‘ผมไม่ขอโทษ’: เฟรเซอร์ แอนนิง ยันชูโยบายออสเตรเลียผิวขาวและห้ามผู้อพยพมุสลิม

NEWS: วุฒิสมาชิกเฟรเซอร์ แอนนิง พูดคุยกับเอสบีเอสนิวส์ เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับคำปราศรัยครั้งแรกในสภาฯ ของเขา

Senator Anning speaking to SBS News

วุฒิสมาชิกแอนนิงขณะพูดคุยกับเอสบีเอสนิวส์ Source: SBS News

นายเฟรเซอร์ แอนนิง วุฒิสมาชิกจากรัฐควีนส์แลนด์ ได้กล่าวหานางพอลลีน แฮนสัน อดีตหัวหน้าของเขา ว่าหักหลังเหล่าผู้สนับสนุนดั้งเดิมของเธอ โดยเขากล่าวกับเอสบีเอสนิวส์หลังจากที่เรียกร้องให้ระงับการอพยพย้ายถิ่นฐานโดยผู้ซึ่งไม่ใช่ชาวยุโรป ที่ได้ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างร้อนแรงจากเกือบทุกพรรคการเมืองในรัฐสภา

วุฒิสมาชิกอิสระคนดังกล่าวได้รับการเลือกตั้งหลังเข้ามาจากการนับคะแนนเสียงซ้ำสองเพื่อหาตัวแทนนายมัลคอล์ม โรเบิร์ตส์จากพรรควันเนชัน แต่นายแอนนิงก็ลาออกจากพรรคดังกล่าวในวันแรกของการเข้าทำงาน ก่อนที่จะเข้าร่วมกับพรรคแคตเทอร์ออสเตรเลียปาร์ตี ในเวลาต่อมา

วุฒิสมาชิกแอนนิง ได้ใช้คำปราศรัยแรกของเขาเมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา (14 มิ.ย.) เพื่อเรียกร้องให้มี “การแก้ปัญหาขั้นสุดท้าย (final resolution) ต่อปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศ” และผลักดันให้มีการหวนกลับไปสู่นโยบายออสเตรเลียผิวขาว

ซึ่งการอ้างอิงถึง “การแก้ปัญหาขั้นสุดท้าย” นั้นได้รับการตีความอย่างกว้างขวางว่าเป็นการสอดแทรกการอ้างอิงถึงนโยบายอันอื้อฉาวของนาซีซึ่งเป็นเสาหลักของความพยายามของนายอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวซึ่งอยู่ในดินแดนที่ยึดครองมาได้ในยุโรประหว่างสงความโลกครั้งที่สอง
รัฐมนตรีพลังงาน จายจอช ฟรายเดนเบิร์ก ซึ่งมีญาติหลายคนเป็นชาวฮังการีที่ผ่านการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ดังกล่าวมาได้ ก็เป็นหนึ่งในผู้ซึ่งเรียกร้องให้มีการขอโทษ

แต่เมื่อพูดคุยกับเอสบีเอสนิวส์เมื่อเย็นวานนี้ (พุธ 15 ส.ค.) หลังจากที่ สส. เป็นจำนวนหลายสิบคนและเหล่าวุฒิสมาชิกต่างประณามคำปราศรัยของเขา วุฒิสมาชิกแอนนิงกลับยืนยันว่าเขาจะไม่ขอโทษ

“ผมไม่พูดขอโทษ ผมไม่มีอะไรที่ทำให้จะขอโทษ” เขากล่าว

“ไม่แม้กระทั่งตลอดชีวิต”

ผู้นำพรรควันเนชัน นางพอลลีน แฮนสัน ก็เป็นหนึ่งในเสียงประณามเมื่อวานนี้ โดยเธอกล่าวว่า อดีตพันธมิตรของเธอคนดังกล่าว “ล้ำเส้นไปไกลเกิน” และก็กล่าวว่า คำปราศรัยดังกล่าวนั้น “ตรงมาจากหนังสือคู่มือของนายเจอเบลส์จากนาซีเยอรมนี”

วุฒิสมาชิกแอนนิงกล่าวว่า ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนั้นพิสูจน์ให้เห็นว่า นางแฮนสันนั้น “ราวกับว่าหันหลังให้กับผู้คนซึ่งเลือกเธอมา”

“ช่างน่าเสียดายที่เธอหลงทาง เธออยากจะพูดอะไรก็พูดไป นั่นก็แล้วแต่เธอเพียงคนเดียว”

ผู้นำพรรคของวุฒิสมาชิกแอนนิง นายบ็อบ แคตเทอร์ ได้เคยกล่าวโดยคล้ายคลึงกันในการแถลงต่อสื่อก่อนหน้านี้

“[พอลลีน แฮนสัน] กำลังทอดทิ้งพื้นที่ที่ทำให้เธอนั้นอื้อฉาวหรือโด่งดัง” นายแคตเทอร์กล่าว

หัวหน้าพรรค KAP คนดังกล่าวได้บอกกับผู้สื่อข่าวว่า เขาสนับสนุนคำพูดของนายแอนนิง “1000 เปอร์เซ็นต์” และอธิบายว่าคำปราศรัยดังกล่าวนั้น “ยิ่งใหญ่” และเป็น “ทองแท่ง (solid gold)”

“90 เปอร์เซ็นต์ของออสเตรเลียนั้นได้รอคอยให้ใครสักคนที่จะพูดออกมาและก็เชื่อในเรื่องนี้”



ส่วนญัตติในวุฒิสภาเพื่อยกย่องอดีตรัฐบาลพรรคลิเบอรัลของนายแฮโรลด์ โฮลต์ ที่ได้ยกเลิกนโยบายออสเตรเลียผิวขาวนั้น ก็ผ่านโดยไม่มีผู้คัดค้าน โดยที่วุฒิสมาชิกแอนนิงนั้นไม่ได้อยู่ในห้องประชุมวุฒิสภาฯ

ญัตติดังกล่าว แทบจะเหมือนกับอีกญัตติซึ่งคล้ายคลึงกัน ซึ่งถูกยื่นเสนอโดยนายกรัฐมนตรีจากพรรคแรงงาน นายบ็อบ ฮอว์ก ในปี ค.ศ. 1988 ซึ่งญัตติดังกล่าวสนับสนุน “นโยบายการอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าประเทศอันไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ” และกล่าวว่า รัฐบาลนั้น ไม่ควรที่จะคำนึงถึง “เชื้อชาติหรือที่มาทางชาติพันธุ์” เมื่อพิจารณาว่าใครจะได้รับอนุญาติให้มายังประเทศออสเตรเลีย

โดยที่ฉบับร่วมสมัยปี 2018 นั้นเพิ่มเติมคำว่า “ความเชื่อ (faith)” เข้าไปในถ้อยคำด้วย เพื่อเป็นการตอบโต้อย่างแยบยลต่อคำเรียกร้องของวุฒิสมาชิกแอนนิงที่ต้องการให้มีการห้ามผู้อพยพย้ายถิ่นฐานซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม

วุฒิสมาชิกแอนนิงนั้นถูกประณามรอบวง ไม่ว่าจะเป็นจากพรรคร่วม พรรคแรงงาน พรรคกรีนส์ พรรคเดอะเซ็นเตอร์อะไลอันซ์ ตลอดจนวุฒิสมาชิกอิสระนายเดร์ริน ฮินช์ และนายทิม สโตเรอร์

วุฒิสมาชิกอิสระหัวเสรีนิยมนายเดวิด ไลออนเฮล์มกล่าวว่า เขาไม่เห็นด้วยกับประเด็นหลักๆ ของคำปราศรัยดังกล่าว แต่ก็ปกป้องการอ้างอิงของวุฒิสมาชิกแอนนิงถึง “การแก้ปัญหาขั้นสุดท้าย” โดยอธิบายถึงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นว่า “เป็นปฏิกริยาที่เกินกว่าเหตุอันน่าตลก ต่อคำศัพท์เพียงคำเดียวซึ่งมีความหมายได้หลายต่อหลายอย่าง”



วุฒิสมาชิกแอนนิงกล่าวว่า เขาไม่รู้สึกหวาดหวั่นใดๆ ที่จะกลับเข้าไปในห้องประชุมวุฒิสภาฯ แม้จะมีคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหู

“ผมทำผับหลายๆ แห่ง ซึ่งเถื่อนที่สุดในออสเตรเลีย” เขากล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“เพราะฉะนั้นการเดินเข้าไปในวุฒิสภานั้นไม่น่ากลัวใดๆ สำหรับผม ผู้คนสามารถที่จะโกรธขึ้งหรือรู้สึกไม่พอใจได้ แต่นั่นก็ไม่ถึงตาย มันก็เป็นสิทธิของพวกเขาที่จะไม่พอใจ ผมขอบอกพวกเขาว่าให้แกร่งขึ้นให้มากกว่านี้แล้วก็หัดทำใจให้ได้”




Share
Published 16 August 2018 11:40am
Updated 17 August 2018 12:11pm
By James Elton-Pym
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS World News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand