ผู้เชี่ยวชาญผังเมืองเชื่อให้ผู้อพยพไปอยู่ชนบทแก้ปัญหาเมืองแน่นได้ไม่มาก

NEWS: ผู้เชี่ยวชาญผังเมืองและสิ่งแวดล้อมเชื่อว่า นโยบายให้ผู้อพยพย้ายถิ่นไปอาศัยในชนบทแก้ปัญหาประชากรหนาแน่นในหัวเมืองได้ไม่มาก เผยรัฐผลักภาระตัดสินใจให้ภาคเอกชนมากไปจนเกิดปัญหา

Forcing migrants to regional areas to relieve city congestion 'will have little impact'

Source: AAP

You can also read the full version of this story on SBS News .

ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองของออสเตรเลียเชื่อว่า การปฏิรูปวีซ่าที่จะให้ผู้อพยพย้ายถิ่นใหม่บางส่วนต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปีในพื้นที่ชนบทของออสเตรเลียนั้น สามารถแก้ปัญความหนาแน่นของประชากรในเมืองใหญ่ได้เพียงน้อยนิด

ก่อนหน้านี้ นายอลัน ทัดจ์ รัฐมนตรีด้านเมืองและประชากรของออสเตรเลียได้กล่าวว่า การอพยพย้ายถิ่นฐานจากต่างประเทศเป็นส่วนสำคัญของการเติบโตของประชากรในออสเตรเลีย โดยการชักจูงให้ผู้คนเหล่านั้นบางส่วยไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทนั้นจะสามารถลดความหนาแน่นของประชากรในเมืองใหญ่ อย่างนครซิดนีย์ และเมลเบิร์นได้

“อัตราการอพยพย้ายถิ่นฐานทั้งหมดจากต่างประเทศนั้น คิดเป็นร้อยละ 60 ของการเติบโตของประชากรทั้งหมด และราวร้อยละ 75 ของการเติบโตของประชากรทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ๆ” นายทัดจ์กล่าว เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (9 ต.ค.)

แต่ทว่า ศาสตราจารย์ไมเคิล บักซ์ตัน ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านสิ่งแวดล้อมและการผังเมืองจากมหาวิทยาลัย RMIT ผู้เชี่ยวชาญด้านการผังเมืองจากนครเมลเบิร์นกล่าวว่า ความกดดันของประชากรนั้นมีความโดดเด่นในออสเตรเลีย การชักจูงให้ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทนั้น “จะสร้างผลกระทบได้เพียงน้อยนิด” โดยปัญหาในเรื่องประชากรนั้นมาจากการที่รัฐบาลไม่สามารถวางแผนก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค เพื่อรองรับกับการขยายตัวของประชากรอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในนครซิดนีย์ และเมลเบิร์น
Migrants will be directed away from these cities under the government's plan.
Migrants will be directed away from these cities under the government's plan. Source: SBS News
เมื่อพูดถึงสถานการณ์เรื่องสาธารณูปโภคในนครซิดนีย์ นายทัดจ์ รัฐมนตรีด้านเมืองและประชากรกล่าวว่า เป็นกรณีที่ปัญหานั้นตามโครงสร้างมาติดๆ

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์บักซ์ตันยังกล่าวอีกว่า ความผิดพลาดของระบบสาธารณูปโภคนั้น เกิดจากการที่รัฐบาลนั้นพึ่งภาคเอกชนมากเกินไป

“พวกเขาผ่อนปรนกฎระเบียบมากจนเกินไป และเปิดช่องว่างให้กับภาคเอกชน ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดในรัฐบาลออสเตรเลียที่ว่า รัฐบาลไม่จำเป็นจะต้องทำอะไรมากเกินไปในเรื่องนี้ พวกเขาผลักความรับผิดชอบไปให้ภาคเอกชนเป็นฝ่ายตัดสินใจมากขึ้น และเมื่อถึงเรื่องของปัญหาในระบบสาธารณูปโภคแล้ว ทัศนะคติดเหล่านี้ทำให้พวกเขาไม่มีทางแก้ และนำไปสูวิกฤตในที่สุด” ศาสตราจารย์บักซ์ตันกล่าว



นอกจากนี้ ศาสตราจารย์บักซ์ตันได้กล่าวอีกว่า ทุกๆ 8 ปี นครเมลเบิร์นจะมีประชากรเพิ่ม 1 ล้านคน และยังมีการคาดการณ์บางส่วนที่กล่าวว่า ประชากรในนครเมลเบิร์นอาจเพิ่มขึ้นถึง 10 ล้านคนภายในปี 2050  ถึงแม้ว่ารัฐบาลสหพันธรัฐจะพยายามคลายความหนาแน่นของประชากร โดยชักจูงให้ผู้อพยพย้ายถิ่นนับล้านคนไปตั้งรกรากในพื้นที่ชนบทของออสเตรเลีย นครเมลเบิร์นและซิดนีย์ก็จะยังคงเผชิญปัญหาประชากรหนาแน่นอยู่เหมือนเดิม

“ขนาดของการขยายตัวของประชากรนั้น ยังคงมีความเข้มข้นในหัวเมืองใหญ่ๆ แม้ว่าจะมีความพยายามมหาศาลจากรัฐบาลในการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ชนบท ควบคู่กับการลงทุนด้านสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ที่มีราคามหาศาล อย่างเช่น การเสนอแผนลงทุนรถไฟความเร็วสูงในรัฐวิกตอเรียราคาเกือบ 2 หมื่นล้านดอลลาร์” ศาสตราจารย์บักซ์ตันกล่าว

ศาสตราจารย์บักซ์ตันยังกล่าวอีกว่า เมืองที่หนาแน่นติดอันดับโลก อย่างเช่น นครลอสแองเจลิส ได้รับมือกับความท้าทายด้านระบบสาธารณูปโภคอย่างจริงจัง โดยการลงทุนที่โดดเด่นด้านระบบขนส่งมวลชน

“ลอสแอนเจลิส ซานฟรานซิสโก และเมืองทางชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ มีโครงการใหม่ๆ ขนาดมหาศาลเกี่ยวกับระบบขนส่งสาธารณะมากมาย ซึ่งรวมถึงการสร้างระบบขนส่งใหม่ทั้งเมือง” ศาสตราจารย์บักซ์ตันกล่าว

“ในเมืองอื่นๆ ทั่วโลก รัฐบาลของพวกเขาดำเนินการอย่างจริงจังในเรื่องนี้ ซึ่งรวมถึงเมืองขนาดใหญ่ในเอเชีย ดังนั้น รัฐบาล (ออสเตรเลีย) จึงจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเข้ากับความรับผิดชอบในการวางแผน และคาดการณ์ถึงความต้องการในระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในอนาคต ใส่ใจที่จะทำให้การก่อสร้างให้เกิดขึ้นจริง และหยุดโทษสิ่งรอบตัว และหยุดวิ่งไล่ตามแก้ปัญหาแบบที่นายทัดจ์เคยได้กล่าวไว้” ศาสตราจารย์บักซ์ตันกล่าว


Share
Published 10 October 2018 12:22pm
Updated 10 October 2018 1:09pm
By Greg Dyett
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS World News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand