แฟชั่นแบบ ‘มาไว ไปไว’ ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม แต่ทำไมชาวออสเตรเลียจึงไม่หยุดซื้อ

นักวิจัยและกระบอกเสียงด้านสิ่งแวดล้อมต่างกล่าวว่า รัฐบาลและอุตสาหกรรมแฟชั่นมีข้อผูกพันที่จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับฟาสต์ แฟชั่น (fast fashion) หรือ แฟชั่นแบบ‘มาไว ไปไว’ และผลกระทบของแฟชั่นประเภทนี้ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

A person shopping on a laptop with several shopping packages around them and an Australian flag in the background.

New research has found general shoppers lack awareness and understanding around fast fashion. Source: SBS

การศึกษาวิจัยใหม่โครงการหนึ่งพบว่า ผู้บริโภคขาดความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับฟาสต์ แฟชั่น (fast fashion) หรือ แฟชั่นแบบ‘มาไว ไปไว’ และยัง "ไม่ชอบหรือไม่สามารถเปลี่ยนนิสัยการซื้อของพวกเขาได้"

การศึกษาวิจัยโครงการนี้ ที่นำโดยคุณเอริน สกินเนอร์ นักศึกษาปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย ได้สำรวจทัศนคติและความเข้าใจของชาวออสเตรเลียเกี่ยวกับทั้งฟาสต์ แฟชั่น (fast fashion หรือ แฟชั่นที่ ‘มาไว ไปไว’) และแฟชั่นที่ยั่งยืน นอกจากนี้การวิจัยยังพบว่าชาวออสเตรเลียสนับสนุนให้มีทางเลือกแฟชั่นที่ยั่งยืนมากขึ้น

ฟาสต์ แฟชั่น (fast fashion) หมายถึง เสื้อผ้าที่ผลิตขึ้นอย่างรวดเร็วในปริมาณมากและขายให้กับผู้บริโภคในราคาที่ต่ำ แม้ว่าแบรนด์เหล่านี้จะได้รับความนิยมในหมู่นักชอปเนื่องจากราคาที่ย่อมเยาและมีตัวเลือกที่หลากหลาย แต่อุตสาหกรรมเสื้อผ้าประเภทนี้กำลังเผชิญกับการถูกตรวจสอบและการถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

“ผู้เข้าร่วมการสำรวจในการวิจัยครั้งแรกของฉันจำนวนมากไม่เคยได้ยินคำว่า 'ฟาสต์ แฟชั่น' และไม่สามารถอธิบายความหมายได้” คุณ สกินเนอร์ กล่าว

อุตสาหกรรมแฟชั่นมีส่วนในการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกมากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมันมหาศาล ผลกระทบนั้นยิ่งใหญ่กว่าที่ผู้คนคิดมาก
คุณเอริน สกินเนอร์ ผู้ทำการวิจัย

"ที่สุดแล้ว เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของผู้บริโภค ... ด้วยการชี้แจงสิ่งที่ชาวออสเตรเลียทั่วไปรู้หรือคิดเกี่ยวกับแฟชั่นที่ยั่งยืน เราจึงจะสามารถออกแบบแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมและเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่อสนับสนุน ‘สโลว์ แฟชั่น’ (slow fashion หรือแฟชั่นที่ใช้ได้นาน) ได้ดียิ่งขึ้น"

เมื่อพูดถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค การวิจัยพบว่าเหตุผลหลักที่นักชอปเลือกฟาสต์ แฟชั่น หรือแฟชั่นที่มาไว ไปไว คือราคา โดยแบรนด์ที่ยั่งยืนจำนวนมากมีราคาแพงกว่าแบรนด์ที่ผลิตสินค้าอย่างรวดเร็วครั้งละมากๆ

"อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุด (ที่เรา) พบคือปัญหาด้านต้นทุน ... ฉันคิดว่าเมื่อผู้บริโภคได้ยินคำว่า 'แฟชั่นที่ยั่งยืน' ความคิดของพวกเขาก็จะพุ่งไปที่แบรนด์สินค้าหรูหราที่ราคาแพงในทันที" คุณ สกินเนอร์กล่าว พร้อมเสริมว่า ขณะที่ค่าครองชีพในออสเตรเลียสูงขึ้น ผู้คนไม่มีเงินเหลือมากนักที่จะใช้ซื้อแฟชั่นทางเลือกอื่น
A man walks past a shop window containing several mannequins dressed in cheap fashionable clothes.
Advocates say legislation is needed to improve environmental practices in the fashion industry. Source: AAP
คุณแคเทอรีน เจีย ผู้สนับสนุน ‘สโลว์ แฟชั่น’ (slow fashion หรือแฟชั่นที่ใช้ได้นาน) และเป็นนักสร้างคอนเทนต์ (Content Creator) กล่าวว่า นักชอปที่ตามกระแสฟาสต์ แฟชั่น จำนวนมากรู้สึกกดดันให้ต้องตามให้ทันกับที่แบรนด์ต่างๆ โฆษณาในโซเชียลมีเดีย

“คนจำนวนมากไม่ใช่ผู้บริโภคที่มีจิตสำนึก” คุณแคเทอรีน เจีย กล่าว
ฟาสต์ แฟชั่น มักเป็นเรื่องเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ที่หรูหราและได้รับความพึงพอใจในทันที มีความกดดันมากมายจากสื่อ จากอินฟลูเอนเซอร์ (ผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีเดีย) จากแบรนด์ที่ปั่นเทรนด์อย่างต่อเนื่องและทำให้เรารู้สึกว่าเราต้องแต่งกายในสไตล์เช่นนั้น
คุณแคเทอรีน เจีย
เมื่อพูดถึงความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม คุณเจียกล่าวว่าในขณะที่บางคนไม่ตระหนักถึงปัญหาเรื่องนี้ แต่คนอื่นๆ ก็เลือกที่จะเพิกเฉยต่อปัญหาดังกล่าว

"ฉันคิดว่ามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราในฐานะผู้บริโภคเท่านั้น ... ฉันคิดว่าจำเป็นต้องมีกฎหมายที่เข้มงวดกว่านี้เพื่อให้แบรนด์ต้องแสดงความรับผิดชอบ" คุณเจีย กล่าว
จริงๆ แล้ว ฉันไม่อยากโทษผู้บริโภคเท่านั้นในเรื่องนี้ ฉันยังต้องการตำหนิแบรนด์และรัฐบาลด้วย
คุณแคเทอรีน เจีย
"ฉันคิดว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลงร่วมกันที่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม"

คุณนีนา กบอร์ นักให้การศึกษาด้านแฟชั่นที่ยั่งยืนและนักออกแบบเชิงนิเวศน์ ก็เห็นด้วยกับการออกกฎหมายสำหรับแนวปฏิบัติด้านแฟชั่น และบอกกับเอสบีเอส นิวส์ ว่าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติด้านการซื้อของผู้คนในออสเตรเลีย

“ความจริงก็คือว่ามันยากกว่ามาก (สำหรับแบรนด์แฟชั่นแนวยั่งยืน) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาไม่มีเงินทุนเท่ากับบริษัทแบรนด์ใหญ่ๆ เหล่านี้” คุณนีนา กบอร์ กล่าว
เราผู้บริโภคจำเป็นต้องสนับสนุนแบรนด์เหล่านี้ (แบรนด์แฟชั่นแนวยั่งยืน) และผลักดันให้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับความยั่งยืน ... นั่นคือส่วนที่ขาดหายไปของปริศนา
คุณนีนา กบอร์
"เราจำเป็นต้องผลักดันกฎหมายและนโยบายที่ทำให้แบรนด์ต้องรับผิดชอบต่อการปล่อยมลพิษหรือสารเคมีที่เป็นพิษ หรือสิ่งอื่นใดที่พวกเขาทำซึ่งสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และต้องมีข้อบังคับอย่างแท้จริงให้มีความโปร่งใส"

อุตสาหกรรมฟาสต์ แฟชั่น มีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจากการใช้น้ำและมลพิษที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้า รวมถึงการที่สิ่งทอสังเคราะห์จำนวนมากไปลงเอยที่หลุมฝังกลบขยะ

เปิดเผยว่า ออสเตรเลียมีอัตราการบริโภคสิ่งทอต่อคนสูงสุดเป็นอันดับสองของโลก โดยเฉลี่ยแล้วชาวออสเตรเลียซื้อเสื้อผ้าใหม่โดยเฉลี่ย 27 กก. ต่อปี และทิ้งเสื้อผ้า 23 กก. ลงในหลุมฝังกลบขยะในแต่ละปีโดยเฉลี่ย
———————————————————————————————————————————————
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Published 16 August 2022 12:31pm
Updated 16 August 2022 12:37pm
By Jessica Bahr
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand