ผู้อพยพใหม่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดจากเหตุเพลิงไหม้

NEWS: เทศบาลเขตแคนเตอร์เบอรี-แบงส์ทาวน์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ พบว่าจำนวนประชากรที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ในระดับสูงที่นั่น สัมพันธ์กันกับการที่ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันอัคคีภัยในระดับต่ำ

เครื่องตรวจจับควันไฟเมื่อเกิดเพลิงไหม้ภายในบ้าน (Flickr)

เครื่องตรวจจับควันไฟเมื่อเกิดเพลิงไหม้ภายในบ้าน Source: Flickr

You can read the full article in English

สมาชิกสภาเทศบาลท้องถิ่นผู้หนึ่ง มุ่งมั่นจะปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยจากเพลิงไหม้ในชุมชนหลากวัฒนธรรมทางตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ หลังการสำรวจล่าสุดพบร้อยละ 80 ของบ้านในพื้นที่ดังกล่าวไม่มีอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ (smoke alarm)

ในพื้นที่ของ นายจอร์จ ซาเคีย สมาชิกสภาเทศบาลในเขตแคนเตอร์เบอรี-แบงส์ทาวน์ (Canterbury-Bankstown) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ มีประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวกว่าร้อยละ 40 ที่เกิดในต่างประเทศ และ 1 ใน 4 ของประชาชนเหล่านั้นพูดภาษาอังกฤษไม่ได้

คุณซาเคีย กล่าวว่าเขารู้สึกตกใจเมื่อผลการสำรวจนิรนามโครงการหนึ่งชี้ว่า บ้าน 8 หลังในทุกๆ 10 ในย่านลาเคมบา (Lakemba) ไม่มีอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟที่ทำงานได้ตามปกติ

“มีการสำรวจนิรนามที่ทำภายในเทศบาลของเรา คือเขตลาเคมบา ที่เชื่อว่าราวร้อยละ 80 ของทั้งเขต พวกเขาไม่มีอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ หรือมี แต่มันไม่ทำงาน” คุณซาเคีย เผย

“นี่เป็นอุปสรรคที่เรามี ซึ่งเราจำเป็นต้องให้ความกระจ่าง โดยเฉพาะให้ข้อมูลเป็นภาษาต่างๆ แม้แต่ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่เป็นภาษาต่างๆ เพื่อช่วยกระจายข้อมูลออกไป และบอกว่าเราคอยช่วยเหลือคุณอยู่ ความจริงแล้วนี่เป็นภาระผูกพันที่ผู้ให้เช่าบ้านต้องปฏิบัติตาม และเราอยู่ตรงนี้เพื่อช่วยเหลือคุณ”

คุณซาเคีย สมาชิกสภาเทศบาลผู้นี้ รู้ดีว่าไม่ใช่เหตุบังเอิญ ที่มีความเชื่อมโยงกันระหว่างจำนวนผู้ที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ในเขตของเขาที่มีอัตราสูงมาก กับระดับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยที่อยู่ในระดับต่ำ
smoke alarm, daylight savings end, brooks
อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ เป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณรอดชีวิตได้หากเกิดเพลิงไหม้ในบ้านของคุณ (Youtube) Source: YouTube
“เรามีผู้ย้ายถิ่นฐานจำนวนมาก และในต่างประเทศพวกเขาใช้แหล่งความร้อนที่แตกต่างจากสิ่งที่เราใช้ในประเทศนี้”

“ความจริงแล้ว บางคนใช้ถ่าน ใช้กันภายในบ้านเลย เพื่อให้ความอบอุ่น ซึ่งนั่นเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่รอการระเบิด ซึ่งนี่ทำให้ผมเกิดความมุ่งมั่นขึ้นมา” คุณซาเคีย ยกตัวอย่าง

ด้านหน่วยดับเพลิง เมลเบิร์น เมโทรโปลิแทน ไฟร์ บริเกด (Melbourne Metropolitan Fir Brigade) ที่ดูแลเหตุเพลิงไหม้ในพื้นที่นครเมลเบิร์นและปริมณฑล ไม่แปลกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในเขตลาเคมบา

เมลเบิร์น เมโทรโปลิแทน ไฟร์ บริเกด ดำเนินโครงการที่ใช้ชื่อว่าโครงการ ‘เฟลมส์ ฟอร์ ทีนส์’ (Flames for Teens) ซึ่งสอนให้วัยรุ่นที่เพิ่งย้ายมาอยู่ใหม่ในเมลเบิร์นได้เรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันเพลิงไหม้ผ่านการเรียนในโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ

คุณมาร์ก โครว์ เป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและยังเจ้าหน้าที่ประสานงานชุมชนหลากวัฒนธรรม ที่สอนในโครงการ กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มต้นขึ้นหลังจากได้มีการระบุชี้ว่ากลุ่มผู้อพยพย้ายถิ่นที่เพิ่งมาอยู่ใหม่เป็นหนึ่งในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะได้รับอันตรายจากเพลิงไหม้

หลังจากดำเนินโครงการมานาน 15 ปี คุณโครว์ และทีมของเขามีหลักฐานหนักแน่นที่ชี้ว่าโครงการของเขานั้นบรรลุวัตถุประสงค์

“เรามีการสำรวจก่อนและหลังจากเข้าโครงการของนักเรียนโดยสุ่มทำการสำรวจ แต่สิ่งที่เราพบคือพวกเขาไม่รู้ว่าจะต้องโทรหาทริปเปิลซีโร (หมายเลข 000) ซึ่งก็เข้าใจได้จากที่ที่พวกเขาจากมา พวกเขาไม่รู้ เราก็สอนพวกเขา เราสอนเรื่องแผนในการหลบหนีออกจากบ้านเมื่อเกิดเพลิงไหม้ และสอนเรื่องอุปกรณ์ตรวจจับควัน (smoke alarm) ซึ่งเรื่องอุปกรณ์ตรวจจับควันเป็นสารสำคัญที่เรามุ่งเน้นในการสอนของเรา” คุณโครว์ อธิบาย

เช่นเดียวกันกับคุณซาเคีย สมาชิกสภาเทศบาลท้องถิ่นในซิดนีย์ คุณโครว์ กล่าวว่า สารหนึ่งที่ยากที่จะทำให้บรรดาผู้เช่าบ้านตระหนักไว้เสมอคือ พวกเขามีสิทธิที่จะอยู่ในบ้านเช่าหรือห้องเช่าที่มีอุปกรณ์ตรวจจับควันที่ทำงานได้ตามปกติ

“คนจำนวนมากในออสเตรเลียไม่แน่ใจเรื่องกฎหมายข้อนี้ และไม่เข้าใจว่านี่เป็นความรับผิดชอบของเจ้าของบ้านเช่า ที่จะต้องจัดหาอุปกรณ์ตรวจจับควันและบำรุงรักษาให้มันทำงานได้ตามปกติ”

“โดยทั่วไปแล้ว ผู้ย้ายถิ่นจำนวนมากในออสเตรเลีย ไม่เข้าใจ ไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ และไม่รู้สิทธิของตน เมื่อพวกเขาตรวจสอบอุปกรณ์ตรวจจับควันหรือตระหนักว่าไม่มีอุปกรณ์ตรวจจับควันติดตั้งอยู่ในบ้าน นั่นเป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้านเช่า ที่จะต้องจัดหาและทำให้อุปกรณ์ทำงานได้สำหรับผู้เช่า”
Installing and maintaining smoke alarms is a number one priority for local fire brigades working with at-risk communities.
Installing and maintaining smoke alarms is a number one priority for local fire brigades working with at-risk communities. Source: AAP
ในรัฐนิวเซาท์เวลส์นั้น การติดตั้งและการบำรุงรักษาอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟยังเป็นวาระสำคัญที่ต้องทำอันดับหนึ่งสำหรับหน่วยงานด้านอัคคีภัยท้องถิ่น ในชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงด้วย

นายไมเคิล มอร์ริส ผู้กำกับการของบริการไฟร์แอนด์เรสคู (Fire and Rescue) ที่ดูแลด้านอัคคีภัยและการกู้ภัย กล่าวว่า หน่วยของเขานั้นได้ดำเนินโครงการชื่อโฮม เซฟตี้ เช็คส์ หรือการตรวจความปลอดภัยเพลิงไหม้ในบ้านมาหลายปีแล้ว โดยเจาะกลุ่มชุมชนที่มีความเสี่ยงสูงอย่างชุมชนของคุณซาเคีย ซึ่งวัฒนธรรมและภาษาอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงภัย

“บ่อยครั้งที่ ผู้อพยพใหม่อาจรู้สึกกลุ่มเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบ และคิดว่าบริการไฟร์แอนด์เรสคู (บริการดับเพลิงและกู้ภัย) นั้นเก็บค่าบริการ เราจำเป็นต้องแจ้งให้ทราบชัดเจนว่า เรามาเพื่อช่วยเหลือ เราไม่คิดค่าบริการใดๆ สำหรับการไปช่วยดับไฟ เพื่อที่จะได้ไม่มีอุปสรรคใดในการที่คุณจะโทรศัพท์ไปยังสถานีดับเพลิงใกล้บ้านของคุณ หรือโทรไปยังหมายเลข 000 หากคุณมีเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับไฟไหม้” คุณมอร์ริส แนะนำ

ในรัฐนิวเซาท์เวลส์นั้นมีการเสียชีวิตราว 21 รายทุกปี อันเป็นผลมาจากเหตุเพลิงไหม้บ้าน แต่คุณมอร์ริส ผู้กำกับการของบริการไฟร์แอนด์เรสคู กล่าวว่า ครึ่งหนึ่งของการเสียชีวิตเหล่านั้นอาจป้องกันได้หากบ้านที่เกิดเพลิงไหม้มีอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟที่ทำงานตามปกติ

“มีบ้านเพียง 1 ใน 3 หลังเท่านั้นที่ทดสอบเครื่องตรวจจับควันไฟในบ้านเป็นประจำ และโชคร้ายที่เครื่องตรวจจับควันไฟอาจได้รับผลกระทบจากฝุ่นที่จับและจากอายุของเครื่อง หรืออื่นๆ และอุปกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 10 ปี” คุณมอร์ริส ย้ำ

“มีเพียงอุปกรณ์ตรวจจับควันเท่านั้นที่จะเพิ่มโอกาสที่คุณจะรอดชีวิตเมื่อคุณเกิดไฟไหม้ในบ้าน และโชคร้ายที่สภาพแวดล้อมในบ้านสมัยใหม่ เหตุไฟไหม้เล็กๆ อาจเกิดขึ้นและเพียงแค่ไม่กี่นาทีบ้านของคุณทั้งหลังก็จะเต็มไปด้วยควันไฟที่อันตรายถึงตาย”

ที่เว็บไซต์ของบริการไฟร์แอนด์เรสคู (บริการดับเพลิงและกู้ภัย) มีข้อมูลเรื่องความปลอดภัยด้านอัคคีภัยเป็นภาษาต่างๆ 30 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย ซึ่งสามารถอ่านได้จากที่

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 4 March 2019 2:52pm
Updated 4 March 2019 3:14pm
By Claudia Farhart
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand