อาการป่วยเรื้อรังอะไรบ้างที่ทำให้อาการโควิด-19 รุนแรง

มีอาการทางสุขภาพที่เปราะบางที่สุดต่อการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดี หรือเนื้อเยื่อค้ำจุนอวัยวะต่างๆ อ่อนแอ

Asthma medication

Asthma medication Source: Getty ImagesRgStudio

ประชาชนหลากหลายที่มีอาการทางสุขภาพซึ่งเป็นมาก่อนแล้ว จะมีความเสี่ยงมากขึ้น หากติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันสูง และโรคหอบหืด เชื้อไวรัสนี้โจมตีเนื้อเยื่อปอด และทำให้อวัยวะภายในอักเสบ เกิดขึ้นเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยารุนแรงจนเกินไปต่อเชื้อไวรัสนี้

ทั่วโลกนั้น คนไข้ที่ติดเชื้อโควิด-19 กว่าร้อยละ 70 ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลในห้องผู้ป่วยฉุกเฉิน มีอาการทางสุขภาพที่เป็นอยู่แล้วก่อนการติดเชื้อ

บทความนี้ให้อธิบายเกี่ยวกับอาการทางสุขภาพที่มีความเปราะบางที่สุดสำหรับเชื้อโควิด-19 เนื่องจากอาการเหล่านั้นทำให้เนื้อเยื่อค้ำจุนอวัยวะอ่อนแอ และ/หรือทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดี

อาการทางสุขภาพที่เป็นมาก่อนแล้วที่มีความสำคัญหากติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่ โรคเกี่ยวกับปอดที่เรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน อาการที่ตับและไต และการรักษาพยาบาลและการกินยาทุกอย่างที่ทำให้ระบบภูมิคุ้นกันของร่างกายอ่อนแอ รวมทั้ง การรักษาโรคมะเร็ง และการดูแลรักษาร่างกายหลังเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ

โรคหอบหืด

โรคหอบหืดเป็นอาการในระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดขึ้นจากไวผิดปกติของหลอดลมต่อสิ่งกระตุ้นและการอักเสบของทางเดินหายใจ โดยมีอาการต่างๆ เช่น ไอ หายใจมีเสียงหวีด แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรือมีอาการหอบ ขณะนี้คาดว่าโรคหอบหืดส่งผลกระทบต่อประชาชนราวร้อยละ 11 ของประชาชนทั่วออสเตรเลีย ชาวพื้นเมืองของออสเตรเลียมีแนวโน้มสูงกว่าที่จะมีรายงานว่าเป็นโรคหอบหืดมากกว่าชาวออสเตรเลียที่ไม่ใช่ชาวพื้นเมือง อาการหอบหืดเฉียบพลันอาจถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นได้จากสิ่งใดก็ตามที่ระคายเคืองทางเดินหายใจ ประชาชนที่มีอาการป่วยจากโรคหอบหืดควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากเชื้อโควิด-19 ยังสามารถโจมตีทางเดินหายใจได้

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคหอบหือ (เป็นภาษาอังกฤษ)

อาการที่ปอดอื่นๆ

อาการที่ปอดที่เด่นชัดที่สุดอื่นๆ นอกเหนือจากโรคหอบหืดในออสเตรเลียได้แก่ โรคปอดจากแร่ใยหิน โรคหลอดลมโป่งพอง โรคซิสติก ไฟโบรซิส (โรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดการสร้างเสมหะข้นในปอด ตับ ตับอ่อน และลำไส้) โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งปอด ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด ภาวะเยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคปอดจากฝุ่นหิน และวัณโรค อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่ปอด (เป็นภาษาอังกฤษ)

โรคหัวใจ

การวิจัยทั่วโลกชี้ว่า ประชาชนที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด มีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเสียชีวิตจากเชื้อโควิด-19 มากกว่าประชาชนทั่วไป ไม่ใช่เพราะพวกเขามีความเสี่ยงสูงกว่าในการติดเชื้อ แต่เพราะพวกเขามีความเสี่ยงสูงกว่าในการมีอาการป่วยที่รุนแรงกว่า เชื้อโควิด-19 ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งนำไปสู่การบาดเจ็บที่หัวใจและนำไปสู่อาการหัวใจวายเฉียบพลันได้

การดำเนินชีวิตที่ส่งผลดีต่อสุขภาพนั้นสำคัญอย่างยิ่ง ได้แก่ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่สมดุล การดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และการพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประชาชนควรออกกำลังกายในระดับหนักพอควร (moderate intensity) 150 นาที หรือออกกำลังกายในระดับหนัก (vigorous intensity) 75 นาทีต่อสัปดาห์ หรือผสมผสานกันทั้งสองรูปแบบ สำหรับกิจกรรมที่ใช้กำลังกายของประชาชนที่ทำที่บ้านได้

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด (เป็นภาษาอังกฤษ)

โรคเบาหวาน

ประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานสามารถเผชิญปัญหาด้านสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น องค์กรโรคเบาหวานแห่งออสเตรเลีย แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มีแผนบริหารจัดการเมื่อป่วยเตรียมไว้ และบริหารจัดการระดับกลูโคสในเลือดของตน ประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ และมีแนวโน้มสูงกว่าที่จะมีอาการป่วยในระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน โรคเบาหวานส่งผลให้ภูมิคุ้นกันบกพร่องในการต่อสู้กับการติดเชื้อไวรัส และในการต่อสู้กับความเป็นไปได้ของการติดเชื้อแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียที่ปอด ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 จำนวนมากเป็นโรคอ้วน และโรคอ้วนยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงได้

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคเบาหวานและเชื้อโควิด-19 (เป็นภาษาอังกฤษ)

อาการป่วยที่ตับ

ประชาชนที่มีเชื้อไวรัสตับเสบ บี หรือ ซี หรือมีอาการผิดปกติที่ตับอื่นๆ ควรใช้มาตรการป้องกันเช่นเดียวกับที่แนะนำสำหรับประชาชนทั่วๆ ไป แต่ให้ระมัดระวังและปฏิบัติตามมาตรการที่แนะนำไว้เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 มีคำแนะนำให้ประชาชนที่เป็นโรคตับที่ร้ายแรงให้ไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และเชื้อนิวโมคอคคัส

  • อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคไวรัสตับอักเสบและเชื้อโควิด-19 (เป็นภาษาอังกฤษ)
  • อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 และโรคเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบ บี  (เป็นภาษาอังกฤษ)
  • อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 และโรคเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบ ซี  (เป็นภาษาอังกฤษ)

โรคไต

ประชาชนที่เป็นโรคไตควรตระหนักว่า เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ พวกเขามีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะมีอาการป่วยที่รุนแรงและมีอาการแทรกซ้อนจากเชื้อไวรัสโคโรนา เชื้อโควิด-19 สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต หากผู้ป่วยไม่สบาย ร่างกายขาดน้ำ หรือมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อนนอกเหนือจากอาการจากเชื้อไวรัสโคโรนาแล้ว

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 และโรคไต  (เป็นภาษาอังกฤษ)

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับแผนบริหารจัดการขององค์กรสุขภาพไตแห่งออสเตรเลีย  (เป็นภาษาอังกฤษ)

การรักษามะเร็ง

เมื่อผ่านการเป็นมะเร็ง ระบบภูมิคุ้มกันของประชาชนมีแนวโน้มจะอ่อนแอลง และพวกเขาควรปฏิบัติตามคำแนะนำเฉพาะที่แพทย์ที่ให้การดูแลพวกเขาแนะนำ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ระหว่างและหลังการรักษา สำคัญอย่างยิ่งที่พวกเขาจะต้องอยู่บ้านให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และให้หลีกเลี่ยงการเดินทางทุกอย่างที่ไม่จำเป็น และหลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยอยู่ในภาวะเช่นเดียวกันภายใต้การรักษาหลังเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับการให้การสนับสนุนผู้ป่วยมะเร็ง  (เป็นภาษาอังกฤษ)

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร ให้ตรวจสอบข้อจำกัดในรัฐของคุณเกี่ยวกับการรวมกลุ่มกัน

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ

เอสบีเอสมุ่งมั่นให้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 แก่ชุมชนหลากหลายภาษาในออสเตรเลีย เรามีข่าวและข้อมูลเป็นภาษาต่างๆ 63 ภาษาที่เว็บไซต์

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

 


Share
Published 5 May 2020 3:49pm
Updated 21 August 2020 2:08pm
By SBS Radio
Presented by SBS Thai
Source: SBS Radio


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand