Deliveroo เสิร์ฟอาหารมื้อสุดท้าย อนาคตอุตสาหกรรมส่งอาหารให้ตามบ้านจะเป็นอย่างไร

ผู้เชี่ยวชาญต่างเรียกร้องขอให้มีการปกป้องขั้นพื้นฐานสำหรับสิทธิของผู้ทำงานในอุตสาหกรรมกิ๊ก อีโคโนมี (Gig economy)

A bag with branding that reads "Deliveroo" placed next to a bike.

Deliveroo drivers say they're concerned about their job security after the company announced they would be shutting down their Australia operations. Source: AAP / Niall Carson/PA/Alamy

ประเด็นสำคัญในข่าว
  • เดลิเวรู (Deliveroo) ได้เลิกกิจการในออสเตรเลีย
  • บริการประเภทนี้อื่นๆ กำลังเสนองานให้คนขับรถส่งอาหารตามบ้านที่ได้รับผลกระทบทำ
  • ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า อุตสาหกรรมกิ๊ก อีโคโนมี (Gig economy) กำลังเอารัดเอาเปรียบคนงาน
การปิดกิจการอย่างกระทันหันของบริษัทส่งอาหารให้ตามบ้าน เดลิเวอรู (Deliveroo) ในออสเตรเลียก่อให้เกิดความวิตกในหมู่เจ้าของร้านอาหารและพนักงานขับรถส่งอาหารให้ตามบ้านที่ทำงานในเศรษฐกิจกิ๊ก อีโคโนมี (Gig economy) เกี่ยวกับอนาคตของอุตสาหกรรมการจัดส่งอาหารให้แก่ผู้บริโภคแบบไร้สัมผัส (contactless)

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เดลิเวอรูเลิกดำเนินธุรกิจในออสเตรเลียคือ ร่างกฎหมายที่เสนอโดยคณะกรรมการแฟร์ เวิร์ก (คณะกรรมการเพื่อการจ้างงานที่เป็นธรรม) ซึ่งจะกำกับดูแลเศรษฐกิจกิ๊ก อีโคโนมี (Gig economy ระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากงานแบบครั้งคราว หรืองานที่รับจ้างแล้วจบไป) โดยคาดว่ากฎหมายนี้จะเริ่มนำมาบังคับใช้ตั้งแต่ครึ่งแรกของปี 2023

รศ.เดวิด บิสเซลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิศาสตร์เมืองและวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น บอกกับ เอสบีเอส นิวส์ ว่า ขณะที่ ‘ดีเยี่ยม’ ที่จะมีการเสนอร่างกฎหมายใหม่ที่มีผลในระดับรัฐและสหพันธรัฐ แต่หลายบริษัทกำลังพึ่งพาสภาพการทำงานที่ ‘ย่ำแย่’ ของลูกจ้าง

“การทำกำไรของบริษัทเหล่านี้จำนวนมาก แน่นอนว่า ขึ้นอยู่กับค่าจ้างที่ต่ำและสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ของคนงานเหล่านั้น” ศ.บิสเซลล์ กล่าว

“เพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานและค่าจ้างของคนงานเหล่านี้จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกี่ยวกับวิธีการดำเนินธุรกิจของบริษัทเหล่านี้”

รศ.บิสเซลล์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการธุรกิจประเภทนี้รายอื่นๆ อาจเลิกกิจการไปเช่นกัน เนื่องจากความกดดันด้านค่าครองชีพทำให้ผู้คนในออสเตรเลียน้อยลงสั่งอาหารออนไลน์

หากเป็นเช่นนั้น อย่างที่เกิดขึ้นกับเดลิเวอรู คนทำงานในเศรษฐกิจกิ๊ก อีโคโนมี ก็จะไม่มีสิ่งใดปกป้องพวกเขา บรรดาผู้เชี่ยวชาญกล่าว

บริษัทส่งอาหารให้ตามบ้านอื่นๆ มีความเห็นอย่างไร?

แต่บริษัทส่งอาหารให้ตามบ้านอื่นๆ ที่ดำเนินกิจการในออสเตรเลียต่างรีบเสนองานให้พนักงานขับรถส่งอาหารที่ตกงานจากการเลิกกิจการของเดลิเวอรู และต่างกล่าวว่าพวกเขามุ่งมั่นที่จะปรับปรุงสภาพการทำงานของพนักงานขับรถส่งอาหาร

โฆษกของเมนูล็อก (Menulog) บอกกับ เอสบีเอส นิวส์ ว่าบริษัท “สนับสนุนเจตนารมณ์ของรัฐบาลสหพันธรัฐที่จะให้มีมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับพนักงานขับรถส่งอาหารหรือส่งสินค้าและยินดีที่จะมีสนามแข่งขันที่เท่าเทียมกันทั่วทั้งอุตสาหกรรม”

คุณรีเบกคา เบอร์โรวส์ ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท ดอร์แดช ออสเตรเลีย (DoorDash Australia) กล่าวว่า พนักงานขับรถส่งอาหารที่ได้รับผลกระทบ ควรไปลงทะเบียนกับดอร์แดช และกล่าวว่าบริษัทสนับสนุนกฎหมายดังกล่าว

“นี่เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับทีมงาน หุ้นส่วนและพนักงานขับรถส่งอาหารของเดลิเวอรู อย่างไรก็ตาม เราทราบดีว่ามีโอกาสมากมายในออสเตรเลียเช่นกัน” คุณ เบอร์โรวส์ กล่าว

“เรายังคงมีความหวังเต็มเปี่ยมว่ามีหนทางสู่การปฏิรูปที่ให้สวัสดิการและการคุ้มครองเพิ่มเติมแก่คนงานในภาคส่วนนี้ และยังสนับสนุนความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมที่สำคัญนี้ในออสเตรเลีย”

ถึงแม้จะมีทางเลือกอื่นจากบริษัทอื่นๆ แต่คุณนาบิน แอดฮิคาริ คนทำงานในกิ๊ก อีโคโนมี กล่าวว่า พนักงานขับรถส่งอาหาร "กังวลไปทุกที่เกี่ยวกับความมั่นคงในการทำงาน"

"พริบตาเดียว ทุกอย่างก็หายไป" คุณแอดฮิคาริ กล่าว

“ฟูดอรา (Foodora) หนีออกจากประเทศเมื่อ 4 ปีก่อน และตอนนี้เดลิเวรูก็หนีออกจากประเทศไปอย่างขี้ขลาดเช่นกัน” คุณแอดฮิคาริ กล่าว

เขากล่าวต่อไปว่า ขณะที่เป็นเรื่องดีที่บริษัทอย่างอูเบอร์ (Uber) และดอร์แดช เปิดรับการจะให้มีเกณฑ์ระเบียบควบคุมดูแล แต่จำเป็นกฎหมายที่ใช้ทั่วทั้งอุตสาหกรรมเพื่อปกป้องพนักงานขับรถส่งอาหาร

“เรายังคงไม่เคยมีกฎหมายกำกับดูแลที่ชัดเจนและให้ความมั่นใจในเรื่องความมั่นคง”
ในเดือนมิถุนายน อูเบอร์ และสหภาพแรงงานลูกจ้างด้านการขนส่ง (ทีดับเบิลยูยู TWU) ได้ข้อตกลงร่วมกัน สำหรับรายได้ขั้นต่ำ สภาพการทำงาน และสวัสดิการสำหรับพนักงานขับรถ โดยเป็นมาตรการที่โปร่งใสและสามารถบังคับให้บริษัทต้องปฏิบัติตามได้

ในเดือนกันยายน คุณเอ็ด แมคมานัส ซีอีโอ ของเดลิเวรู ออสเตรเลีย บอกกับ เอเอฟอาร์ ว่า ผู้บริหารของบริษัทได้รับแจ้งว่า คาดว่าจะมีกฎหมายออกมาบังคับใช้ตั้งแต่ช่วงครึ่งแรกของปี 2023 ซึ่งจะขยายอำนาจของคณะกรรมการแฟร์ เวิร์ก ให้สามารถกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและสภาพการทำงานของพนักงานเดลิเวรู

การเลิกกิจการของเดลิเวอรูในออสเตรเลียยังคงส่งผลกระทบต่อเจ้าของร้านอาหารต่างๆ อย่างคุณนิก ทักเวลล์ ซึ่งกล่าวว่า ยอดขายร้อยละ 30 ของธุรกิจเขา “หายวับไปเลยเมื่อวานนี้”

“แน่นอนว่าเราจะต้องตั้งตัวกันใหม่ และสิ่งที่ต้องทำอันดับแรกสำหรับวันนี้คือ นำอาหารกลับไปส่งให้ลูกค้าอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้” คุณทักเวลล์ กล่าว

“ผมคิดว่าพวกเขามีภาระผูกพันที่จะต้องแจ้งให้เรารู้เสียอีกว่าพวกเขามีสถานการณ์อย่างไร แต่โชคร้ายที่พวกเขาไม่ได้แจ้งเราและตอนนี้เราก็ต้องแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น”

“กิ๊ก อีโคโนมี ใช้การไม่ได้ดีสำหรับคนทำงาน”

นายอดัม แบนต์ ผู้นำพรรคกรีนส์ กล่าวว่า ออสเตรเลียจำเป็นต้องออก “กฎพื้นฐานที่แข็งแกร่ง” สำหรับคนงาน เพื่อที่ว่า “ธุรกิจใหญ่ๆ จะไม่สามารถใช้ศัพท์เฉพาะทางกฎหมายมาปล้นสิทธิพื้นฐานของพวกเขาได้”

“กิ๊ก อีโคโนมี ใช้การไม่ได้ดีสำหรับคนทำงานบางคน”

"สิ่งที่เราค้นพบคือความสะดวกสบายของบริการเหล่านี้มักสร้างขึ้นจากพนักงานต้องทำงานที่เสี่ยงภัย เช่น ขับขี่รถไปรอบๆ เมืองในสภาพที่อันตราย โดยได้ค่าจ้างที่น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ”
"บริษัทขนาดใหญ่ได้รับอนุญาตให้เฟื่องฟูด้วยรูปแบบธุรกิจที่อิงกับการเอารัดเอาเปรียบ"

นายแบนต์กล่าวว่า "คนงานทุกคน" ควรได้รับสวัสดิการขั้นพื้นฐาน เช่น การลาป่วย การลาพักร้อนประจำปี และค่าจ้างที่เป็นธรรม

คุณบิสเซลล์ยังได้เรียกร้องให้มีสิทธิที่มากขึ้นสำหรับผู้ที่ทำงานในกิ๊ก อีโคโนมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหลังจากมีโควิดระบาดเกิดขึ้นและการทำงานโดยไม่มีสิทธิลาป่วย

“โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด และความกดดันที่ต้องทำงานต่อไปทั้งที่คุณป่วย เพียงเพื่อให้มีเงินพอกินพอใช้” คุณบิสเซลล์ กล่าว

“การเสี่ยงภัยขณะที่คนอื่นไม่จำเป็นต้องทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงสภาพการทำงานของผู้คนเหล่านี้จำนวนมาก ที่พวกเขาต้องขับรถท่ามกลางสภาพอากาศที่อันตรายทุกรูปแบบ”

"มันเป็นงานที่อันตราย และบริษัทเหล่านี้ก็ไม่ได้ปกป้องพวกเขาอย่างเพียงพอ"

เดลิเวอรู ออสเตรเลีย ได้แต่งตั้ง KordaMentha เป็นผู้เข้ามาบริหารจัดการหนี้สินของสาขาในออสเตรเลีย

เดลิเวอรู มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศอังกฤษ และจะยังคงดำเนินการต่อไปในประเทศอื่น 11 ประเทศ

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 18 November 2022 12:44pm
By Tom Canetti
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand