วิกฤตผักขาดแคลนทำอาหารฟาสต์ฟู้ดในออสฯ รสชาติเปลี่ยนไป

“ผักกาดแก้ว” ส่วนผสมสำคัญคู่ร้านจานด่วนในออสเตรเลียกำลังขาดแคลนอย่างหนัก จนหลายร้านต้องผสมกับกะหล่ำปลีเพื่อเสิร์ฟลูกค้า ขณะที่สภาพอากาศและเศรษฐกิจที่ผันผวนกำลังสร้างแรงกดดันให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภค

A collage of lettuce and fast-food chains

Fast-food chains are now resorting to using a lettuce and cabbage blend on all products. Source: The Feed

ผู้ประกอบการร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอย่างเคเอฟซี (KFC) หรือซับเวย์ (Subway) ในออสเตรเลียกำลังใส่กะหล่ำปลีลงไปในเบอร์เกอร์และแซนด์วิช ขณะที่ประเทศกำลังเผชิญกับภาวะผักกาดแก้วขาดแคลน

เคเอฟซี (KFC) ได้ประกาศแจ้งลูกค้าผ่านทางออนไลน์ว่า กำลังประสบปัญหาการหยุดชะงักของแหล่งผลิตผักกาด จากเหตุอุทกภัยในรัฐควีนส์แลนด์และรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่กวาดล้างผลผลิตทางการเกษตรไปเป็นจำนวนมากเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ร้านฟาสต์ฟู้ดดังกล่าวต้องใช้ผักกาดแก้วและผักกะหล่ำปลีผสมกันไปอย่างไม่มีกำหนด

“เราขอบคุณทุกคนที่เป็น Little Gems ระหว่างที่เรากำลังทำงานเพื่อให้ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ” ประกาศจากเคเอฟซีระบุ

“หากนั่นไม่ใช่สิ่งที่คุณชอบ เพียงกดปุ่ม Customise บนอาหารที่คุณเลือกและนำผักกาดแก้วออกจากส่วนผสม” ประกาศจากเคเอฟซีระบุเสริม พร้อมเครื่องหมายอิโมจิใบหน้ายิ้ม
ส่วนร้านซับเวย์ (Subway) ก็ได้ออกประกาศในทำนองเดียวกันบนเว็บไซต์ เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้อประกาศ ‘คำอธิบายเกี่ยวกับผักกาด (lettuce explained)’

“การเป็นบริษัทอาหารสดใหม่ หมายถึงการต้องอยู่กับจังหวะขึ้น ๆ ลง ๆ ของผลิตภัณฑ์อาหารสด” ประกาศในเว็บไซต์ชับเวย์ ระบุ

“เรากำลังประสบปัญหาขาดแคลนผักกาดแก้วจากเกษตรกรผู้เพาะปลูกผักกาดแก้วในท้องถิ่นของเรา”

“ดังนั้น ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เราจะผสมผักกาดแก้วกับกะหล่ำปลี ... ขณะที่ผักกาดแก้วกำลังจะมาถึงเราอีก”

ชาวออสเตรเลียได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นในผลิตภัณฑ์บางชนิด ขณะที่มีการแชร์ภาพของผักกาดแก้วที่มีราคา $10 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัมหรือมากกว่าทั่วโลกออนไลน์ แต่ไม่ได้มีเพียงผักกาดแก้วอย่างเดียวที่ได้รับผลกระทบ

เหตุอุทกภัยในพื้นที่ทางตะวันออกของออสเตรเลีย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ราคาค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลียระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นมาถึงร้อยละ 5.1 ภายในช่วงเวลาเพียง 3 เดือนแรกของปี 2022 เป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อขึ้นสู่จุดสูงสุดของประเทศในรอบ 20 ปี และคาดว่าอาจจะเพิ่มสูงขี้นกว่านี้
นอกจากนี้ ราคาอาหารในประเทศยังเพิ่มขึ้นไปร้อยละ 4.3 ในช่วงเพียง 3 เดือนแรกของปี

การขาดแคลนในห่วงโซ่อุปทานที่นับตั้งแต่การหาวัตถุดิบไปจนถึงมือผู้บริโภค เหตุการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงในปีนี้ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งหมด ล้วนส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อที่เหนี่ยวรั้งระบบเศรษฐกิจของออสเตรเลีย

ระหว่างเดือน พ.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารสำรองแห่งออสเตรเลีย (RBA) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (cash rate) ถึง 2 ครั้งไปถึงร้อยละ 0.85 ทำให้ผู้ที่กู้ยืมเงินส่วนมากต้องจ่ายเงินคืนมากกว่าเดิม

จิม ชาลเมอร์ส (Jim Chalmers) รัฐมนตรีคลังของออสเตรเลีย ได้อธิบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในครั้งนี้ว่า “เป็นข่าวที่ลำบากใจอย่างมาก” ขณะที่ผู้ขอสินเชื่อบ้านกำลังเผชิญกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2000


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 1 July 2022 6:01pm
Updated 1 July 2022 6:09pm
By Michelle Elias
Presented by Tinrawat Banyat
Source: The Feed


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand