รัฐบาลหนุน 'แฟร์เวิร์ก' ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคลายวิกฤตค่าครองชีพ

รัฐบาลสหพันธรัฐเรียกร้องคณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์ก (Fair Work Commission) เพื่อทำให้แน่ใจว่าอัตราค่าจ้างคนทำงานรับค่าแรงขั้นต่ำไม่ถอยร่นลงไป

Workers at a restaurant in Brisbane.

Workers at a restaurant in Brisbane. Source: AAP

เมื่อบ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมา (3 มิ.ย.) รัฐบาลสหพันธ์รัฐออสเตรเลียได้เสนอเอกสารจำนวน 6 หน้าต่อคณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์ก ขณะที่คณะกรรมาธิการกำลังทบทวนอัตราค่าแรงขั้นต่ำที่ควรปรับขึ้นให้มากกว่าอัตราปัจจุบันที่ $20.33 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง

สืบเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อซึ่งเพิ่มสูงสุดในรอบ 2 ทศวรรษ นายโทนี เบิร์ก (Tony Burke) รัฐมนตรีด้านการจ้างงาน กล่าวว่า รัฐบาลมีความยินดีที่จะต่อสู้เพื่ออัตราค่าแรงที่ดีขึ้นสำหรับคนทำงาน

“การทำให้ค่าแรงต่ำลงไม่ใช่จุดยืนของรัฐบาลออสเตรเลียอีกต่อไป เราต้องการทำให้แน่ใจว่าอัตราค่าจ้างมีความคืบหน้า และขั้นตอนแรกของสิ่งนั้นดำเนินการแล้วในวันนี้” นายเบิร์ก กล่าวกับผู้สื่อข่าวในนครซิดนีย์

“เราได้ทำให้ชัดเจนต่อคณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์กแล้วในการทบทวนอัตราค่าจ้างรายปีว่า จุดยืนของรัฐบาลคือเราไม่ต้องการให้ค่าจ้างของคนทำงานรายได้ต่ำถอยร่นลงไป”

แม้ข้อเสนอของรัฐบาลจะไม่ได้รวมถึงตัวเลขที่ระบุว่าค่าจ้างขั้นต่ำควรปรับขึ้นเท่าใด แต่อัตราดัชนีผู้บริโภคได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.1 ซึ่งสูงกว่าอัตราเติบโตค่าจ้างร้อยละ 2.7

ส่วนหนึ่งในข้อเสนอจากรัฐบาลที่เสนอต่อคณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์ก ระบุว่า: “ในการตัดสินใจในเรื่องอัตราค่าจ้างปีนี้ รัฐบาลแนะนำให้คณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์กทำให้แน่ใจว่าอัตราค่าจ้างที่แท้จริงของคนทำงานรายได้ต่ำในออสเตรเลียไม่ถอยหลังลงไป”

“อัตราเงินเฟ้อที่สูงและเพิ่มขึ้นและการเติบโตค่าจ้างที่อ่อนแอ กำลังทำให้ค่าจ้างที่แท้จริงลดลงไปทั่วทั้งระบบเศรษฐกิจ และสร้างแรงกดดันในอัตราค่าครองชีพสำหรับคนทำงานรายได้ต่ำ”

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ได้แนะนำว่า อัตราค่าจ้างควรเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ

“สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจในตอนนี้มีความผิดปกติและท้าทายเป็นอย่างมาก และข้อเสนอของรัฐบาลเกี่ยวข้องเฉพาะในส่วนของอัตราค่าจ้างสำหรับคนทำงานรายได้ต่ำ และในบริบทของเศรษฐศาสตร์มหภาค” ข้อเสนอของรัฐบาลระบุ

“การรักษามาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของคนทำงานรายได้ต่ำไม่ได้คาดหวังว่าจะมีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญของการจ้างงาน”

ในข้อเสนอฉบับดังกล่าว รัฐบาลระบุว่า ที่ผ่านมาคณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์กได้ปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำจาก 9 ใน 10 ปีที่ผ่านมาโดยสอดคล้อง สูงกว่า หรือต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ

แอนโทนี อัลบานิซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย กล่าวในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งว่า เขาจะสนับสนุน “อย่างเต็มที่” เพื่อให้เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นไปในอัตราร้อยละ 5.1

ด้านนายเบิร์ก รัฐมนตรีการจ้างงาน กล่าวว่า ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้กำหนดเฉพาะในส่วนของค่าแรงขั้นต่ำ แต่ยังหมายถึงคนทำงานค่าแรงต่ำอีกด้วย

“พวกเขาส่วนมากเป็นฮีโร่ในการแพร่ระบาดใหญ่นี้ ... เรากำลังพูดถึงผู้คนที่ได้รับค่าจ้างตามเกณฑ์ตามสาขาชีพ (award) ซึ่งอัตราค่าจ้างใกล้เคียงกับค่าแรงขั้นต่ำเช่นกัน” นายเบิร์ก กล่าว

“เราไม่ต้องการให้ใครถอยหลังลงไป แต่มันมีความสำคัญพิเศษสำหรับคนทำงานค่าแรงต่ำในตอนนี้”

การยื่นเสนอของรัฐบาลยังระบุอีกว่า แรงกดดันต่อค่าครองชีพในปัจจุบันจะส่งผลกระทบอย่างไม่สมส่วนต่อคนทำงานค่าแรงต่ำ

สภาสหภาพแรงงานออสเตรเลีย (ACTU) ได้ยื่นข้อเสนอใหม่ต่อคณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์ก หลังรัฐบาลได้แสดงจุดยืนในส่วนของค่าแรงขั้นต่ำ โดยสหภาพ ฯ ได้แถลงก่อนหน้านี้ว่าจะสนับสนุนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากเดิมขึ้นไปอีกร้อยละ 5.5

แซลลี แม็กมานัส (Sally McManus) เลขาธิการสภาสหภาพแรงงานออสเตรเลีย (ACTU) กล่าวว่า เธอต้อนรับข้อเสนอของรัฐบาล

“มันคือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการมีรัฐบาลที่ยอมรับว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการเติบโตของค่าจ้างในประเทศนี้ และมีความยินดีที่จะทำอะไรสักอย่างกับมัน” นางแม็กมานัส กล่าว

“ส่วนแบ่งรายได้ระดับชาติของคนทำงานในตอนนี้อยู่ในระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ ขณะที่อัตราผลิตผลนั้นแข็งแรง และผลกำไรก็สูงเป็นประวัติการณ์

คาดว่าคณะกรรรมาธิการแฟร์เวิร์กจะมีมติเกี่ยวกับการปรับค่าแรงขั้นต่ำภายในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้


 

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

ไซราถูกสามีทำร้าย แต่ตำรวจเชื่อว่าเธอเป็นผู้ก่อเหตุ


Share
Published 6 June 2022 2:13pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand