บิดาสาวซาอุฯ ซึ่งต้องการขอลี้ภัยที่ออสเตรเลียเดินทางถึงกทม. แล้ว

NEWS: การมาเยือนของครอบครัวได้เกิดขึ้นขณะเดียวกันกับที่ออสเตรเลียกล่าวว่าจะพิจารณากรณีของ ราฮาฟ โมฮัมเมด อัล-คูนุน อย่างถี่ถ้วน

Image of Rahaf Mohammed Al-Qunun by AAP

นายฟิล โรเบิร์ตสัน จากกลุ่มเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า บิดาและพี่ชายของเธอนั้น เป็น “ญาติผู้ชายซึ่ง (นางสาวคูนุน) หวาดกลัวมากที่สุด” Source: AAP

You can read the full version of this story in English on SBS News .

บิดาและพี่ชายของหญิงสาวชาวซาอุดิอาระเบียซึ่งกำลังข้อลี้ภัยมายังประเทศออสเตรเลียได้เดินทางมาถึงกรุงเทพมหานครแล้วเมื่อวานนี้  (8 ม.ค.) โดยต้องการที่จะเยี่ยมเยือนสตรีวัย 18 ปีคนดังกล่าว

โดยที่ราฮาฟ โมฮัมเมด อัล-คูนุน ขณะนี้อยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ ซึ่งกล่าวว่าจะใช้เวลาประมาณห้าวันในการประเมินคำขอความช่วยเหลือของเธอ หลังจากที่เธอกล่าวว่าเธอนั้นหวาดกลัวว่าครอบครัวของเธอจะสังหารเธอถ้าหากว่าเธอถูกส่งกลับบ้าน
Rahaf Mohammed al-Qunun in Bangkok.
Rahaf Mohammed Alqunun has been found to be a refugee. Source: AAP
หัวหน้าการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทยนายสุรเชษฐ์ หักพาล กล่าวว่า บิดาและพี่ชายของเธอนั้นจำเป็นจะต้องรอคอยก่อนที่จะทราบว่าตัวแทนผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติจะอนุญาตให้พวกเขาเข้าพบหรือไม่

“บิดาและพี่ชายต้องการที่จะพูดคุยกับราฮาฟ แต่ทางสหประชาชาติจำเป็นจะต้องอนุมัติการสนทนาดังกล่าว” พล. ต. ท. สุรเชษฐ์ กล่าวกับผู้สื่อข่าว

รัฐบาลออสเตรเลียได้กล่าวเมื่อวานนี้ว่า จะพิจารณาคำขอลี้ภัยอย่างสิ้นหวังของหญิงสาวชาวซาอุฯ อายุ 18 ปีคนดังกล่าว ซึ่งเป็นกรณีที่เป็นที่สนใจของทั่วโลก

“รัฐบาลออสเตรเลียรู้สึกยินดีที่คำร้องขอความคุ้มครองของนางสาวราฮาฟ โมฮัมเมด อัล-คูนุน นั้นกำลังถูกประเมินโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์)” โฆษกของกระทรวงมหาดไทยคนหนึ่งกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“รัฐบาลฯ ได้ส่งตัวแทนไปยังรัฐบาลไทยและสำนักงานกรุงเทพมหานครของยูเอ็นเอชซีอาร์แล้ว เกี่ยวกับความวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อกรณีนี้ และในเรื่องความจำเป็นที่คำร้องของนางสาวอัล-คูนุนนั้นจะต้องได้รับการประเมินอย่างเร่งด่วน” โฆษกคนดังกล่าวเผย

“การยื่นขอวีซ่าด้านมนุษยธรรมของนางสาวอัล-คูนุนนั้นจะได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เมื่อกระบวนการของทางยูเอ็นเอชซีอาร์ได้เสร็จสิ้นลง”

“ไม่ว่าใครก็ตามจะมีวีซ่านักท่องเที่ยวหรือไม่ จะไม่มีผลต่อการประเมินนี้”

ในช่วงเช้าวานนี้ มีผู้สนับสนุนหญิงสาวชาวซาอุฯ วัย 18  ปีคนดังกล่าว ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อกล่าวว่าวีซ่าของเธอนั้นได้ถูกยกเลิกไปแล้ว

โดยเป็นการตอบโต้ ผู้อำนวยการของกลุ่มเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลีย นางอีเลน เพียร์สัน กล่าวกับหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนว่า “ถ้าหากว่าวีซ่าของเธอถูกยกเลิก นั่นก็จะน่าวิตกอย่างยิ่ง”

“เธอไม่ปลอดภัยที่ประเทศไทย ... ดิฉันไม่คิดว่าเธอจะปลอดภัยอย่างแท้จริงได้จนกว่าจะไปถึงประเทศที่สาม”

นางสาวอัลคูนุนถูกปล่อยตัวให้อยู่ในการดูแลของสหประชาชาติเมื่อเย็นวานนี้ หลังจากที่มีความขัดแย้งอย่างยาวนานกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองของไทย



เธอถูกกักตัวอยู่ในห้องโรงแรมแห่งหนึ่งที่กรุงเทพฯ หลังจากที่ถูกหยุดยั้งโดยเจ้าหน้าที่ทางการทูตของซาอุดิอาระเบีย ซึ่งอ้างว่าเธอนั้นไม่มีเอกสารที่ถูกต้อง

วุฒิสมาชิกของพรรคกรีนส์ นางสาวซาราห์ แฮนสัน-ยัง ได้เรียกร้องให้รัฐบาลออสเตรเลียลงมือ “อย่างรวดเร็ว” เพื่อพยายามให้แน่ใจว่า นางสาวอัลคูนุนนั้นจะได้เป็นผู้ลี้ภัยในประเทศออสเตรเลียในที่สุด

นางสาวแฮนสัน-ยังกล่าวว่า ออสเตรเลียควรจะให้ “สถานที่อันปลอดภัย” กับนางสาวอัลคูนุน เพื่อที่เธอจะได้ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศซึ่ง “เคารพสตรีและหญิงสาว”
คำเรียกร้องของวุฒิสมาชิกแฮนสัน-ยังนั้นเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลออสเตรเลียเปิดเผยว่า ได้ส่งตัวแทนไปยังรัฐบาลไทยในนามของนางสาวอัลคูนุน เพื่อช่วยให้แน่ใจว่าเธอนั้นสามารถเข้าถึงกระบวนการของผู้ลี้ภัยภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่สหประชาชาติได้

“คำกล่าวอ้างต่างๆ ของนางสาวอัลคูนุนว่าเธอจะเป็นอันตรายหากถูกส่งกลับไปยังซาอุดิอาระเบียนั้นเป็นที่น่าวิตกกังวลอย่างยิ่ง” โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าว

เรื่องในครอบครัว

ประเทศไทยนั้นไม่ได้ลงนามต่อสนธิสัญญาว่าด้วยผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติ และผู้ขอลี้ภัยนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกเนรเทศหรือต้องรอคอยเป็นเวลาหลายปีเพื่อที่จะได้รับการย้ายถิ่นฐานไปยังประเทศที่สาม

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติยืนกรานว่า ผู้ใดก็ตามซึ่งมีคำกล่าวอ้างขอลี้ภัย ไม่ควรจะถูกส่งกลับไปยังประเทศที่พวกเขาหลบหนีมา ภายใต้หลักการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปยังดินแดนหรือถิ่นที่ชีวิตและเสรีภาพของพวกเขาจะถูกคุกคาม (non-refoulement)

ในการแถลงต่อสื่ออย่างสั้นๆ ซึ่งได้รับการเผยแพร่ต่อสื่อมวลชนบริเวณด้านนอกสถานทูตที่กรุงเทพมหานครเมื่อวานนี้  รัฐบาลซาอุดิอาระเบียกล่าวว่า ทางรัฐบาลไม่ได้เรียกร้องให้มีการส่งตัวเธอกลับ โดยเสริมว่ากรณีดังกล่าวเป็น “เรื่องในครอบครัว” แต่ว่าก็อยู่ภายใต้ “การดูแลและควานสนใจ” ของทางสถานทูต

ในคำอธิบายแยกต่างหากก่อนหน้านี้ซึ่งเผยแพร่ทางทวิตเตอร์ ทางสถานทูตยังได้ปฏิเสธเรื่องการส่งเจ้าหน้าที่ไปยังสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อพบกับนางสาวอัลคุนูนในขณะที่เธอเดินทางมาถึง หรือในเรื่องการริบหนังสือเดินทางของเธอ -- ตามที่เธอได้กล่าวอ้าง

ทางสถานทูตยังกล่าวว่าได้ติดต่อกับบิดาของเธอ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสส่วนภูมิภาคในราชอาณาจักร “เพื่อแจ้งให้เขาทราบเกี่ยวกับสถานการณ์ของเธอ”

หัวหน้าด้านการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทย นายสุรเชษฐ์ หักพาล กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า บิดาและพี่ชายของนางสาวอัลคูนุนได้เดินทางมาถึงประเทศไทยแล้วเมื่อเช้าวานนี้

เขากล่าวว่า เขาจะเจรจากับตัวแทนผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่สมาชิกครอบครัวจะพบกัน

“นางสาวราฮาฟไม่ใช้กรณีผู้ขอลี้ภัยทางการเมือง” เขายืนยัน “มันไม่ใช่เรื่องการเมืองแต่อย่างใด”

เขาเสริมว่า รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย “เห็นชอบว่าควรมีการให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของราฮาฟเป็นอันดับแรก”

ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองได้เผยแพร่รูปถ่ายของนายสุรเชษฐ์และทีมงานซึ่งนั่งร่วมกับหัวหน้ากิจการของสถานทูตซาอุดิอาระเบีย นายอับดุลลาห์ โมฮามเม็ด อัลเชบี

นายฟิล โรเบิร์ตสัน จากกลุ่มเฝ้าระวังสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า บิดาและพี่ชายของเธอนั้น เป็น “ญาติผู้ชายซึ่ง (นางสาวคูนุน) หวาดกลัวมากที่สุด” และ “อาจทำร้ายร่างกายเธอในความพยายามที่จะบังคับให้เธอกลับไป” โดยเขาได้ติดต่อกับเธอตั้งแต่เธอเริ่มทำการส่งทวีตสดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

เขากล่าวว่า “เธอเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งได้หลบหนีกฎหมายการ ‘คุ้มครอง’(guardianship) อันกดขี่และแบ่งแยกของซาอุดิอาระเบีย และชายเหล่านี้จำเป็นต้องตระหนักว่ากฎต่างๆ ตอนนี้ไม่เหมือนเดิมแล้ว” โดยเสริมว่า มันจะเป็น “การตัดสินใจของเธอเพียงคนเดียวเท่านั้น” ว่าจะพบกับพวกเขาหรือไม่

นางสาวคูนุนได้กล่าวไว้ว่า เธอเชื่อว่าจะถูกกุมขังหรือสังหารหากถูกส่งกลับ และครอบครัวของเธอนั้นก็เข้มงวดมาก โดยพวกเขาได้เคยล็อกเธอไว้ในห้องเป็นเวลาหกเดือนเนื่องจากเธอตัดผม

มีการลงรายชื่อบนเว็บไซต์ Change.org เพื่อให้มีการให้นางสาวคูนุนนั้นลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษ ซึ่งจนถึงขณะนี้ก็มีผู้ลงนามกว่า 80,000 รายมือชื่อแล้ว
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 9 January 2019 12:21pm
Updated 18 January 2019 10:41am
By Riley Morgan
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News, AAP, Twitter


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand