ชาวออสฯ เครียดเรื่องเช่าบ้านแม้เงินช่วยผู้ว่างงานเพิ่ม

มีรายงานล่าสุดที่เปิดเผยว่า ชาวออสเตรเลียบางส่วนที่ตกงานในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรนา ต้องจ่ายค่าเช่าที่พักอาศัยถึงร้อยละ 70 ของรายได้ทั้งหมด

Kingsley Wallman

Kingsley Wallman Source: Sarah Maunder/SBS News

คุณคิงสลีย์ วอลแมน (Kingsley Wallman) ย้ายมาอาศัยอยู่ในนครเมลเบิร์นจากนครโฮบาร์ต เมื่อ 12 เดือนที่ผ่านมา เพื่อเข้าทำงานในตำแหน่งงานทนายความอาวุโส แต่เพียงไม่กี่เดือนที่สถานการณ์ไวรัสโคโรนาได้เริ่มต้น นั่นทำให้เขาตกงานที่เขาเพิ่งเริ่มทำได้ไม่นาน และต้องจำใจย้ายกลับไปยังนครโฮบาร์ต 

“ค่าเช่าในเมลเบิร์นมากกว่าเงินชดเชยรายได้จ๊อบซีกเกอร์ที่ผมได้รับ ผมจ่ายไม่ไหวจริง ๆ” คุณวอลแมน ในวัย 56 ปี กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์  

ในตอนนี้ เขาได้ไปอาศัยอยู่กับเพื่อนของเขาเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย แต่เขายังคงหางานใหม่ไม่ได้
Kingsley Wallman
Kingsley Wallman Source: Sarah Maunder/SBS News
“ตั้งแต่ผมกลับมา ผมก็หางานอยู่ตลอด ผมสมัครงานไปหลายตำแหน่ง ทั้งที่นี่และที่เมลเบิร์น แต่ก็ไม่มีใครเรียกผมไปสัมภาษณ์งานแม้แต่รายเดียว” คุณวอลแมน กล่าว

ไม่ใช่เพียงคุณวอลแมนที่ประสบกับปัญหาเหล่านี้ ข้อมูลจากดัชนีความสามารถในการจ่ายค่าเช่าที่พักอาศัย ()ในปีนี้ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ประจำปี ที่จัดทำโดยกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงธนาคาร องค์กรเพื่อผู้ยากไร้อย่าง บราเธอร์ฮูด ออฟ เซนต์ ลอวเรนซ์​ (Brotherhood of St Laurence) และ เนชันแนล เชลเตอร์ (National Shelter) ได้แสดงให้เห็นถึงความสิ้นหวังของผู้เช่าอาศัยที่ว่างงาน

ดัชนีล่าสุด ซึ่งได้วิเคราะห์ถึงผลกระทบของเงินช่วยเหลือสมทบที่รัฐบาลจ่ายเพิ่มเติม ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา จนถึงช่วงไตรมาสเดือนมิถุยายนที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นว่า แม้การเพิ่มเงินสงเคราะห์รายได้จ๊อบซีกเกอร์ จะช่วยเหลือในเรื่องความสามารถในการจ่ายค่าเช่าที่พักอาศัย สำหรับครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบทั่วประเทศ แต่ผู้รับเงินช่วยเหลือดังกล่าวจากรัฐบาลยังคงต้องเผชิญกับความเครียดในการเช่าที่พักอาศัยในระดับปานกลางและระดับสูง 

แม้ว่าเงินสนับสนุนที่เพิ่มขึ้น ช่วยเหลือผู้ที่รับเงินสงเคราะห์รายได้จ๊อบซีกเกอร์อยู่แล้ว แต่มีผู้รับเงินสงเคราะห์รายได้รายใหม่ประมาณ 755,000 ราย ซึ่งตกงานจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ต่างกำลังเผชิญกับแรงกดดันมหาศาล ในการต้องจ่ายค่าเช่าที่พักอาศัย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 42 – 69 ของรายได้ ในหลายเมืองใหญ่ทั่วประเทศ

คุณเอลเลน วิทเต (Ellen Witte) พาร์ทเนอร์จาก SGS Economics and Planning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผู้จัดทำดัชนีความสามารถในการเช่าที่พักอาศัย กล่าวว่า มีหลายครัวเรือนที่กำลังเผชิญกับการติดอยู่ในวงจรของความยากจน ด้วยตำแหน่งงานที่ลดลง และผู้คนต่างย้ายออกจากตัวเมืองไปยังพื้นที่ซึ่งมีค่าเช่าถูกกว่า แต่กลับมีงานและบริการในพื้นที่ในระดับต่ำ
SGS Economics and Planning partner Ellen Wiite
SGS Economics and Planning partner Ellen Wiite Source: Sarah Maunder/SBS News
เธอกล่าวว่า ตลาดที่พักอาศัยกำลังตอบรับ กับการที่ผู้รับเงินสงเคราะห์รายได้จากรัฐไม่สามารถจ่ายค่าเช่าที่พักอาศัยในอัตราสูงได้ ด้วยการลดค่าเช่าให้ถูกลง 

“ก่อนหน้านี้ ผู้รับเงินสงเคราะห์รายได้จ็อบซีกเกอร์ (JobSeeker) สามารถจ่ายค่าเช่าที่พักอาศัยได้ โดยคิดเป็น 30 – 35% จากรายได้ทั้งหมด แต่ในตอนนี้ พวกเขาต้องจ่ายค่าเช่าซึ่งคิดเป็น 60% ของรายได้ที่พวกเขามี” คุณวิทเต กล่าว 

“มันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นจึงทำให้ผู้คนเหล่านั้นต้องย้ายออกไป”

ทั้งนี้ ความเครียดในตลาดที่พักอาศัยนั้น หมายถึงจำนวนครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งจ่ายค่าเช่าที่พักอาศัยในอัตราที่มากกว่าร้อยละ 30 ของรายได้ทั้งหมด

‘โฮบาร์ต’ ครองแชมป์เช่าที่พักอาศัยยากที่สุดอีกปี

ดัชนีดังกล่าวพบว่า นครโฮบาร์ต เป็นเมืองที่ผู้คนสามารถเช่าที่พักอาศัยได้น้อยที่สุดในออสเตรเลียติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ตามมาด้วยนครแอดิเลด ขณะที่เมืองอื่น ๆ นั้น ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ได้ทำให้ราคาเช่าที่พักอาศัยนั้นลดลง

ในทั่วประเทศ ผู้เช่าจะจ่ายค่าเช่าที่พักอาศัยคิดเป็นร้อยละ 20 ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่ในนครโฮบาร์ตนั้น ผู้คนต้องจ่ายค่าเช่าที่พักอาศัยคิดเป็นร้อยละ 31 ของรายได้ทั้งหมด 

“เราพบเห็นการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของพลเมืองใหม่ที่ซื้อบ้านในแทสเมเนีย โดยพวกเขาได้ใช้กำลังซื้อจากแผ่นดินใหญ่ ผลักดันราคาที่พักอาศัยให้สูงขึ้น” นางวิทเต กล่าว
For the third year in a row, the index found Hobart to be the country's least affordable city.
For the third year in a row, the index found Hobart to be the country's least affordable city. Source: Sarah Maunder/SBS News
นางวิเต ได้เรียกร้องไปยังรัฐบาลทั่วออสเตรเลีย เพื่อลงทุนในการสร้างอาคารสงเคราะห์ โดยได้กล่าวชื่นชมโครงการอาคารสงเคราะห์มูลค่า $5,300 ล้านดอลลาร์ของรัฐวิกตอเรีย ในการสร้างอาคารสงเคราะห์จำนวน 12,000 แห่งทั่วรัฐ

“นั่นไม่เพียงแต่จะสร้างตำแหน่งงานเป็นจำนวนมาก แต่มันเป็นสิ่งที่สำคัญมากในช่วงขาลงทางเศรษฐกิจ ซึ่งเรากำลังประสบอยู่ในตอนนี้” นางวิเต กล่าว

“เราหวังว่าจะมีการประกาศโครงการในลักษณะดังกล่าวในเมื่องอื่น ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะหารประกาศเป็นโครงการระดับชาติ" 

ด้านองค์กรการกุศล Brotherhood of St Laurence ยังต้องการให้มีการทุ่มเทงบประมาณมากขึ้นในโครงการอาคารสงเคราะห์

“เรากำลังเรียกร้องให้มีการลงทุนในโครงการอาคารสงเคราะห์และที่พักอาศัยราคาย่อมเยาว์ มันถึงเวลาอันสมควรแล้วสำหรับสิ่งเหล่านั้น เราพบกับอัตราการว่างงานที่สูง ดังนั้น เราจึงต้องการให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ” ศาสตราจารย์ เชล์ลีย์ มาล์เล็ตต์ (Shelley Mallett) ผู้อำนวยการด้านการวิจัยและนโยบาย กล่าว

รัฐบาลสหพันธรัฐ มีกำหนดในการลดอัตราจ่ายเงินสงเคราะห์รายได้จ็อบซีกเกอร์ (JobSeeker) ที่ผู้รับคนหนึ่งพึงได้จาก $815 ดอลลาร์ต่อ 2 สัปดาห์ เหลือ $715 ดอลลาร์ต่อ 2 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2021 เป็นต้นไป

โดยองค์กรการกุศล The Brotherhood of St Laurence คาดว่า จะมีผู้ขอรับเงินสงเคราะห์รายได้จ็อบซีกเกอร์รายใหม่อีก 1.8 ล้านรายภายในสิ้นปีนี้

"สิ่งที่เราวิตกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือการที่มันจะกลายเป้นวิกฤตขนาดใหญ่สำหรับผู้คนจำนวนมาก ขณะที่มีผู้ขอรับเงินช่วยเหลือผู้ว่างงานจ็อบซีกเกอร์เพิ่มมากขึ้นไปเรื่อย ๆ" ศาสตราจารย์มาล์เล็ตต์ กล่าว

สำหรับคุณวอลแมนนั้น เขาไม่แน่ใจว่าอนาคตของเขาจะเป็นอย่างไร

“ในภายภาคหน้า เรื่องนี้ได้ส่งสารที่ชัดเจนว่า อย่าวางแผนหรือคาดหวัง ว่าการจ้างงานจะเป็นเหมือนในอดีตที่ผ่านมา” คุณวอลแมน กล่าว

Share
Published 2 December 2020 1:25pm
Updated 12 August 2022 3:09pm
By Evan Young, Sarah Maunder
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand