ออสฯ สั่งแล้ว ยาเม็ดรักษาโควิด ‘โมลนูพิราเวียร์’

ออสเตรเลียสั่งแล้ว 3 แสนโดส ยาเม็ดแคปซูลต้านเชื้อโควิด ‘โมลนูพิราเวียร์’ งานวิจัยพบลดโอกาสเสียชีวิต-รักษาพยาบาลถึง 50%

An experimental drug for severe COVID-19 cuts the risk of hospitalisation or death by about half, interim clinical trial results suggest.

Source: AAP

ประเด็นสำคัญ

  • รัฐบาลออสเตรเลียสั่งซื้อยา ‘โมลนูพิราเวียร์’ ยาต้านไวรัสโควิด-19 ชนิดบรรจุแคปซูลสำหรับรับประทานจำนวน 3 แสนโดส คาดประชาชนเข้าถึงได้ต้นปี 2022
  • นอกจากวัคซีนโควิดแล้ว ออสเตรเลียยังมีโซโทรวีแมบ (Sotrovimab) และเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) การรักษาแบบแอนตีบอดีสำหรับผู้ป่วยโควิด แต่มีความยุ่งยากเพราะต้องฉีดผ่านสารละลายทางเส้นเลือดดำ โมลนูพิราเวียร์ มีจุดเด่นที่รับประทานได้ และไม่ต้องแช่เย็น
  • นักวิทย์ฯ เตือนเชื้อจะยังคงอยู่แม้ทั้งโลกฉีดวัคซีนแล้ว เพราะยังไม่มีวัคซีนใดป้องกันเชื้อระบาดได้ 100% ชี้ควรหาวิธีการรักษาที่แตกต่าง เพื่อรับมือกับเชื้อโควิดหลากหลายสายพันธุ์

(6 ต.ค.) ออสเตรเลียได้สั่งซื้อยา โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) จำนวน 300,000 โดส ซึ่งยาดังกล่าวคือยาต้านไวรัสชนิดบรรจุแคปซูลที่สามารถลดอัตราการเสียชีวิต และการเข้ารักษาในโรงพยาบาลของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ถึงร้อยละ 50

ตัวยาดังกล่าวได้รับการพัฒนาและผลิตโดย บริษัท เมอร์ค ชาร์ป แอนด์ โดห์ม (Merck Sharp & Dohme) ซึ่งเป็นบริษัทยาสัญชาติอเมริกัน ที่กำลังอยู่ในช่วงท้ายของการทดลองทางคลินิก
วัคซีนโควิด และการรักษาใหม่ในลักษณะนี้ จะช่วยเสริมกำลังของแผนเปิดเมืองระดับชาติ ในการเปิดออสเตรเลียได้อีกครั้ง และยังคงเปิดอยู่เช่นนั้นได้อย่างปลอดภัย นายสกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย กล่าว
“ขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนของเราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรายังคงลงทุนและจับตาอย่างการวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด และเรากำลังรักษาสิทธิ์การเข้าถึงวิธีการรักษาใหม่ที่มีความหวังนี้”

โมลนูพีราเวียร์ (Molnupiravir) ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นการรักษาลำดับแรก สำหรับผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวัยผู้ใหญ่ที่มีอาการเล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง

ก่อนหน้านี้ บริษัทผู้ผลิตยาดังกล่าวได้ประกาศผลการทดลองที่แสดงให้เห็นว่า การรักษาด้วยตัวยานี้ลดอัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาล และอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ได้ประมาณร้อยละ 50

โดยคาดว่า ประชาชนในออสเตรเลียจะสามารถเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์ได้ ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2022 เป็นต้นไป เมื่อตัวยานี้ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมาธิการควบคุมดูแลผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพของออสเตรเลีย (ทีจีเอ)

‘วิธีที่ง่ายดายในการช่วยเหลือผู้คน’

ในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ได้ใช้ตัวยาอย่างโซโทรวีแมบ (Sotrovimab) และเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ซึ่งทั้งสองชนิดเป็นยาฉีด ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 อยู่แล้ว แต่ความแตกต่างของโมลนูพิราเวียร์นั้น คือตัวยานี้เป็นลักษณะยาเม็ดบรรจุแคปซูลที่ให้ผู้ป่วยโควิด-19 วัยผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 เวลาเป็นเวลา 5 วัน

นอกจากนี้ โมลนูพิราเวียร์ สามารถเก็บได้โดยไม่ต้องแช่เย็น ทำให้ประชาชนธรรมดาและผู้ที่อยู่ในสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยงสูง สามารถใช้ยาดังกล่าวได้
ด้วยตัวยาที่เป็นชนิดเม็ด แน่นอนว่านั่นหมายถึงวิธีที่ง่ายดายในการช่วยเหลือผู้คน ยานี้จะสามารถเข้าถึงได้บนพื้นฐานความต้องการทั่วออสเตรเลีย นายเกร็ก ฮันท์ รัฐมนตรีสาธารณสุขออสเตรเลีย กล่าวต่อผู้สื่อข่าวเมื่อวันจันทร์ (4 ต.ค.)
ขณะเดียวกัน ออสเตรเลียก็ได้รับยาโซโทรวิแมบ (sotrovimab) เพิ่มอีกจำนวน 15,000 โดส ซึ่งตัวยาดังกล่าวเป็นการรักษาโควิด-19 ชนิดแอนติบอดีที่ฉีดผ่านสารละลายทางหลอดเลือดดำเป็นเวลา 5 วัน สำหรับผู้ป่วยโควิดที่มีอาการ เพื่อยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสขยายพันธุ์ภายในร่างกาย โดยคาดว่าจะมีสต็อกยาโซโทรวิแมบในออสเตรเลียมากกว่า 30,000 โดสภายในปีนี้
Minister for Health Greg Hunt
Federal Health Minister Greg Hunt. Source: AAP
ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ได้แสดงให้เห็นว่า สามารถลดการเข้ารักษาพยาบาล และการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยไปจนถึงปานกลาง รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการรุนแรง

“มันจะช่วยกระตุ้นร่างกายและระบบภูมิคุ้มกัน ในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยในหลายกรณี มันจะหมายถึงความแตกต่างระหว่างการเข้าหรือไม่ต้องเข้ารักษาพยาบาล เข้าหรือไม่ต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู และในบางกรณีมันจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้” นายฮันท์ รัฐมนตรีสาธารณสุขออสเตรเลีย กล่าว

ต้องมีทางเลือกในการรักษา เพื่อรับมือกับไวรัสต่างสายพันธุ์

ขณะที่วัคซีนนั้นยังคงเป็นหนทางหลักในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19 แต่ ศาสตราจารย์เอดเรียน เอสเตอร์แมน (Adrian Esterman) นักระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการค้นหาวิธีการรักษาใหม่ ๆ

“นับตั้งแต่การแพร่ระบาดใหญ่เริ่มต้น ยังไม่มีการเน้นการศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางการรักษาใหม่ๆ มากนัก” ศาสตราจารย์เอดเรียน กล่าว

“และถึงแม้ประชากร 100% จะได้รับการฉีดวัคซีนจนครบโดสแล้ว มันก็จะยังคงมีไวรัสแพร่กระจายอยู่ เนื่องจากไม่มีวัคซีนชนิดใดที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่ระบาดได้ 100% 

แต่ในขณะเดียวกัน การทำให้แน่ใจว่าผู้คนทั่วโลกได้รับการฉีดวัคซีนจนครบโดส จะสามารถลดความรุนแรงของโรคระบาด และความต้องการในการรักษาลงไปได้เป็นอย่างมาก

“มันยังเร็วไปสำหรับหนทางการรักษา และเรายังคงรอให้การทดลองจำนวนมากให้แล้วเสร็จ เพื่อดูว่ามีการรักษาในรูปแบบอื่นที่มีประโยชน์ในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19ศาสตราจารย์เอสเตอร์แมน กล่าว

“ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า เราจะพบกับการพัฒนาของเทคโนโลยีวัคซีนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในการรับมือกับเชื้อต่างสายพันธุ์เหล่านี้ และนี่อาจเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานระหว่างวัคซีนสำหรับเชื้อต่างสายพันธุ์”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

ออสเตรเลียเตรียมห้องเรียนอย่างไรให้ปลอดภัยจากโควิด


Share
Published 6 October 2021 4:47pm
Updated 6 October 2021 4:58pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand