พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีให้ลูกปลอดภัยออนไลน์

NEWS: มีเด็กจำนวนมากขึ้นที่ถูกข่มเหงรังแกออนไลน์ แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่กลับไม่รู้ว่าจะทำให้ลูกๆ ปลอดภัยในโลกออนไลน์ได้อย่างไร สถิติล่าสุดเผย

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น)

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full article in English

มีพ่อแม่ไม่ถึงครึ่งที่รู้สึกมั่นใจที่จะดูแลด้านความปลอดภัยของลูกๆ ในโลกออนไลน์ได้ ขณะที่มีเด็ก 1 ใน 3 เคยมีประสบการณ์ที่เลวร้ายออนไลน์

ข้อมูลดังกล่าวมาจากการสำรวจพ่อแม่ในออสเตรเลีย 3,500 คน ที่มีลูกอายุระหว่าง 2-17 ปี โดยพบว่าเด็ก 1 ใน 3 เคยถูกข่มเหงรังแกออนไลน์จากเพื่อนร่วมชั้นเรียน ร้อยละ 22 จากเพื่อน และร้อยละ 28 จากคนแปลกหน้า

รายงาน แพเรนทิง อิน เดอะ ดิจิทัล เอจ (Parenting in the Digital Age) พบว่า มีพ่อแม่ชาวออสเตรเลียร้อยละ 46 เท่านั้น ที่รู้สึกมั่นใจในการจัดการกับความเสี่ยงออนไลน์ที่ลูกๆ อาจพบได้

คุณจูลี อินแมน แกรนต์ กรรมาธิการด้านอี-เซฟตี หรือความปลอดภัยออนไลน์ บอกกับ เอสบีเอส นิวส์ว่า พ่อแม่ชาวออสเตรเลียร้อยละ 81 ยื่นอุปกรณ์ดิจิทัลให้ลูกๆ ก่อนที่ลูกจะอายุ 4 ขวบด้วยซ้ำ

และเธอกล่าวว่า จากการที่กำลังมีเด็กๆ มากขึ้นมีประสบการณ์แง่ลบออนไลน์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่จะต้องรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น

“แม้ว่าพ่อแม่จะไม่ค่อยมีเวลา และการจัดการกับเรื่องความปลอดภัยออนไลน์เป็นเรื่องท้าทาย แต่นาทีที่เรายื่นอุปกรณ์ดิจิตัลให้เด็กๆ ก็เป็นนานทีที่เราควรเริ่มทำให้แน่ใจว่าเรามีส่วนร่วมในชีวิตออนไลน์ของลูกๆ เช่นเดียวกับที่เรามีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของพวกเขา” คุณ อินแมน แกรนต์ กล่าว
Getty
Source: Getty
สร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจเพื่อรับมือโลกออนไลน์

“เทคโลโยลีจะยังคงมีอยู่ต่อไป แต่โชคร้ายที่เด็กๆ มากขึ้นเคยมีประสบการณ์แง่ลบออนไลน์ และมีพ่อแม่เพียงร้อยละ 28 ที่ระบุว่าพวกเขารู้ว่าลูกเคยมีประสบการณ์ที่ไม่ดี”

การวิจัยดังกล่าวพบว่า พ่อแม่ร้อยละ 95 ต้องการได้ข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกออนไลน์

แต่มีพ่อแม่เพียง 1 ใน 3 ที่พยายามหาข้อมูลอย่างกระตือรือร้นว่าจัดการปัญหาออนไลน์อย่างดีที่สุดได้อย่างไร เช่นสถานการณ์การข่มเหงรังแกออนไลน์ การติดต่อจากผู้ที่เราไม่ต้องการติดต่อด้วย หรือเรื่องของ ‘เซ็กซ์ติง’ (sexting) หรือการส่งและเผยแพร่ภาพอนาจาร และการส่งภาพโป๊เปลือย ข้อมูลล่าสุดชี้
สำนักงานของกรรมาธิการด้านอี-เซฟตี หรือความปลอดภัยออนไลน์ ได้เสนอข้อมูลให้ความรู้บนเว็บไซต์ของสำนักงานสำหรับช่วยเหลือผู้ใหญ่ให้เข้าใจประเด็นปัญหาเหล่านี้

คุณจูลี อินแมน แกรนต์ กรรมาธิการด้านอี-เซฟตี กล่าวเสริมว่าเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องช่วยกันสร้างสรรค์ให้เด็กๆ มีความยืดหยุ่นทางจิตใจ (การฟื้นตัวจากปัญหาได้ดี ไม่มีอารมณ์หรือความคิดเชิงลบ) สำหรับรับมือกับโลกดิจิทัล

“เริ่มพูดคุยกันแต่เนิ่นๆ พูดคุยกันบ่อยๆ และทำให้แน่ใจว่าการพูดคุยนั้นสอดคล้องกัน” เธอกล่าวกับ เอสบีเอส นิวส์

“เราพูดคุยกับลูกๆ ซักถามว่าพวกเขาเป็นอย่างไรที่โรงเรียน พวกเขาทำได้ดีเพียงไรในกิจกรรมกีฬาที่เข้าร่วม พวกเขาใช้เวลากับเพื่อนๆ คนไหนบ้าง หนึ่งในคำถามที่เราต้องถามเป็นประจำคือ ‘ลูกกำลังอะไรออนไลน์’ ‘กำลังใช้แอพอะไร เล่นเกมส์อะไร’ ‘ลูกพบเห็นสถานการณ์ความขัดแย้งอะไรเกิดขึ้นออนไลน์หรือไม่’ ‘ลูกรู้สึกสบายใจหรือเปล่า’ เหล่านี้เป็นการสนทนาที่สำคัญมาก”
Children using internet
Children using internet Source: Pixabay/sharpemtbr CC0
ไม่มีวิธีใดที่ใช้ได้กับทุกคน

รายงานดังกล่าวยังอธิบายด้วยว่า พ่อแม่มักใช้วิธีการเลี้ยงดูลูกที่แตกต่างกัน เพื่อบริหารจัดการด้านความปลอดภัยออนไลน์ของลูกๆ ที่บ้าน

พ่อแม่ที่มีลูกเล็กๆ มักมีใช้การควบคุมการเข้าถึงสื่อออนไลน์ของลูกๆ และตั้งกฎเกณฑ์ในการใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เนต ขณะที่พ่อแม่ที่มีลูกๆ ที่โตกว่า มักจะไม่เข้มงวดเท่า

“ไม่มีวิธีการใดที่ใช้ได้กับทุกคน สำหรับการดูแลลูกในยุคดิติทัล” คุณอินแมน แกรนต์ กล่าว

“เราเห็นพ่อแม่จำนวนมากเห็นไปหาเครื่องมือออนไลน์สำหรับควบคุมการใช้อินเตอร์เนตของลูก หรือแม้แต่ใช้อุปกรณ์ติดตาม เพื่อสอดส่องดูแล นี่จึงเป็นคำถามสำหรับพ่อแม่ส่วนใหญ่ว่า จะเฝ้าติดตาม หรือไม่เฝ้าติดตาม?”

“เรารู้ว่าเด็กๆ มีพฤติกรรมตามธรรมชาติที่ชอบทำอะไรเสี่ยงๆ และพวกเขายังจะพยายามหลีกเลี่ยงการทำตามกฎที่คุณตั้งขึ้นสำหรับพวกเขาด้วย การใช้อุปกรณ์เฝ้าติดตามต่างๆ โดยไม่ได้พูดคุยกับพวกเขาก่อนอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความไว้เนื้อเชื่อใจได้” คุณอินแมน แกรนต์ เผย
เธอแนะนำให้พ่อแม่พูดคุยกับลูกๆ และอธิบายกับพวกเขาว่าจะใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัยได้อย่างไร

“มันเป็นสิทธิพิเศษ แต่ไม่ใช่สิทธิ และเราจำเป็นต้องตั้งข้อจำกัดล่วงหน้า”

รายงานดังกล่าวยังระบุว่า เรื่องสถานะเพศของลูกไม่มีผลต่อการที่พ่อแม่ตระหนักเรื่องประสบการณ์แง่ลบออนไลน์ของลูกๆ 

รายงานยังพบด้วยว่า ประเด็นส่วนใหญ่ที่พ่อแม่กังวลคือ การพบเห็นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ที่นอกเหนือจากสื่อลามกอนาจร (ร้อยละ 38) การติดต่อกับคนแปลกหน้า (ร้อยละ 37) และการถูกข่มเหงรังแกออนไลน์ (ร้อยละ 34)



Share
Published 28 May 2019 11:32am
By Dubravka Voloder
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand