'คุก4ปี-ปรับเป็นล้าน' มาตรการใหม่กวาดล้างนายจ้างกดค่าแรง

รัฐบาลสหพันธรัฐเผยร่างปฏิรูปกฎหมายในสถานประกอบการใหม่ เพิ่มโทษทางแพ่ง-อาญากับนายจ้างกดค่าแรง ตัดสิทธิ์บริหารกิจการ 5 ปี

Attorney-General Christian Porter.

Attorney-General Christian Porter. Source: AAP

รัฐบาลสหพันธรัฐ ระบุว่า จะมีการดำเนินคดีทางทางอาญาและทางแพ่ง กับนายจ้างที่ไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามสัญญา ภายใต้กฎหมายใหม่ในการกวาดล้างการจ่ายค่าจ้างอันไม่เป็นธรรม  

การปฏิรูปดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมสัมพันธ์ของออสเตรเลีย ที่กำลังจะมีการเสนอเข้าต่อรัฐสภาในวันนี้ (9 ธ.ค.) โดยนายจ้างที่จ่างค่าแรงต่ำกว่าที่ลูกจ้างพึงได้รับจะต้องได้รับโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี และต้องโทษปรับสูงสุด $1.1 ล้านดอลลาร์ ในข้อหาความผิดทางอาญาใหม่เกี่ยวกับการโกงค่าจ้าง 

นอกจากนี้ บริษัทต่าง ๆ อาจต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินสูงสุด $5.5 ล้านดอลลาร์ หากละเลยการจ่ายเงินก้อนเพื่อชดเชยค่าแรงที่ขาดตก รวมถึงการคำนวณค่าจ้างที่ผิดพลาดและประมาณเลินเล่อ

นายคริสเตียน พอร์เตอร์​ (Christian Porter) รัฐมนตรีอุตสาหกรรมสัมพันธ์ของออสเตรเลีย กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวจะปกป้องลูกจ้างจาก “ผู้ประกอบการไร้คุณธรรมส่วนหนึ่ง ที่เอารัดเอาเปรียบลูกจ้างของตนอย่างจงใจ”

นายพอร์เตอร์ กล่าวว่า มาตรการด้านอุตสาหกรรมสัมพันธ์ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการแก้ปัญหาในส่วนของกฎหมายในสถานประกอบการ ซึ่งขัดขวางการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียในภาวะเศรษฐกิจถดถอย จากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา

ร่างการปรับแก้กฎหมายมในสถานประกอบการที่ได้มีการเสนอต่อรัฐสภานั้น เกิดขึ้นหลังมีการประชุมโต๊ะกลมโดยสหภาพนายจ้าง ที่ได้มีการชี้แจงปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่คนทำงานแคชวล การปรับปรุงอัตราจ่ายค่าแรงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และการปฏิรูปต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานประกอบการ

โดยนายจ้างที่จงใจจ่ายค่าแรงให้ลูกจ้างในอัตราต่ำกว่าที่พึงได้รับ จะมีความผิดในโทษฐานขโมยค่าจ้าง นอกจากนี้ จะถูกตัดคุณสมบัติในการบริหารจัดการบริษัทหรือองค์กรเป็นเวลา 5 ปี

นายพอร์เตอร์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลออสเตรเลียมีความพยายามในการเพิ่มโทษปรับทางแพ่งให้มีความเข้มงวด เพื่อทำให้แน่ใจว่านายจ้างจะปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งจะทำให้โทษปรับในข้อหาความผิดเกี่ยวกับสถานประกอบการเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 โดยจะมีโทษปรับสูงสุดถึง $19,980 ดอลลาร์สำหรับบุคคลธรรมดา และ $99,000 ดอลลาร์สำหรับบริษัทต่าง ๆ

‘งานยืดหยุ่น’ สำหรับคนทำงานพาร์ทไทม์’

มีอีกมาตรการหนึ่ง ที่จะทำให้ลูกจ้างพาร์ทไทม์ประจำในอุตสาหกรรมอาหารและค้าปลีก ไม่ได้รับค่าตอบแทนล่วงเวลา เมื่อต้องทำงานนอกเหนือจากชั่วโมงงานปกติ โดยพวกเขาสามารถตกลงรับชั่วโมงงานเพิ่ม โดยได้รับค่าตอบแทนรายชั่วโมงตามปกติ

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นความพยายามในการชี้แจงให้เห็นถึงปัญหาที่คนทำงานธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจบริการจำนวนมาก ต้องการชั่วโมงทำงานเพิ่ม แต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากภาคธุรกิจต่าง ๆ ไม่เต็มใจที่จะจ่ายค่าตอบแทนในพนักงานในอัตราที่สูงขึ้น

“การปฏิรูปในครั้งนี้จะมอบความมั่นใจ และความมั่นคงที่ภาคธุรกิจ ที่ต้องการการจ้างงานจากพนักงานประจำ มากกว่าการที่มุ่งจ้างพนักงานในรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นแบบเดิม ๆ” นายพอร์เตอร์ กล่าว

ด้านพรรคแรงงานและสหภาพแรงงาน ได้ส่งสัญญาณถึงการต่อสู้ที่กำลังจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับกฎหมายใหม่นี้ หลังมีความกังวลอย่างจริงจัง ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อคนทำงานแคชวล

นายโทนี เบิร์ก (Tony Burke) โฆษกด้านอุตสาหกรรมสัมพันธ์จากพรรคแรงงาน กล่าวว่า เขายังคงมีความกังวลเกี่ยวกับร่างการปฏิรูปสำหรับคนทำงานพาร์ทไทม์ ที่รัฐบาลได้เสนอต่อรัฐสภา

“มันไม่ใช่แนวคิดที่แย่ที่สุดที่พวกเขาได้เสนอ แต่มันก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งเราจำเป็นต้องพิจารณากันในส่วนนี้” นายเบิร์ก กล่าว 

“มันคือกฎหมายที่เรายังไม่เคยพบเห็น ดังนั้นเราจึงจะพิจารณาในส่วนนี้อย่างสร้างสรรค์ แต่ถ้าหากมันไม่สามารถรักษาตำแหน่งงานของผู้คนไว้ด้วยค่าแรงที่เหมาะสมได้ เราก็จะคัดค้านในส่วนนี้”

นางแซลลี แม็กมานัส (Sally McManus) เลขาธิการสหภาพแรงงานออสเตรเลีย (ACTU) ได้เตือนว่า ร่างการปฏิรูปกฎหมายดังกล่าวเป็น “การพลาดโอกาส” ในการสร้างความมั่นคงให้ตำแหน่งงาน และเป็นการริดรอนสิทธิ์ที่คนทำงานพึงได้รับ


รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 



Share
Published 9 December 2020 2:01pm
Updated 9 December 2020 2:06pm
By Tom Stayner
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand