เผยผู้มาทำงานชั่วคราวในออสฯ และนักเรียนต่างชาติสูญค่าแรง $1 พันล้าน

INVESTIGATIONS: รายงานฉบับใหม่พบแบคแพคเกอร์และผู้มาทำงานชั่วคราวในประเทศออสเตรเลียถูกฉกฉวยผลประโยชน์ผ่านระบบอัน “แตกหัก” และแทบไม่มีโอกาสได้รับเงินคืน

“It's clear that Australia now has a large, silent underclass of hundreds of thousands of underpaid migrant workers”

ความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั้นไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ โดยผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวชาวเอเชียนั้นเป็นกลุ่มที่เต็มใจที่สุดที่จะพยายามทวงค่าจ้างคืน Source: AAP

You can read the full version of this story in English on SBS News .

เผยผู้มาทำงานชั่วคราวในออสฯ และนักเรียนต่างชาติสูญค่าแรง $1 พันล้าน

รายงานฉบับใหม่พบแบคแพคเกอร์และผู้มาทำงานชั่วคราวในประเทศออสเตรเลียถูกฉกฉวยผลประโยชน์ผ่านระบบอัน “แตกหัก” และแทบไม่มีโอกาสได้รับเงินคืน

เมื่อผู้ที่มาทำงานในระหว่างการท่องเที่ยว (เวิร์คกิงฮอลิเดย์) นายรูดอล์ฟ ลาฟงต์ ทราบว่าเขานั้นได้รับค่าจ้างเพียง $5 ต่อชั่วโมงจากการเก็บเกี่ยวผลไม้ที่ฟาร์มแห่งหนี่งในรัฐวิกตอเรีย เขาก็ทำได้เพียงเท่าที่หลายๆ คนในสถานการณ์เดียวกันจะทำได้: ก็คือทำอะไรแทบไม่ได้เลย

“ผมเป็นนักท่องเที่ยวสะพายเป้แบคแพคเกอร์ และผมก็ไม่ต้องการที่จะมีทนายหรืออะไรเช่นนั้น” ชายชาวฝรั่งเศสคนดังกล่าวชี้แจงกับเอสบีเอสนิวส์ “มันยากลำบากและเสียเวลาเป็นอย่างมาก”

ในทางตรงข้าม การฟันฝ่าระยะเวลาหลายสัปดาห์ด้วยสภาพความเป็นอยู่ที่ย่ำแย่ ณ ฟาร์มแห่งหนึ่งในรัฐนิวเซาท์เวลส์กลับผลักดันให้แบคแพคเกอร์ชาวเยอรมัน นายยานนิก ลาสส์ชลอตต์ เข้าขอความช่วยเหลือจากผู้ตรวจการแผ่นดินด้านความเป็นธรรมในการว่าจ้างงาน หรือแฟร์เวิร์คโอมบัดส์มัน (Fair Work Ombudsman)

แต่ทว่ามันทำให้เขานั้นตกงาน

“เขาไล่ผมออกในวันรุ่งขึ้นเลย สักเจ็ดคนเห็นจะได้” เขากล่าว “คนที่เขารู้ว่าไปหาแฟร์เวิร์ค – ซึ่งผมก็เป็นหนึ่งในนั้น”
French backpacker Rodolphe Lafont was being paid as little as $5 an hour
French backpacker Rodolphe Lafont was being paid as little as $5 an hour. Source: SBS News
ขณะนี้นายลาฟงต์และนายลาสส์ชลอตต์พักอยู่บนถนนที่เป็นศูนย์รวมของเหล่าแบคแพคเกอร์ในย่านคิงส์ครอส โดยพวกเขาได้สรุปภาพความเป็นจริงของผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวจำนวนมากในประเทศออสเตรเลีย: เกือบทั้งหมดนั้นไม่อยากจะไล่ติดตามค่าแรงอันน้อยกว่าที่ควร ส่วนผู้ที่ลงมือกระทำนั้นบ่อยครั้งกลับพบว่ามันไม่คุ้มค่ากับความยากลำบาก

เรื่องดังกล่าวเป็นผลสรุปตรงกันกับรายงานฉบับใหม่ซึ่งอธิบายถึงระบบ “อันแตกหัก” ที่ทำให้เหล่านายจ้างผู้ไม่ซื่อตรงนั้นสามารถเอารัดเอาเปรียบเหล่าแบคแพคเกอร์ นักเรียนนานาชาติ และผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวอื่นๆ และในความเป็นจริงก็มีหนทางเพียงน้อยนิดที่จะทวงค่าจ้างของพวกเขาซึ่งสูญไปคืนมาได้

อาจารย์อาวุโสด้านกฎหมายและผู้ร่วมประพันธ์รายงานชิ้นดังกล่าว คุณบาสสินา ฟาร์เบนบลัม กล่าวว่า “มันชัดเจนว่าขณะนี้ประเทศออสเตรเลียมีชนชั้นล่างซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานจำนวนหลายแสนคนที่ได้รับค่าจ้างน้อยกว่าที่ควรจะเป็น”

“ระดับของเงินค่าจ้างซึ่งไม่ถูกทวงคืนนั้น น่าจะอยู่ที่กว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์”
Jannik Lasschlott
German backpacker Jannik Lasschlott sought out the help of the Fair Work Ombudsman. Source: SBS News
รายงาน “การลักขโมยเงินค่าจ้างอย่างเงียบๆ” (“The Wage Theft Silence”) ซึ่งถูกเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (29 ต.ค.) นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการรวบรวมข้อมูลจากการทำสำรวจระดับชาติขนาดใหญ่ต่อผู้ถือวีซ่าชั่วคราวต่างๆ โดยมีผู้ตอบกลับเป็นจำนวนกว่า 4,300 คนจาก 107 ประเทศ ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นตัวแทนที่อาจถึง 11 เปอร์เซ็นต์ของตลาดแรงงานในประเทศออสเตรเลีย

รายงานดังกล่าวพบว่า ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวจำนวนต่ำกว่าหนึ่งใน 10 ลงมือดำเนินการเพื่อตามคืนค่าจ้างที่สูญไป - ทั้งๆ ที่พวกเขาทราบว่ากำลังถูกจ่ายเงินน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
“ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวจำนวนน้อยกว่าหนึ่งใน 10 ลงมือดำเนินการเพื่อตามคืนค่าจ้างที่สูญไป”
และที่สำคัญ ลูกจ้างชั่วคราวเกือบทั้งหมดได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่ควร โดยอ้างอิงตามงานวิจัยชิ้นก่อนหน้านี้โดยคุณ ฟาร์เบนบลัมและผู้ร่วมประพันธ์ คุณลอรี เบิร์ก ซึ่งเป็นอาจารย์อาวุโสจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์

ข้อมูลส่วนแรกของการทำสำรวจดังกล่าวได้รับการเผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว โดยเปิดเผยให้เห็นว่าเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบการสำรวจได้รับค่าแรง $15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงหรือต่ำกว่า โดยหนึ่งในสามนั้นได้รับค่าแรง $12 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงหรือต่ำกว่า ซึ่งภาคส่วนการเกษตรและงานฟาร์มนั้นได้รับการระบุว่าเป็นภาคส่วนที่จ่ายค่าจ้างต่ำที่สุด โดยค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมายนั้นอยู่ที่ $18.93 ต่อชั่วโมง



“เป็นไปได้ว่า 80 เปอร์เซ็นต์นั้นผ่านประสบการณ์อันเลวร้ายจากที่ฟาร์ม” ผู้จัดการที่พักโฮสเทล ปีเตอร์ แมนเซียร์ กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ โดยเขาเสริมว่าทุกๆ คนที่ผ่านมาที่โฮสเทลนั้น “มีเรื่องจะเล่า”

แต่ข้อมูลล่าสุดซึ่งได้รับการเปิดเผยเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาเน้นย้ำให้เห็นว่า สำหรับหลายๆ คนนั้นการหาหนทางเยียวยาเป็นความพยายามที่เปล่าประโยชน์
 “It's clear that Australia now has a large, silent underclass of hundreds of thousands of underpaid migrant workers,” said report co-author Bassina Farbenblum.
“It's clear that Australia now has a large, silent underclass of hundreds of thousands of underpaid migrant workers,” said report co-author Bassina Farbenblum. Source: SBS News
รายงานดังกล่าวชี้ว่า สำหรับทุกๆ 100 คนที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่ควรจะเป็นนั้น มีลูกจ้างเพียงสามคนที่ไปหาแฟร์เวิร์คโอมบัดส์มัน - ซึ่งเป็นหนทางหลักสำหรับลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานซึ่งต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับการได้รับค่าจ้างต่ำกว่าที่ควร โดยในจำนวนนี้ กว่าครึ่งไม่ได้รับเงินคืนแต่อย่างใด

อุปสรรคสำคัญต่อการริเริ่มลงมือนั้นรวมไปถึงการขาดความรู้ความเข้าใจต่อขั้นตอน (42 เปอร์เซ็นต์) ความยากลำบาก (35 เปอร์เซ็นต์) ความหวาดกลัวต่อผลกระทบด้านการตรวจคนเข้าเมือง (25 เปอร์เซ็นต์) และความหวาดกลัวต่อการสูญเสียการว่าจ้างงาน (22 เปอร์เซ็นต์)

“ระบบนั้นแตกหัก” คุณเบิร์กกล่าว “มันสมเหตุสมผลที่ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานส่วนใหญ่นั้นจะเงียบเฉย เพราะความพยายามและความเสี่ยงในการลงมือนั้นไม่คุ้มค่า เมื่อมีโอกาสเพียงน้อยนิดที่พวกเขาจะได้รับค่าจ้างคืนมา”
“ระบบนั้นแตกหัก… มันสมเหตุสมผลที่ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานส่วนใหญ่นั้นเงียบเฉย” - ลอรี เบิร์ก อาจารย์ด้านกฎหมาย
ทนายความด้านการว่าจ้างงานจากศูนย์กฎหมายเรดเฟิร์น คุณชาร์มิลลา บาร์กอนกล่าวว่า นักเรียนนานาชาติที่ทางศูนย์ฯ ดำเนินงานด้วยนั้นมักจะชั่งน้ำหนักว่าการทวงคืนค่าจ้างนั้นจะคุ้มกับการเอาปริญญามูลค่า $300,000 เข้าไปเสี่ยงหรือไม่

คุณบาร์กอนกล่าวว่า “พวกเขาจำเป็นจะต้องชั่งน้ำหนักเทียบกันกับการติดตามเงินค่าจ้างที่เรียกร้องว่าต่ำกว่าความเป็นจริง จำนวน $5,000” โดยเธอเสริมว่า ในบางกรณีนั้น นายจ้างได้ข่มขู่ที่จะรายงานผู้ร้องเรียนไปยังกระทรวงมหาดไทยเรื่องการฝ่าฝืนเงื่อนไขวีซ่าต่างๆ ของพวกเขา

“ดังนั้น สำหรับบางคนมันก็เป็นคำตอบที่ง่ายดาย และพวกเขาก็จะไม่ลงมือทำอะไร ซึ่งมันก็สามารถเข้าใจได้”

แม้งานวิจัยดังกล่าวจะยืนยันความเข้าใจต่างๆ ที่คาดกันไว้อยู่แล้วในเรื่องดังกล่าว มันก็ได้ค้นพบเรื่องที่กลับตาลปัตรอื่นๆ ด้วย
Sharmilla Bargon
Sharmilla Bargon from Redfern Legal Centre says requests for help from international students have increased. Source: SBS News
รายงานฉบับดังกล่าวพบกว่าระดับภาษาอังกฤษที่ต่ำนั้นไม่ใช่อุปสรรคสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานหลายๆ คนในการที่จะลุกขึ้นร้องเรียนอย่างที่คาดกัน และก็ปรากฏว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั้นก็ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ โดยผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวชาวเอเชียนั้นเป็นกลุ่มที่เต็มใจที่สุดที่จะพยายามทวงค่าจ้างคืน

รายงานดังกล่าวชี้ว่า การปฏิรูปทางโครงสร้างนั้น “จำเป็นอย่างเร่งด่วน” เพื่อจัดการกับแรงขับเคลื่อนหลักของการเอารัดเอาเปรียบ และ “วัฒนธรรมการไม่ถูกลงโทษ” ซึ่งตั้งอยู่บนความเข้าใจที่ว่าลูกจ้างที่ได้รับค่าแรงต่ำกว่าที่ควรนั้นจะเงียบเฉย

การปรับปรุงบริการช่วยเหลือต่างๆ สำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานชั่วคราวและการเพิ่มความแข็งแกร่งของการประกันความปลอดภัยด้านการตรวจคนเข้าเมือง ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของข้อแนะนำต่างๆ ของรายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งรวมไปถึงการจัดตั้งกำแพงกีดขวางไม่ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินด้านการว่าจ้างงานอย่างเป็นธรรมนั้นแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดวีซ่ากับทางมหาดไทย

โฆษกคนหนึ่งกล่าวว่าทางผู้ตรวจการแผ่นดินฯ กำลังพิจารณารายงานฉบับดังกล่าว

โดยเธอชี้แจงว่า “เป็นความสำคัญอันดับต้นๆ สำหรับแฟร์เวิร์คโอมบัดส์มันในการช่วยเหลือลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานซึ่งมีความหวั่นวิตกเรื่องค่าจ้างที่พวกเขาควรจะได้รับ”

ท่านทราบข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่ หากท่านต้องการแบ่งปันเรื่องราวของท่านกับเอสบีเอสนิวส์ ส่งอีเมล์ไปได้ที่:

ติดต่อรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่

ติดตามฟังรายการ  ได้ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ 

Share
Published 1 November 2018 12:41pm
Updated 12 August 2022 3:40pm
By Omar Dabbagh, Leesha McKenny
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News, AAP


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand