เตือนภัยขบวนการหลอกให้เช่าที่พักระบาดหนักช่วงโควิด

ขณะที่ผู้คนมากมายในออสเตรเลียต้องตกงาน และกำลังเผชิญปัญหาทางการเงินจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา เหล่าบรรดามิจฉาชีพได้สรรหาวิธีใหม่ในการหลอกลวงผู้คนให้ตกเป็นเหยื่อ ด้วยการยื่นข้อเสนอปล่อยเช่าที่พักอาศัยราคาถูกที่ไม่มีอยู่จริง ปีนี้พบนับร้อยรายตกเป็นเหยื่อ สูญเงินรวมกันหลายแสนดอลลาร์

rental property scam

A big surge in number of different scams has been reported since the start of coronavirus pandemic Source: Getty Images

เนื้อหาสำคัญในบทความ
  • การรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัวผ่านการหลอกลวงให้เช่าที่พักอาศัย (rental scam) เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19
  • มีผู้คนมากกว่า 500 ราย ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงดังกล่าวในปีนี้
  • การหลอกลวงดังกล่าว สร้างความสูญเสียเป็นมูลค่ากว่า $300,000 ดอลลาร์ ในปี 2020
(บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ก.ย.2020)

องค์กรกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าของออสเตรเลีย (ACCC) ได้เตือนว่า พบการหลอกลวงเพื่อปล่อยเช่าที่พักอาศัยเพิ่มมากขึ้น ท่ามกลางมาตรการจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา มีผู้คนสูญเงินให้กับขบวนการนี้ไปมากถึง $300,000 ดอลลาร์
Imagine paying for a rental property and end up finding the property doesn’t exist
เหล่ามิจฉาชีพจะขอค่าเช่าล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ประสงค์จะเช่าได้พักอาศัย และหลอกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลผ่าน 'แบบฟอร์มผู้เช่า' ที่ปลอมขึ้นมา Source: Getty Images
จากรายงานของ ACCC พบว่า การหลอกลวงให้เช่าที่พักอาศัยนั้นเพิ่มขึ้นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ขณะที่เหล่ามิจฉาชีพกำลังมุ่งเป้าไปยังผู้ที่กำลังหาที่พักอาศัยให้เช่า ด้วยการยื่นข้อเสนอในการคิดค่าเช่าในอัตราที่ถูกลง เพื่อชักจูงให้ผู้คนส่งเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวของพวกเขา

รายงานฉบับดังกล่าวระบุอีกว่า เหล่ามิจฉาชีพจะลงโฆษณาทางเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ และเว็บไซต์ประกาศซื้อขายต่าง ๆ โดยมุ่งเป้าไปยังผู้ที่กำลังมองหาที่พักอาศัยให้เช่าผ่านทางโซเชียลมีเดีย เมื่อพวกเขาหลงเชื่อ เหล่ามิจฉาชีพจะใช้แบบฟอร์มที่ปลอมขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประสงค์จะเช่ากรอกข้อมูล และนัดแนะให้เข้าชมที่พักอาศัย “แบบเสมือนจริง” ทางออนไลน์ซึ่งถูกจัดฉาก พร้อมกับขอค่ามัดจำเพื่อแลกกับกุญแจ ขณะที่เหยื่อถูกขโมยข้อมูลส่วนบุคคลไปโดยไม่รู้ตัวตลอดกระบวนการ
หากข้อมูลส่วนตัวของคุณถูกขโมยไป คุณมีความเสี่ยงที่จะถูกเพ่งเล็งจากขบวนการหลอกลวงอื่น ๆ ในอนาคต
คุณดีเลีย ริคาร์ด (Delia Rikard) รองประธานองค์กรกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าของออสเตรเลีย (ACCC) กล่าวว่า การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวผ่านการหลอกลวงให้เช่าที่พักอาศัยนั้นกำลังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จากการที่เหล่ามิจฉาชีพขอสำเนาเอกสารระบุตัวตน อย่างเช่น พาสปอร์ต รายงานการเดินบัญชีธนาคาร (bank statement) และสลิปค่าจ้าง (payslip) 

“หากข้อมูลส่วนตัวของคุณถูกขโมยไป คุณมีความเสี่ยงที่จะถูกเพ่งเล็งจากขบวนการหลอกลวงอื่น ๆ ในอนาคต” นางริคาร์ดกล่าว

“ผู้คนจำนวนมากกำลังประสบกับความยากลำบากทางการเงิน จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ผลกระทบทางการเงินจากการหลอกลวงนี้อาจเป็นเรื่องที่เลวร้าย”

คุณอาจสนใจฟังเรื่องนี้ จากเอสบีเอส ไทย
LISTEN TO
Thai students rental accommodation traps and pitfalls image

แออัดยิ่งกว่าปลากระป๋อง: ปัญหาห้องเช่านักเรียนไทยในออสเตรเลีย

SBS Thai

07/10/201926:39

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นการหลอกลวง

โฆษกของ ACCC ได้ให้คำตอบกับเอสบีเอส ภาคภาษาปัญจาบว่า อย่าหลงเชื่อว่าโฆษณาที่พบเห็นนั้นน่าเชื่อถือ เพียงเพราะมาจากเว็บไซต์ประกาศซื้อขายที่น่าเชื่อถือ เพราะเหล่ามิจฉาชีพจะลงโฆษณาที่เว็บไซต์เหล่านั้นด้วย 

“ยืนยันกับผู้ปล่อยเช่าที่พักอาศัยว่าสถานที่เหล่านั้นมีอยู่จริง ก่อนที่จะส่งเอกสารใด ๆ เหล่ามิจฉาชีพสามารถขโมยข้อมูลส่วนบุคคลจากเอกสารของคุณ อย่างเช่น เอกสารระบุตัวตน และรายละเอียดเกี่ยวกับสถาบันทางการเงิน” คุณริคาร์ดกล่าว

“หากราคาของที่พักอาศัยที่ปล่อยให้เช่านั้นถูกเกินจริง มันก็คงไม่ใช่เรื่องจริง หากราคาที่ลงประกาศในโฆษณานั้นถูกกว่ารายอื่น ๆ ในพื้นที่เดียวกัน นั่นอาจเป็นสัญญาณว่านี่คือการหลอกลวง” 

จะป้องกันตัวเองอย่างไรให้ปลอดภัย

ในส่วนนี้ โฆษกของ ACCC ได้ให้คำตอบกับเอสบีเอส ภาคภาษาปัญจาบว่า
  1. ไปดูที่พักอาศัยจริง ๆ ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับผู้ปล่อยเช่า หรือนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งรวมถึงเงินค่ามัดจำ และเงินค่าเช่า ผู้ปล่อยเช่าที่พักอาศัยและนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ที่แท้จริงมักจะไม่คิดค่าเข้าชมที่พักอาศัยสำหรับผู้ที่สนใจเยี่ยมชม
  2. นักศึกษาควรพึงระวัง เนื่องจากเหล่ามิจฉาชีพนั้นจะมุ่งเป้าไปที่ผู้ที่ลงประกาศในเว็บไซต์ และโซเชียลมีเดีย ที่ระบุว่ากำลังหาที่พักอาศัยให้เช่า
  3. นักศึกษาสามารถพูดคุยกับทางมหาวิทยาลัย เพื่อรับความช่วยเหลือในการหาที่พักอาศัยที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  4. อย่าจ่ายเงินมัดจำ หรือค่าเช่า ผ่านช่องทางชำระเงินที่ผิดสังเกต เช่น การโอนเงินทางบัญชีธนาคาร สิ่งนี้เป็นกลเม็ดที่พบได้บ่อยจากเหล่ามิจฉาชีพ ซึ่งจะทำให้การขอเงินที่โอนไปกลับคืนมานั้นเป็นเรื่องยาก
  5. อ่านข้อคิดเห็นอิสระจากผู้เช่าคนอื่น ๆ ที่มีต่อตัวแทนด้านอสังหาริมทรัพย์ที่คุณพบ และตรวจสอบว่าตัวแทนดังกล่าวมีใบอนุญาตภายในรัฐและมณฑลที่คุณอาศัย
หากคุณคิดว่าอาจตกเป็นเหยื่อของขบวนการหลอกลวงดังกล่าว โปรดอย่ารอช้าและดำเนินการในทันที เพื่อลดความเสี่ยงต่อความสูญเสียทางการเงิน และความเสียหายอื่น ๆ ที่อาจตามมา ติดต่อธนาคารของคุณให้เร็วที่สุด และหากเกี่ยวข้อง ติดต่อไปยังแหล่งลงประกาศโฆษณาหลอกลวงนั้น เพื่อแจ้งให้ทราบถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 

IDCARE เป็นบริการที่ไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งทำงานร่วมกับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการโจรกรรมอัตลักษณ์บุคคล เพื่อพัฒนาแนวทางในการตอบสนอง และสนับสนุนผู้ตกเป็นเหยื่อตลอดกระบวนการ คุณสามารถโทรศัพท์เพื่อติดต่อ IDCARE ได้ที่หมายเลข 1300 432 273 หรือไปที่เว็บไซต์  


ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 23 September 2020 3:18pm
Updated 1 September 2022 12:56pm
By Paras Nagpal
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS Punjabi

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand