำแข็งได้ 2 ครั้ง” ศาสตราจารย์พิเศษสเกอร์ริตต์​กล่าว 

ศาสตราจารย์พิเศษสเกอร์ริตต์ กล่าวอีกว่า การเติมน้ำแข็งแห้ง 2 ครั้งนั้น จะทำให้คลังสินค้าดังกล่าว สามารถเก็บวัคซีนไว้โดยไม่ใช้เครื่องทำความเย็นเป็นเวลา 1 เดือนครึ่ง

“แม้จะเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่แบบออสเตรเลีย คุณสามารถขนส่งมันไปไหนมาไหนได้ด้วยเวลาที่น้อยกว่านั้น” ศาสตราจารย์พิเศษสเกอร์ริตต์ กล่าว

หน่วยงานควบคุมดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ (TGA) ได้ทำการอนุมัติล่วงหน้าให้ บริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค (Pfizer BioNTech) และมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งร่วมกับบริษัท แอสตราเซเนก้า หลังผ่านมาตรการตรวจสอบขั้นสุดท้ายที่มีความเข็มงวด

นายฮันท์ รัฐมนตรีสาธารณสุข กล่าวว่า การตกลงอนุมัติล่วงหน้านั้น จะทำให้วัคซีนมาถึงออสเตรเลียก่อนเป็นอันดับแรก ๆ ด้วยความปลอดภัย 

ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้ทำข้อตกลงในการจองสิทธิ์เข้าถึงวัคซีนจำนวน 10 ล้านโดสจากบริษัทไฟเซอร์ และได้ตกลงที่จะผลิตวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งร่วมกับบริษัทแอสตราเซเนก้า เป็นจำนวน 30 ล้านโดส และนำเข้าเพิ่มเติมอีก 3.8 ล้านโดส

นอกจากนี้ รัฐบาลออสเตรเลียยังได้ทำข้อตกลง กับผู้พัฒนาวัคซีนเพิ่มเติมอีก 2 ราย 

นายฮันท์ กล่าวว่า สถานการณ์ไวรัสโคโรนาในออสเตรเลียได้กลับมาทรงตัวอีกครั้ง หลังไม่พบการติดเชื้อในท้องถิ่นมาเป็นเวลากว่า 4 วันติดต่อกัน

“อย่างไรก็ตาม เรายังคงต้องพึงระลึกเสมอว่ามันยังไม่จบสิ้น จนกว่าประชาชนจะได้รับวัคซีนทั้งประเทศ” นายฮันท์ กล่าว 

ออสเตรเลีย เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาได้เป็นอย่างดี

ขณะที่การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาระลอกล่าสุด ได้แพร่กระจายไปยังสหรัฐ ฯ​ และทวีปยุโรป โดยคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 1.2 ล้านราย และมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 ล้านราย 

ส่วนสถานการณ์ในออสเตรเลีย วันนี้รัฐวิกตอเรียไม่พบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาติดต่อกันมาเป็นวันที่ 12 ขณะที่รัฐนิวเซาท์เวลส์ได้เข้าสู่วันที่ 4 ที่เจ้าหน้าที่ไม่พบการแพร่ระบาดภายในชุมชน


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

น้องชายเล่าถึงหนุ่มไทยที่ดับขณะตกปลาริมทะเลซิดนีย์


Share
Published 11 November 2020 1:18pm
Updated 11 November 2020 6:02pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand