ออสเตรเลียปล่อยควอล์ลกลับสู่ป่า หลังเป็นสัตว์สูญพันธุ์เกือบ 60 ปี

ออสเตรเลียปล่อยฝูงควอล์ลสคืนสู่ป่าในรัฐนิวเซาท์เวลส์ หลังประกาศเป็นสัตว์สูญพันธุ์เกือบ 60 ปี โดยควอล์ลส์ทั้ง 10 ตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการริเริ่มการเพาะพันธุ์และการคืนสัตว์สู่ป่าระยะเวลา 5 ปี

ปล่อยควอล์ล 10 ตัวกลับสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในรัฐนิวเซาท์เวลส์

ปล่อยควอล์ล 10 ตัวกลับสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในรัฐนิวเซาท์เวลส์ Source: Supplied / David Stowe/Aussie Ark

ประเด็นสำคัญ
  • ควอล์ลมีถิ่นกำเนิดในออสเตรเลียและประกาศให้เป็นสัตว์สูญพันธุ์เมื่อปี 1963
  • ปล่อยควอล์ล 10 ตัวคืนสู่วนอุทยานรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในรัฐนิวเซาท์เวลส์
  • จากโครงการเพาะพันธุ์และนำสัตว์คืนสู่ป่าเป็นเวลา 5 ปี
ศูนย์อนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งออสเตรเลียได้ปล่อยควอล์ลส์ (Quolls) 10 ตัวคืนสู่วนอุทยานอนุรักษ์ธรรมชาติที่รัฐนิวเซาท์เวลส์ หวังให้สัตว์สูญพันธุ์มีโอกาสรอดชีวิตอีกครั้ง

สัตว์ฝูงนี้ถูกปล่อยในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบาร์ริงทัน (Barrington Wildlife Sanctuary) เขตอัพเพอร์ ฮันเทอร์ (Upper Hunter) เพื่อเพิ่มจำนวนประชากรที่ใกล้จะสูญพันธุ์

ซึ่งออสเตรเลียประกาศให้ควอล์ลสายพันธุ์นี้สูญพันธ์เมื่อปีค.ศ. 1963

ผู้อำนวยการจัดการ ทิม ฟอว์กเนอร์ (Tim Faulkner) จากองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่าออสซี อาร์ก (Aussie Ark) กล่าวว่านี่เป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญระดับโลก

“ก้าวเล็กๆ ของควอล์ล แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของควอล์ลทั้งหมด เป้าหมายของเราคือการมีประชากรที่เป็นตัวแทนของสัตว์ป่าทั้งหมด การปล่อยควอล์ลคืนสู่ป่าเป็นการบรรลุเป้าหมายนั้น ออสเตรเลียมีอัตราการสูญพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เลวร้ายที่สุดในโลก เราสูญเสียสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพื้นเมืองขนาดเล็กพอๆ กับจำนวนการสูญเสียประเภทเดียวกันของทั้งโลกรวมกัน ดังนั้นการปล่อยสัตว์คืนสู่ป่าเช่นนี้ คิดถึงความสำคัญของมัน นี่เป็นสายพันธุ์ที่กลับมาจากการต้องสูญพันธุ์อีกครั้ง มันเป็นเรื่องที่ดีมาก”
ฟังพอดคาสต์ที่เกี่ยวข้อง
federal-government-promises-50-million-save-koala-population-extinction image

รัฐบาลออสฯ ทุ่มงบ 50 ล้านเหรียญช่วยหมีโคอาล่าไม่ให้สูญพันธุ์

SBS Thai

31/01/202208:44
เขตวนอุทยานอนุรักษ์สัตว์ป่าบาร์ริงทันนับเป็นผืนป่าที่กว้างใหญ่ที่สุดและเป็นพื้นที่ของโครงการควอล์ลแห่งแทสเมเนีย

สัตว์อื่นๆ ที่ปล่อยคืนสู่ป่าในวนอุทยานได้แก่ แทสเมเนียน เดวิล (Tasmanian Devil) โพโทโรจมูกยาว (Long-nosed Potoroos) รูฟัส เบ็ตตง (Rufous Bettongs) และวอลลาบีหางฟู (Brush-Tailed Rock Wallabies)
ผมชอบชื่อเล่นของควอล์ลส์มาก เราเรียกมันว่านักฆ่าหน้าเด็ก (Baby faced assasins) เพราะมันน่ารักแบบตายไปเลย ควอล์ลตะวันออกเป็นนักล่าที่กินเนื้อ มักกินแมลงเป็นอาหาร เต่าทองและด้วง หรือนก หนู กบ ถ้าหาได้ ออสเตรเลียมีควอล์ล 4 สายพันธุ์ และพวกมันใกล้สูญพันธุ์ มันเป็นสัตว์พื้นเมืองออสเตรเลียที่มีเอกลักษณ์
คุณทิมจากออสซี่ อาร์ก อุ้มควอลล์ก่อนปล่อยเข้าสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
คุณทิมจากออสซี่ อาร์ก อุ้มควอลล์ก่อนปล่อยเข้าสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า Credit: Aussie Ark
สัตว์กินเนื้อขนาดตัวเท่าแมวนี้มักออกมาตอนกลางคืนและเป็นสัตว์สันโดษ

ครั้งหนึ่งเคยมีจำนวนมากในป่า แต่ถูกล่าโดยแมวป่าและสุนัขจิ้งจอก

นักอนุรักษ์เฮย์ลีย์ ชูท (Hayley Shute) กล่าวว่าพันธุกรรมเป็นกุญแจสำคัญในการผสมพันธุ์และการเพิ่มจำนวนประชากรของสัตว์ที่เลื่องชื่อเรื่องขนลายจุดและดวงตาสดใสสีดำพันธุ์นี้

“ควอล์ลทั้ง 10 ตัวนี้สำคัญและจำเป็นต่อจำนวนสัตว์ป่าในออสเตรเลีย พวกมันมีพันธุกรรมที่แตกต่างไป มีสัตว์ออสเตรเลียอีกหลายสายพันธุ์ที่ต้องการความช่วยเหลือของเรา หมาป่าและแมวป่าได้ฆ่าทำลายล้างควอล์ลสายพันธุ์ตะวันออกและสายพันธุ์อื่นๆ อีกมาก”
กลุ่มอนุรักษ์สัตว์ป่าออสซี อาร์กหวังว่าจะสามารถสร้างกลุ่มของควอล์ลในเขตสงวนบาร์ริงทัน เพื่อเป็นต้นแบบว่าสัตว์ป่าอาศัยอยู่ในป่าอย่างไร หากปราศจากการคุกคามจากสัตว์นักล่าที่ดุร้าย

การสร้างรั้วพิเศษสามารถป้องกันแมวป่า สุนัขจิ้งจอก และหมูได้

อย่างไรก็ตาม ควอล์ลส์สายพันธุ์ตะวันออกกลุ่มนี้ได้รับการตรวจสุขภาพโดยกลุ่มอนุรักษ์ฯ ก่อนปล่อยคืนสู่ป่า โดยได้ทำการชั่งน้ำหนัก วัดระดับสุขภาพร่างกาย และให้ยาเพื่อป้องกันพยาธิและโรคร้าย


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 3 January 2023 5:05am
By Marcus Megalokomos
Presented by Chollada Kromyindee
Source: AAP


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand