ไรเดอร์อ้างถูกไล่ออก หลังเป็นห่วงความปลอดภัยในการทำงานช่วงโควิด

สหภาพแรงงานขนส่งออสฯ เดินหน้าดำเนินคดีทางกฎหมายให้ไรเดอร์ส่งอาหารถูกแอปฯ สั่งอาหารรายใหญ่กล่าวหา-ไล่ออก หลังชูประเด็นเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน เลขาสหภาพฯ ชี้รัฐควรมีหน่วยงานเฉพาะทางกำกับดูแล

Delivery drivers are seen in Melbourne, Tuesday, June 1, 2021. Victoria has recorded three new additional cases of coronavirus in the past 24 hours. (AAP Image/James Ross) NO ARCHIVING

Delivery drivers are seen in Melbourne Source: AAP

ประเด็นสำคัญ

  • นายลอวเรนซ์ ดู (Laurence Du) พนักงานขับขี่ส่งอาหารตามบ้านให้กับแอปพลิเคชัน ‘อีซี (EASI)’ ถูกไล่ออกกะทันหัน หลังชูประเด็นกังวลเรื่องความปลอดภัยในการทำงานกับพนักงานคนอื่น ๆ และถูกกล่าวหาว่า “เป็นคนหลอกลวงฉ้อฉล”
  • สหภาพแรงงานขนส่ง (TWU) ไม่นิ่งนอนใจ เดินหน้ากระบวนการทางกฎหมายร่วมกับแฟร์เวิร์ก ในนามพนักงานคนดังกล่าว
  • ผลสำรวจโดยสหภาพฯ พบคนทำงานแอปฯ ดังกล่าวได้ค่าแรงไม่ถึง $15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง พนักงาน 1 ใน 3 บาดเจ็บระหว่างทำงาน แต่ไม่ได้รับการชดเชย เลขาธิการสหภาพฯ ชี้รัฐควรมีหน่วยงานเฉพาะทางกำกับดูแล

สหภาพแรงงานขนส่ง (The Transport Workers’ Union) ระบุว่า ได้เริ่มต้นกระบวนการทางกฎหมาย ในนามของพนักงานส่งอาหารตามบ้านที่ถูกไล่ออกจากแพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน “อีซี (EASI)” หลังแสดงความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานร่วมกับพนักงานคนอื่น ๆ

สหภาพฯ ระบุเมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) ว่าได้เริ่มต้นกระบวนการดังกล่าวร่วมกับคณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์ก (Fair Work Commission) ในกรณีการถูกยุติการจ้างงาน นายลอวเรนซ์ ดู (Laurence Du) จากแพลตฟอร์มดังกล่าว โดยอ้างว่า นายดู ถูกไล่ออกเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หลังทำงานให้กับแอปพลิเคชันนี้เป็นระยะเวลา 2 เดือน และเชิญชวนให้พนักงานคนอื่น ๆ ร่วมชูประเด็นความกังวลในเรื่องความปลอดภัย รวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงาน

“หลังจากที่นายลอวเรนซ์พูดคุยกับเพื่อนคนขับขี่ส่งอาหารคนอื่น ๆ ฝ่ายบริหารของ EASI ได้กล่าวขานว่า นายลอวเรนซ์เป็น คนหลอกลวง และอธิบายข้อความที่นายลอวเรนซ์ส่งไปยังผู้ขับขี่คนอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยว่าเป็น เรื่องหลอกลวงสหภาพแรงงานขนส่ง ระบุในแถลงการณ์

นายดู อ้างว่า เขารู้สึกตกใจกับการปฏิบัติทางธุรกิจของแอปพลิเคชันอีซี นับตั้งแต่เริ่มงานกับบริษัทดังกล่าว  

“บริษัทนี้จ่ายค่าแรงให้คนขับขี่ส่งอาหารน้อยกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด ไม่ให้ความปลอดภัยกับคนทำงาน กลั่นแกล้ง และไล่ใครก็ตามที่หยิบยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาให้ต้องออกจากงาน” นายดู กล่าว

“เมื่อผมพยายามพูดคุยกับพนักงานคนอื่น ๆ และสหภาพแรงงานขนส่งถึงประเด็นเหล่านี้ บริษัทแอปฯ นี้ เรียกผมว่าเป็นพวกหลอกลวง และผมก็ถูกไล่ออกในทันที”

เอสบีเอส ได้ติดต่อไปยังบริษัทอีซี เพื่อขอความเห็นในประเด็นดังกล่าว แต่ยังไม่ได้รับการตอบรับใด ๆ

นายไมเคิล เคน (Michael Kaine) เลขาธิการสหภาพแรงงานขนส่ง กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวได้พิสูจน์ว่า รัฐบาลสหพันธรัฐควรมีการกำกับดูแลบรรดาธุรกิจกิ๊ก อิโคโนมี (Gig economy)

"เมื่อบริษัทสามารถไล่พนักงานออกได้อยู่ฝ่ายเดียว เพียงเพราะพวกเขายืนหยัดเพื่อความปลอดภัย คุณรู้แล้วว่ามีสิ่งผิดปกติเชิงรากฐานในกฎหมายอุตสาหกรรมของเรา" นายเคน กล่าว

“ผู้ขับขี่ส่งอาหารต้องการหน่วยงานกำกับดูแลอิสระ เพื่อกำหนดและบังคับใช้ข้อกำหนดเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำ และมาตรฐานความปลอดภัย และทำให้บริษัทอย่างอีซีต้องเป็นผู้รับผิดชอบในความประพฤติอันมิชอบนี้”

บริษัทอีซี (EASI) ระบุว่า ตนถือครองส่วนแบ่งการตลาดผู้ใช้งานแอปพลิเคชันที่เป็นชาวเอเชียมากที่สุด ในแวดวงการส่งอาหารตามบ้านในออสเตรเลีย

ขณะที่สหภาพแรงงานขนส่ง ระบุว่า ผู้ขับขี่ส่งอาหารให้กับแอปพลิเคชันดังกล่าวจะต้องจ่ายเงิน $400 ดอลลาร์ก่อนเริ่มงานกับบริษัทนี้ และอ้างว่า ผู้ขับขี่สามารถถูกยุติการจ้างงาน หากบริษัทพบว่าทำงานให้กับแอปพลิเคชันส่งอาหารรายอื่น และจะต้องปฏิบัติงานตามตารางงานที่เข้มงวด ซึ่งรวมถึงการกำหนดเวลา จะสามารถพักรับประทานอาหารเที่ยงและอาหารค่ำได้เมื่อใด

ผลสำรวจล่าสุดซึ่งจัดทำโดยสหภาพฯ ที่ได้สอบถามพนักงานขับขี่ส่งอาหารให้กับแอปพลิเคชันอีซี พบว่า พนักงานที่ตอบแบบสำรวจ 1 ใน 3 ได้รับบาดเจ็บระหว่างปฏิบัติงาน และไม่มีคนใดที่ได้รับความช่วยทางการเงินหรือการชดเชยใด ๆ  

นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบอีกว่า ร้อยละ 40 ของผู้ตอบแบบสอบถามนี้รายงานว่า รายได้ที่พวกเขารับในรายสัปดาห์น้อยกว่า $15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ซึ่งต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด $20.33 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง หรือ $772.60 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2021

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์ก (Fair Work Commission) พบว่า ไม่ใช่พนักงานสัญญาจ้าง ซึ่งจะต้องมีการจ่ายค่าจ้างตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่ระบุไว้สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ตามกฎหมาย (award rate) รวมถึงค่าตอบแทนเมื่อลาป่วยหรือลาหยุด และความปกป้องจากการถูกยุติการจ้างงาน

โดยเดลิเวอร์รู ได้ระบุผ่านแถลงการณ์ในเวลานั้นว่า มีแผนที่จะยื่นอุทธรณ์ในเรื่องนี้  


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 25 August 2021 11:49am
Updated 10 September 2021 8:26pm
By Naveen Razik
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand