อาหารทะเลนำเข้าในออสเตรเลียอาจผลิตโดยแรงงานทาส

NEWS: ผู้บริโภคในออสเตรเลียเริ่มตั้งคำถามกับอาหารทะเลนำเข้าในร้านค้าปลีกมากขึ้น หลังพบว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการแรงงานทาสในอุตสาหกรรมประมง

แรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต

ภาพแรงงานต่างด้าวขณะกำลังเทปลาบนท่าเรือใน จ.ภูเก็ต นายหน้าผู้จัดหาแรงงานประมงส่วนใหญ่ตั้งเป้าไปที่ผู้อพยพย้ายถิ่นผิดกฎหมาย เพราะรู้ว่าพวกเขาแจ้งตำรวจไม่ได้ Source: Getty Images

ร้านค้าปลีกในออสเตรเลียได้รับการกระตุ้นให้มีวิธีปฏิบัติมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่พวกเขานำเข้ามาไม่ได้ถูกผลิตโดยแรงงานทาส

ในวันนี้ (26 ก.ค.) มีการตีพิมพ์รายงานการสังเกตการณ์แรงงานทาสในห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเล ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ Science Advances ที่มุ่งเป้าเพื่อสนับสนุนความตระหนักรู้ที่ดีขึ้นในหมู่ผู้บริโภคอาหารทะเล จัดจำหน่าย และประกอบการพาณิชย์

ศาสตราจารย์เทรเวอร์ วอร์ด (Trevor Ward) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ ผู้จัดทำบทความดังกล่าว ได้ทำงานร่วมกับบริษัทต่างๆ เพื่อตั้งคำถามถึงที่มาของอาหารทะเลของพวกเขา

"เป้าหมายของเราคือ ความรับผิดชอบจากภาคธุรกิจและภาคเอกชน ในการรายงานข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานทาส" ศาสตราจารย์เทรเวอร์กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์
Migrant workers on a fishing boat Phuket, Thailand. Thailand's fishing industry is rife with slave labour.
Migrant workers on a fishing boat Phuket, Thailand. Thailand's fishing industry is rife with slave labour. Source: Getty Images
ขณะที่กฎหมายและนโยบายของออสเตรเลียที่เข้มงวดขึ้น ทำให้เรามั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในออสเตรเลียนั้น ส่วนมากไม่ได้มาจากน้ำมือของแรงงานทาส ซึ่งมีรายงานว่า อุตสาหกรรมประมงของไทย อินโดนีเซีย และจีน เต็มไปด้วยแรงงานที่ถูกบังคับใช้แรงงาน โดยบ่อยครั้งได้แรงงานมาจากคนไร้รัฐ หรือแรงงานผิดกฎหมาย ซึ่งไม่สามารถร้องเรียนการถูกบังคับใช้แรงงานเยี่ยงทาสในสภาพที่โหดร้ายกับหน่วยงานทางการได้

แรงงานทาส การข่มขู่ และความรุนแรง

นางฟิโอนา เดวิด (Fiona David) ผู้อำนวยการบริหารการวิจัย มูลนิธิวอล์กฟรี (Walk Free Foundation) ระบุว่า ชาวประมงในประเทศเหล่านั้นมักจะถูกบังคับใช้แรงงานบนเรือเป็นเวลาหลายปี โดยไม่ได้รับค่าจ้าง และอยู่ภายใต้การข่มขู่และความรุนแรง

"เราเคยได้พบตัวอย่างเหตุการณ์ที่สุดโต่ง และไม่ได้เป็นการพูดเกินเลยว่า มีชาวประมงเป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์ฆาตกรรม การกักขัง และการทุบตี" นางฟิโอนากล่าว

“เมื่อความเหี้ยมโหดต่อมนุษย์ และชีวิตของผู้คนเป็นเรื่องวิกฤต มันเป็นเรื่องเร่งด่วนที่เราต้องทำทุกวิถีทาง เพื่อสร้างเครื่องมือที่ได้ผล ซึ่งบริษัทต่างๆ สามารถนำไปใช้เพื่อทำให้แน่ใจว่า วิกฤตการณ์เหล่านั้นไม่ตกไปอยู่ในแหล่งวัตถุดิบของพวกเขา" นางฟิโอนากล่าว

"ไม่เพียงแต่ปัญหาแรงงานทาสยุคใหม่เท่านั้น เรากำลังนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่อาจผลิตโดยแรงงานทาสเข้ามาในซูเปอร์มาร์เก็ตอีกด้วย" นางฟิโอนากล่าว

จากการร่วมมือกับผู้จัดทำรายงานการสังเกตการณ์แรงงานทาสในแหล่งวัตถุดิบอาหารทะเล พบว่า บริษัทอาหาร 18 บริษัททั่วโลก ได้ตรวจสอบแหล่งวัตถุดิบของตนว่ามีแรงงานทาสอยู่ในกระบวนการประมง การผลิต และการขนส่งหรือไม่

เครื่องมือในการต่อสู้กับปัญหาแรงงานทาส

ศาสตราจารย์เทรเวอร์กล่าวว่า ได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่เปิดโอกาสให้ให้ภาคธุรกิจร่วมกับองค์กรสิทธิมนุษยชน เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการระบุหลักฐานการใช้แรงงานทาสในสายการผลิตต่างๆ

"พวกเขา (ธุรกิจ) สามารถตั้งคำถามไปยังแหล่งวัตถุดิบของตน หากพบว่ามีความเสี่ยงที่พวกเขาจะใช้แรงงานทาส และถ้าบริษัทต่างๆ มองย้อนกลับขึ้นไปและตั้งคำถามเดียวกันนี้ ก็จะเป็นการวิเคราะห์ที่ส่งต่อไปจนถึงผู้บริโภคในที่สุด" ศาสตราจารย์เทรเวอร์กล่าว
A migrant worker seen through a window of a fishing boat that is docked in Phuket.
A migrant worker seen through a window of a fishing boat that is docked in Phuket. Source: Getty Images
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เทรเวอร์และผู้ช่วยจัดทำรายงานดังกล่าวหวังว่า บริษัทอาหารทะเลที่มีการใช้งานเครื่องมือนี้จะทำอะไรให้มากขึ้น ให้มั่นใจว่าพวกเขาซื้อวัตถุดิบจากแหล่งที่มีการจ้างแรงงานอย่างเหมาะสม

ด้านมูลนิธิวอล์กฟรี ได้ตั้งเป้าเพื่อยุติการใช้แรงงานทาส โดยมีการระดมนักเคลื่อนไหวจากทั่วโลก ในขณะที่องค์กรแรงงานระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ได้บัญญัติความหมายของคำว่าแรงงานบังคับ หรือแรงงานทาสว่า "เป็นงานหรือบริการจากบุคคลที่ถูกบีบบังคับภายใต้การข่มขู่ว่าจะมีโทษทัณฑ์ และจากบุคคลที่ไม่ได้แสดงความสมัครใจ"

ทั้งนี้ มีการประมาณว่า ในแต่ละวัน จะมีผู้คนถูกใช้แรงงานทาสมากกว่า 40 ล้านคนทั่วโลก

ออสเตรเลียได้นำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจัดประเภทว่า มีความเสี่ยงที่จะได้รับการผลิตจากแรงงานทาสเป็นมูลค่าประมาณ $12,000 ล้านดอลลาร์ โดยอาหารทะเลนั้นคิดเป็นส่วนมาก โดยแรงงานทาสส่วนใหญ่ถูกบังคับให้อยู่บนเรือประมงในทะเล ซึ่งโอกาสที่จะหลบหนีหรือได้รับการช่วยเหลือนั้นมีเพียงน้อยนิด

นายหน้าจัดหาแรงงานที่ไม่ได้รับการดูแลในประเทศอย่างไทย และอินโดนีเซีย มันจะตั้งเป้าหาแรงงานจากผู้ลี้ภัย และผู้อพยพย้ายถิ่นผิดกฎหมายจากประเทศอย่างเมียนมาร์ จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม กัมพูชา และเนปาล เพราะทราบดีว่า ผู้คนเหล่านี้ไม่สามารถร้องเรียนกับทางการได้

"อุตสาหกรรมอาหารทะเลมีความเฉพาะตัว มันคืองานที่ต้องไปอยู่กลางทะเลที่ใครก็หนีไปไหนไม่ได้ คุณต้องอยู่กลางทะเลหลายเดือน คุณไม่สามารถหลุดรอดไปได้เลย และนั้นคือที่มาของอาหารทะเลในซูเปอร์มาร์เก็ต ทูน่ากระป๋องที่อยู่บนโต๊ะอาหารชาวออสเตรเลีย รวมถึงกุ้งแช่แข็งที่เราทุกคนใช้ประกอบอาหาร" นางฟิโอนาระบุกับเอสบีเอสนิวส์

ความกดดันจากผู้บริโภค

ในขณะที่ภาคธุรกิจสามารถตั้งคำถามในเรื่องการจ้างแรงงานกับผู้จัดจ่ายวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ แต่ภาระกลับตกมาอยู่ที่ผู้บริโภค
แรงงานต่างด้าวในจังหวัดภูเก็ต
ภาพแรงงานต่างด้าวขณะกำลังเทปลาบนท่าเรือใน จ.ภูเก็ต นายหน้าผู้จัดหาแรงงานประมงส่วนใหญ่ตั้งเป้าไปที่ผู้อพยพย้ายถิ่นผิดกฎหมาย เพราะรู้ว่าพวกเขาแจ้งตำรวจไม่ได้ (Getty Images) Source: Getty Images
"เมื่อผู้บริโภคมีโอกาสในการตั้งคำถาม อย่างเช่น ทูน่าของฉันมาจากการแปรรูปซึ่งใช้แรงงานทาสหรือเปล่า บริษัทก็จะสามารถตอบได้ว่าใช่หรือไม่ใช่ แต่มันคือขั้นตอนที่ผู้บริโภคจะต้องดำเนินการด้วยตัวเอง" ศาสตราจารย์เทรเวอร์กล่าว

ผู้บริโภคนั้นได้รับการกระตุ้นให้ตรวจสอบประเทศที่มาของอาหารทะเล โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือเพาะปลูกในออสเตรเลียนั้นถึอว่าดีที่สุด ในขณะที่ผลิตภัณฑ์จากประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องการค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานทาสนั้นเป็นสิ่งที่ต้องสงสัย

ทั้งนี้ รัฐบาลสหพันธรัฐได้มอบหมายงบประมาณจำนวน $3.6 ล้านดอลลาร์ เพื่อจัดตั้งหน่วยงานรับมือกับธุรกิจแรงงานทาส ซึ่งจะแนะนำภาคธุรกิจในออสเตรเลียถึงวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการปัญหาแรงงานทาสในขั้นตอนการผลิต และจากผู้จัดจ่ายวัตถุดิบหรือส่วนประกอบ


Share
Published 26 July 2018 11:54am
Updated 27 July 2018 11:40am
By Tyron Butson
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand