ชาวออสฯ คิดบวกมากขึ้นต่ออัตราย้ายถิ่นเข้าประเทศของชาวต่างชาติ

NEWS: โพลความคิดเห็นครั้งใหม่พบว่าความวิตกกังวลเกี่ยวกับอัตราการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศออสเตรเลียดูเหมือนจะ ‘อ่อนตัว’ ลงจากเมื่อปีที่แล้ว

รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full version of this story in English on SBS News .

มีชาวออสเตรเลียจำนวนน้อยลงที่เชื่อว่าจำนวนของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานซึ่งข้ามฝั่งมายังประเทศของเรานั้นสูงมากเกินไป หากเทียบกับทัศนคติในเรื่องการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศของเมื่อปีที่แล้ว

โพลสำรวจความคิดเห็นล่าสุดโดยสถานบันโลวี (Lowy Institute) พบว่าน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง (47 เปอร์เซ็นต์) คิดว่าจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศออสเตรเลียในแต่ละปีนั้นมากเกินไป

ผลลัพธ์ดังกล่าวจากการทำสำรวจโดยสถาบันฯ เพื่อดูทัศคติของชาวออสเตรเลียต่อสถานการณ์ต่างๆ ระดับนานาชาติ ได้รับการเผยแพร่ในวันนี้ (26 มิ.ย.) โดยเป็นตัวเลขที่
Public opinion in Australia about migration, according to a Lowy Institute Poll 2018
การสำรวจได้สอบถามเกี่ยวกับจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศออสเตรเลีย ว่ามากเกินไป น้อยเกินไป หรือกำลังพอดี (Image source: Lowy Institute) Source: Lowy Institute
โดยรายงานกล่าวว่า “ความวิตกกังวลเกี่ยวกับอัตราการอพยพย้ายถิ่นฐานสู่ประเทศออสเตรเลีย  ดูแล้วมีการอ่อนตัวลงพอควรในปี 2019”

อย่างไรก็ตาม (ตัวเลขดังกล่าว) ก็ยังคงสูงกว่าผลการสำรวจเมื่อปี 2014 อยู่ 10 จุด

โพลดังกล่าวได้สอบถามชาวออสเตรเลียวัยผู้ใหญ่จำนวน 2,130 คนเมื่อระหว่างวันที่ 12 ถึง 25 มีนาคม

และยังพบอีกว่า เกือบสองในสามกล่าวว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศนั้นเพิ่มความแข็งแกร่งให้ประเทศออสเตรเลียเนื่องจากพวกเขาทำงานหนักและมีความสามารถพิเศษ ซึ่งตัวเลขนี้ลดต่ำลงเจ็ดจุดจากเมื่อสามปีที่แล้ว
แต่มีจำนวน 40 เปอร์เซ็นต์ที่กล่าวว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศนั้นเอาตำแหน่งงานไปจากชาวออสเตรเลียคนอื่นๆ ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นห้าจุดจากเมื่อปี 2016

และประชากรก็แบ่งออกเป็นสองฝักสองฝ่าย ว่าผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศนั้นเป็นภาระ (48 เปอร์เซ็นต์) หรือไม่ (50 เปอร์เซ็นต์) ต่อระบบสวัสดิการ

ชาวออสเตรเลียอายุน้อยคิดบวกมากกว่า

ชาวออสเตรเลียอายุน้อย มีทัศนคติที่เป็นบวกต่อการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศ โดยมีเพียง 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ของผู้มีอายุระหว่าง 18 ถึง 29 ปีเท่านั้น ที่เชื่อว่าจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานรวมแล้วแต่ละปีนั้นสูงเกินไป เมือเปรียบเทียบกับ 53 เปอร์เซ็นต์ในผู้ที่มีอายุเกิน 30 ปี

เกือบ 60 เปอร์เซ็นต์ของชาวออสเตรเลียที่มีอายุเกิน 45 ปี คิดว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศเป็นภาระต่อระบบสวัสดิการของประเทศ เมื่อเทียบกับ 35 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีอายุ 18 ถึง 45 ปี

สี่ใน 10 เชื่อว่า นโยบายพิทักษ์พรมแดนของออสเตรเลียไม่ทำให้เกิดความแตกต่างแต่อย่างใดต่อชื่อเสียงในระดับนานาชาติของประเทศ ในขณะที่ 28 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่า นโยบายดังกล่าวนั้นเป็นผลเสียต่อประเทศในสายตาของนานาชาติ

แต่มีชาวออสเตรเลียจำนวนเพิ่มมากขึ้น - 30 เปอร์เซ็นต์ - ที่กล่าวว่า นโยบายพิทักษ์พรมแดนนั้นช่วยเพิ่มชื่อเสียงในระดับนานาชาติ

โพลอื่นๆ เมื่อเร็วๆ นี้

โพลของสถาบันโลวีมีขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่

การทำสำรวจทั่วโลกโดยอิปซอส (IPSOS) ซึ่งเผยแพร่ในวันผู้ลี้ภัยโลกพบว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของชาวออสเตรเลียเชื่อว่าควรจะมีการปิดพรมแดน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นห้าจุดตั้งแต่เมื่อปี 2017

อย่างไรก็ตาม 44 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบการสอบถามไม่เห็นด้วยกับข้อความดังกล่าว
Iraq. Syrian families displaced by war show remarkable resilience in Domiz camp
رونیا متوالی و پنج فرزندش در خانه شان در یک کمپ آوارگان در عراق Source: UNHCR
และเมื่อเดือนที่แล้ว  พบว่า 51 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบคิดว่าการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศนั้น “โดยทั่วๆ ไปแล้วเป็นบวก” กับประเทศ ส่วน 35 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่า “โดยทั่วๆ ไปแล้วเป็นลบ” และ 14 เปอร์เซ็นต์นั้นไม่แน่ใจ

เหตุผลที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ตอบที่สนับสนุนการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศก็คือ “มันทำให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ”

Share
Published 26 June 2019 11:28am
By AAP-SBS
Presented by Tanu Attajarusit
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand