ชื่อที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษของท่านกระทบการหางานในออสเตรเลียแค่ไหน?

THE FEED: งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้พบว่าความลำเอียงโดยไม่รู้ตัวต่อผู้สมัครงานที่มีชื่อไม่เป็นภาษาอังกฤษนั้นสูงจนน่าตกใจ

 

You can read the full version of this story in English on SBS's The Feed program .

คุณเช็งเกิดที่รัฐวิกตอเรีย เรียนมัธยมฯ ที่นั่น แล้วก็เข้ามหาวิทยาลัยต่อที่นั่นเช่นเดียวกัน แต่ทว่าเมื่อเขาหางาน ผู้คนก็ยังคงถามเขาว่า ‘คุณเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรหรือเปล่า?’

“ผมรู้สึกได้ว่าหากผมใช้ชื่อ ‘เช็ง’ คนก็จะทึกทักโดยอัตโนมัติว่าผมนั้นเป็นชาวต่างชาติ” คุณเช็งเล่า

คุณเช็งเป็นที่รู้จักในชื่อ ‘ไมเคิล’ จนถึงอายุ 15 ปี “[พ่อแม่] ของผมนั้นบอกวิธีที่ผมจะมีงานการทำต่อไปได้ในอนาคต ว่าผมจะต้องมีปริญญา มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ และพูดภาษาอังกฤษให้คล่อง”

แต่คุณเช็งไม่ต้องการที่จะเปลี่ยนชื่อ – เขาต้องการให้ผู้รับสมัครงานนั้นเปลี่ยนแปลงแนวทางในการว่าจ้างงานต่างหาก “ทำไมคุณจะต้องใช้ชื่อซึ่งแท้จริงแล้วนั้นไม่ใช่ชื่อของผม?”

ถึงแม้ว่าคุณเช็งจะพูดคุยเรื่องนี้กับเพื่อนฝูงได้อย่างสนุกสนาน เขาก็ยอมรับว่า “มันก็รู้สึกเจ็บนะ เพราะว่าเราก็จะเริ่มมีความคิดที่ว่า ‘หรือว่าเราจะด้วยค่ากว่าถ้าหากว่าเปรียบเทียบกันแล้ว’”
“ผมชอบการสอบแบบออนไลน์ เพราะถ้าหากว่าผมต้องใส่ชื่อของผมลงในใบสมัครงานน้อยครั้งมากที่ผมจะผ่าน” คุณเช็งซึ่งเป็นผู้หางานกล่าว

  ชิ้นหนึ่งโดยมหาวิทยาลัยซิดนีย์เมื่อปี ค.ศ. 2017 พบกว่า 13 เปอร์เซ็นต์ของผู้สมัครงานที่มีชื่อแบบแองโกล-แซกซอน(ภาษาอังกฤษ) จะได้รับการเชื้อเชิญให้เข้าสัมภาษณ์ เมื่อเทียบกับเพียง 4.8% ของผู้สมัครงานที่มีชื่อเป็นภาษาจีน

กรรมาธิการด้านการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ คุณทิม สุทพมมะสาน ซึ่งเพิ่งพ้นตำแหน่งไปเมื่อเร็วๆ นี้กล่าวว่า เขาหวังว่าผู้เข้าดำรงตำแหน่งต่อจากเขาจะช่วยปรับปรุงโชคชะตาของผู้หางานซึ่งไม่ใช่ชาวแองโกลแซกซอนที่ต่อสู้อยู่ในตลาดแรงงาน โดยในโลกแห่งอุดมคตินั้น จะมีการตั้งเป้าต่างๆ เอาไว้ แต่ทว่าคุณสุทพมมะสานก็ถอดใจในเรื่องดังกล่าว

“หากคุณดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในเรื่องของความเท่าเทียมกันทางเพศและความก้าวหน้าที่เราทำสำเร็จในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นั่นก็เป็นภาพสะท้อนต่อการจัดการเป็นตัวแทนร้องเรียนและวิ่งเต้นซึ่งกินเวลาหลายทศวรรษ คุณจะพบว่ายังไม่มีความเจริญถึงในระดับนั้นในเรื่องของความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม”

ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานบางท่านนั้นเหนื่อยหน่ายจากการถูกตัดสินจากชื่อของพวกเขา – แทนที่จะถูกตัดสินจากประสบการณ์ – ถึงขนาดที่พวกเขานั้นขอบอกผ่านกระบวนการคัดเลือกพนักงาน และลงมือทำธุรกิจด้วยตัวเอง
“เราก็จะเริ่มมีความคิดที่ว่า ‘หรือว่าเราจะด้วยค่ากว่าถ้าหากว่าเปรียบเทียบกันแล้ว’”
คุณอุสมาน อิฟติการ์ ย้ายมาที่ออสเตรเลียจากประเทศปากีสถานเมื่อปี 2013 และก็เป็นหนึ่งในมันสมองของบริษัท ‘Catalysr’ ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ช่วยเร่งให้ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานสร้างธุรกิจของตัวเองขึ้นในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่ด้านการบริการไปจนถึงเทคโนโลยี โดยเขากล่าวว่า

“สิ่งที่เราพยายามจะทำนั้นเป็นสถานการณ์ที่วิน-วินได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย มันเป็นการสร้างงานให้เกิดขึ้นที่ประเทศออสเตรเลียนี้ และมันยังช่วยแก้ปัญหาสำหรับผู้คนเหล่านั้นซึ่งพบกว่าเป็นเรื่องยากที่จะได้รับการว่าจ้างงาน”

แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มาจากพื้นเพอันหลากหลายจะเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานเสมอไป และไม่ใช่ทุกๆ คนที่จะต้องการจะเริ่มต้นทำธุรกิจ เพราะฉะนั้นควรจะเกิดอะไรขึ้น และนายจ้างนั้นจะมีบทบาทได้อย่างไร?

นักจิตวิทยาองค์กร คุณดินา วอร์ด กล่าวว่า คำตอบก็คือการรับสมัครงานแบบตาบอด: โดยไม่ให้มีข้อมูลส่วนตัวเช่นชื่อ ที่อยู่ และโรงเรียนอยู่บนใบประวัติการสมัครงานหรือเรซูเม

“มันไม่ใช่เวทย์มนตร์ที่จะแก้ปัญหาได้ชะงัด แต่มันก็จะมีผลกระทบอย่างแน่นอนต่อลักษณะของผู้รั บการคัดเลือกที่คุณจะเห็นเดินผ่านเข้ามาในช่องทางการว่าจ้างงานของคุณ”


Share
Published 13 September 2018 11:07am
Updated 13 September 2018 11:33am
By Elly Duncan
Presented by Tanu Attajarusit
Source: The Feed, Sydney University


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand