สำรวจพบชาวออสเตรเลีย "การ์ดตก" ป้องกันตัวเองจากโควิดน้อยลง

ผลสำรวจพบชาวออสเตรเลียจำนวนมากป้องกันตัวเองจากไวรัสโคโรนาน้อยลงในรอบ 2 – 3 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่รัฐวิกตอเรีย แม้จะมีมาตรการเข้มงวด แต่หละหลวมไม่ต่างกัน

Crowds are seen during a spell of warm weather at Bondi Beach last weekend.

Crowds are seen during a spell of warm weather at Bondi Beach last weekend. Source: AAP

มีการศึกษาที่พบว่า ชาวออสเตรเลียจำนวนมากเริ่มหย่อนยานในการรักษากฎการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา แม้แต่ประชาชนในรัฐวิกตอเรียเอง ซึ่งขณะนี้อยู่ในมาตรการจำกัดที่เข้มงวด ยังพบว่ามีความบกพร่องอย่างเห็นได้ชัด 

การวิจัยจากผลสำรวจ โดยมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) ที่ได้มีการเผยแพร่ในวันนี้ (3 ก.ย.) ได้รับการจัดให้เป็นการศึกษาวิจัยแรก ที่เปรียบเทียบประสบการณ์ และทัศนะคติของประชาชนในรัฐวิกตอเรีย ที่กำลังต่อสู้กับสถานการณ์ไวรัสโคโรนา และประชาชนทั่วออสเตรเลีย

หลังจากได้ทำการสำรวจชาวออสเตรเลียมากกว่า 3,000 คน การศึกษาดังกล่าวพบว่า การคาดหวังว่าจะพบกับความเครียด ความโดดเดี่ยว และการสูญเสียตำแหน่งงาน ของผู้ที่อาศัยอยู่ในรัฐวิกตอเรียนั้นอยู่ในระดับสูง
Victoria's Stage 4 restrictions have been extended by at least two weeks.
Victoria's Stage 4 restrictions have been extended by at least two weeks. Source: AFP/Getty Images
ส่วนเรื่องของการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลน พบว่า ทั่วรัฐวิกตอเรียนั้นลดลงอย่างมาก แม้ว่าพื้นที่ส่วนภูมิภาคของรัฐวิกตอเรียจะอยู่ในมาตรการจำกัดระดับ 3 และพื้นที่มหานครเมลเบิร์นจะอยู่ในมาตรการจำกัดระดับ 4 อยู่ในขณะนี้ก็ตาม 

เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ชาวออสเตรเลียที่ตอบแบบสำรวจจากทั่วประเทศ ร้อยละ 94.3 บอกว่า พวกเขามักจะหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ซึ่งมีผู้คนพลุกพล่านในช่วง 7 วันที่ผ่านมา แต่ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ตัวเลขดังกล่าวลดลงไปเหลือเพียงร้อยละ 72.2

สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามจากทั่วประเทศ ที่มักจะหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่สาธารณะนั้น ลดลงจากร้อยละ 86.5 เมื่อเดือนเมษายน เหลือเพียงร้อยละ 55.8 ในเดือนสิงหาคม 

ขณะที่กฎการเว้นระยะห่าง 1.5 เมตรระหว่างบุคคล ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติของผู้คนส่วนมาก แต่กลับพบว่าลดลงจากร้อยละ 96 ในเดือนเมษายน เหลือร้อยละ 86.9 ในเดือนสิงหาคม จากกลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจเดียวกัน 

รายงานผลการศึกษาดังกล่าวระบุว่า ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ ที่พฤติกรรมระหว่างประชาชนในรัฐวิกตอเรีย และชาวออสเตรเลียทั้งประเทศจะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมาตรการจำกัดการแพร่ระบาดที่มีความแตกต่างกันในหลายรัฐและมณฑล

โดยชาวรัฐวิกตอเรียนั้นเป็นกลุ่มที่ความระมัดระวังมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความชะล่าใจกับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม 

“การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่มีความสม่ำเสมอในหมู่ของประชากร” ศาสตราจารย์แมทธิว เกรย์ (Mathew Grey) ผู้ร่วมจัดทำการศึกษาวิจัยฉบับดังกล่าวระบุในรายงาน 

“การหละหลวมในการยึดแนวทางปฏิบัติ (เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ) เกิดขึ้นนอกรัฐวิกตอเรียมากที่สุด แต่แม้ในรัฐวิกตอเรียเอง ผู้ปฏิบัติตามแนวทางนั้นลดน้อยลง ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา” 

ในตอนแรก การศึกษาวิจัยนี้ไม่ได้เก็บข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม ถึงการใช้หน้ากากอนามัย ก่อนที่จะมีการประกาศใช้เป็นข้อบังคับทั่วพื้นที่นครเมลเบิร์น และพื้นที่ส่วนภูมิภาคของรัฐวิกตอเรีย แต่เมื่อผู้จัดทำงานวิจัยได้เริ่มเก็บข้อมูล พบว่า กลุ่มเยาวชนมีความเป็นไปได้ที่จะสวมใส่หน้ากากอนามัย คิดเป็นร้อยละ 39.3 เมื่ออยู่นอกสถานที่ และคิดเป็นร้อยละ 37.3 เมื่ออยู่ในอาคารสถานที่  

ผู้จัดทำการศึกษาวิจัยระบุว่า ข้อมูลในสวนนี้ สวนทางกับการอภิปรายในสื่อมวลชน และนักการเมือง ที่ระบุว่ากลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวนั้น เป็นกลุ่มที่ไม่รักษากฎระเบียบเรื่องการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล

“อัตราการสวมใส่หน้ากากอนามัยของกลุ่มประชากรอายุ 18 – 24 ปี นั้น เป็นอัตราส่วนเดียวกันกับประชากรที่มีอายุ 75 ปีขึ้นไป ซึ่งทั้งสองกลุ่มอายุนี้มีแนวโน้มความเป็นไปได้ที่จะสวมใส่หน้ากากอนามัยมากที่สุด” รายงานดังกล่าวระบุ


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ อ่านเกี่ยวกับแอปพลิเคชันนี้ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 


Share
Published 3 September 2020 5:44pm
Updated 3 September 2020 6:10pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand