ของ 5 ประเภทที่ไม่ควรทิ้งลงถังขยะรีไซเคิล

คิดสักนิดก่อนทิ้ง ขยะรีไซเคิลบางชนิดอาจสร้างผลเสียมากกว่าผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและกระบวนการรีไซเคิล

"ของเหล่านี้มักมีหลายคนทิ้งลงไปในถังขยะรีไซเคิล ทั้งๆ ที่มันไม่ควรอยู่ในนั้น" นักวิจัยบอกกับเอสบีเอสนิวส์

"ถ้าสงสัย อย่าทิ้งลงถัง" นี่เป็นคำแนะนำในการทิ้งขยะรีไซเคิลโดยกลุ่มเพื่อสิ่งแวดล้อม Planet Ark หนึ่งในงานวิจัยที่ผ่านมาของพวกเขาพบว่า ขณะที่ชาวออสเตรเลียร้อยละ 90 เชื่อว่าการรีไซเคิลเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ก็ยังมีความเข้าใจผิดระหว่างของที่รีไซเคิลได้และไม่ได้

"การทิ้งขยะที่ไม่ควรทิ้งลงถัง อาจทำลายเจตนาดีในการรีไซเคิลของคุณ" ส่วนหนึ่งในงานวิจัยระบุ

เอสบีเอสนิวส์ได้พูดคุยกับคุณแคลร์ เบล (Claire Bell) ผู้ประสานงานอาวุโสของ Planet Ark เกี่ยวกับการรีไซเคิลของชาวออสเตรเลีย ซึ่งบางครั้งก็ทำไม่ถูกต้อง เธอบอกว่า การปะปนของสิ่งที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้กำลังเป็น "ปัญหาใหญ่"

"โรงงานคัดแยกขยะส่วนใหญ่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อจุดประสงค์ในการแปรรูป และคัดแยกวัสดุต่างๆ โดยทั่วไปก็เป็นพวกบรรจุภัณฑ์พลาสติก โลหะ ขวดแก้ว โหลแก้ว กระดาษ และกระดาษลัง" คุณแคลร์กล่าว

เทคโนโลยีที่มีการใช้งานอยู่นั้น ถูกออกแบบให้คัดแยกวัสดุเหล่านี้โดยเฉพาะเจาะจง อะไรที่นอกเหนือจากนี้จะสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์ เป็นอันตราย และทำให้วัสดุที่ถูกคัดแยกแล้วปะปนไปด้วยวัสดุอื่นๆ

ทั้งนี้ ผู้รับวัสดุที่คัดแยกไปรีไซเคิลมีระดับการตรวจรับวัสดุที่มีสิ่งอื่นปะปน และถ้ามันถูกปะปนไปด้วยสิ่งที่รีไซเคิลไม่ได้ ก็จะไม่ได้รับการนำไปรีไซเคิล และถูกนำไปฝังกลบ

จากเรื่องดังกล่าว นี่คือสิ่งที่คุณแคลร์ระบุว่าเป็น 5 อันดับสิ่งของที่ถูกนำไปรีไซเคิลอย่างเข้าใจผิด

ถุงพลาสติก

ถุงพลาสติก และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอ่อนอื่นๆ ไม่ควรถูกทิ้งลงไปในถังขยะรีไซเคิลของคุณ (บางสภาเมืองที่ท่านอาศัยอาจรับขยะประเภทนี้)

แล้วถ้าถุงพลาสติกเพียงสองสามใบล่ะ จะเป็นอะไรมั้ย?
Five things you shouldn't be recycling
ถุงพลาสติก (Source: Getty) Source: Getty Images
"เป็น เพราะโรงงานคัดแยกขยะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรับถุงพลาสติก มันจะเข้าไปติดในเครื่องจักร และทำให้มันหยุดทำงาน แต่ถ้าคุณทิ้งถุงพลาสติกที่รีไซเคิลได้ พนักงานจะคัดมันออกด้วยมือ และมันจะไปอยู่กับขยะทั่วไป"​ คุณแคลร์ระบุ

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า พลาสติกทุกชนิดควรไปอยู่ในขยะทั่วไป ถุงพลาสติก และบรรจุภัณฑ์พลาสติกอ่อนแบบอื่นๆ เช่น ถุงขนมปัง และเปลือกลูกอม สามารถนำไปรีไซเคิลได้ในถังขยะ ที่อยู่ตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป

เครื่องถ้วยชาม และเครื่องแก้ว

แก้ว จานชาม หรือเครื่องครัวสำหรับเตาอบที่แตกร้าว แม้ดูเหมือนจะรีไซเคิลได้ แต่อันที่จริงนั้นไม่ใช่
Five things you shouldn't be recycling
เครื่องแก้วต่างๆ จะหลอมละลายในช่วงอุณหภูมิที่ต่างกัน (Source: Getty) Source: Getty Images
"เครื่องแก้วนั้นหลอมละลายในระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ขวดแก้วไปจนถึงขวดโหล และมันจะปนไปกับวัสดุอื่นๆ ส่วนถ้วยชามนั้น ปัจจุบันยังไม่สามารถแปรรูปและรีไซเคิลได้ และมันจะไปปนกับวัสดุรีไซเคิลได้เช่นกัน

ขยะอิเล็คทรอนิกส์ (E-Waste)

แบตเตอรี่ โทรศัพท์มือถือ และตลับหมึกสำหรับเครื่องพิมพ์ ไม่เพียงแต่จะปะปนกับวัสดุอื่นๆ แต่มันยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพนักงานในโรงงานคัดแยกขยะอีกด้วย
Batteries.
Source: Getty
อย่างไรก็ตาม ขยะประเภทนี้สามารถรีไซเคิลได้ผ่านโครงการของหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น หรือจุดรับรีไซเคิลแบตเตอรี่ต่างๆ

โฟม (พอลิสไตรีน)

A polystyrene foam bowl.
Source: Getty
แม้จะมีบางสภาเมืองที่สามารถรับขยะเหล่านี้ได้ แต่วัสดุที่ทำจาพอลีสไตรีน เช่น ถ้วยหรือแก้วโฟม ไม่ควรที่จะถูกทิ้งลงไปในขยะรีไซเคิลของคุณ

"โรงงานคัดแยกขยะไม่มีเครื่องมือที่จะจัดการกับวัสดุประเภทนี้ มันสามารถเข้าไปปะปนกับวัสดุรีไซเคิลประเภทกระดาษ เม็ดโฟมพอลีสไตรีนนั้นมีขนาดเล็กเกินไปที่จะแปรรูป และสามารถเข้าไปปนกับวัสดุรีไซเคิลอื่นๆ" คุณแคลร์ ระบุ

ผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูป

คุณแคลร์บอกกับเอสบีเอสนิวส์ว่า "พบจำนวนที่น่าประหลาดใจของผ้าอ้อมเด็กสำเร็จรูป​ที่ถูกทิ้งลงไปในถังขยะรีไซเคิล พวกมันไม่สามารถถูกแปรรูปได้ และเป็นวัสดุที่อันตราย อะไรก็ตามที่ทำจากวัสดุผสม (Composite Material) อย่างเช่น กระบอกมันฝรั่งกรอบพริงเกิลส์ เทคโนโลยีการคัดแยกขยะที่มีอยู่นั้นไม่สามารถย่อยพวกมันให้เป็นวัสดุที่พวกมันถูกประกอบขึ้นมาได้"

คุณสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรีไซเคิลได้ที่ and

Share
Published 11 June 2018 11:22am
Updated 11 June 2018 12:11pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand