ออสเตรเลียเปลี่ยนแปลงระยะเวลาประเมินวีซ่าคู่ครอง

กระทรวงมหาดไทยได้ลดระยะเวลาประเมินคำร้องวีซ่าคู่ครองลงเกือบครึ่งหนึ่งในโปรแกรมการเป็นสปอนเซอร์โดยคู่ครอง

Image of a couple holding hands by Pixabay

Source: Pixabay

You can read the full version of this story in English on SBS Punjabi .

กระทรวงมหาดไทย(ของเครือรัฐออสเตรเลีย)ได้ลดระยะเวลาการประเมินวีซ่าคู่ครองจากทั่วโลกลงเกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งก็จะเป็นการช่วยให้ผู้ที่รอผลอยู่นั้นรู้สึกโล่งใจมากขึ้น หลังจากในช่วงที่ผ่านมาระยะเวลารอคอยนั้นได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อไม่นานมานี้กระทรวงมหาดไทยได้ลดระยะเวลาการประเมินสำหรับคำร้องจากทั่วโลกลงเป็น 14-16 เดือน จากเดิม 21-26 เดือน

ระยะเวลาประเมินสำหรับคำร้องจากทั่วโลกดังกล่าวนี้ได้รับการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมา โดยเป็นข้อมูลของเดือนก่อนหน้าซึ่งสิ้นสุดลง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2018

คู่ครองของชาวออสเตรเลียหรือผู้อยู่อาศัยถาวร ซึ่งยื่นคำร้องสมัครขอวีซ่าคู่ครองจากนอกประเทศออสเตรเลียก่อนหน้านี้จะรอคอยเป็นเวลายาวนานถึง 26 เดือนกว่าจะสามารถเริ่มมาอยู่ด้วยกันในประเทศออสเตรเลียได้ และอาจนานกว่านั้นได้อีกในบางกรณี

“ข่าวนี้ฟังแล้วหูผึ่งเลยทีเดียว สำหรับลูกค้าของเราซึ่งรอคอยอยู่อย่างมีน้ำอดน้ำทน ให้คำร้องของพวกเขานั้นเป็นที่สิ้นสุด” คุณรานบีร์ ซิงห์ จากลักษยาไมเกรชัน กล่าว

“ทางกระทรวงนั้นถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่ก่อนหน้าแล้ว ในเรื่องของระยะเวลารอคอยซึ่งน่าสะพรึงกลัวเป็นอย่างมาก โดยอาจยาวนานถึงสองปี ในขณะที่ก็เรียกเก็บค่าธรรมเนียมเป็นจำนวนแพงลิบถึงกว่า $7000”

 

การรอคอยการประเมินวีซ่านั้น ‘เพิ่มความตึงเครียด’ ให้กับความสัมพันธ์

ว่าความล่าช้าในการประเมินวีซ่านั้น ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญในด้านสังคมและด้านการเงินต่อคู่ครองชาวอินเดียกับชาวออสเตรเลีย

นางราพินเดอร์ คาร์ ซี่งทำงานดูแลผู้สูงอายุอยู่ในนครเมลเบิร์น แต่งงานกับชาวอินเดียเมื่อเดือนมกราคม 2017 สามีของเธอ นายอามรีก ซิงห์ ยื่นขอวีซ่าคู่ครองเมื่อเดือนมิถุนายน 2017

ในระหว่างนั้น นายซิงห์ได้ยื่นขอวีซ่านักท่องเที่ยวเพื่อมาอยู่กับภรรยาของเขาที่ประเทศออสเตรเลีย แต่ทว่ากลับถูกปฏิเสธ

“มันเกินกว่าที่เราจะรับได้ ดิฉันหวังว่า [กระทรวงมหาดไทย] จะเข้าใจสภาวะทางอารมณ์ของพวกเรา” นางคาร์กล่าวพร้อมกับถอนหายใจลึก “เราเหมือนอยู่กันบนเส้นยาแดง เราไม่สามารถตั้งเป้าหมายระยะยาวได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต่างๆในด้านการเงินหรือการวางแผนครอบครัว ความล่าช้านั้นได้ก็ให้เกิดความตึงเครียดขึ้นในความสัมพันธ์ของเรา”

Abi Sood with his wife T Sethi.
อาบี สูด กับภรรยา ที เศษฐี (Supplied/SBS Punjabi) Source: Supplied
สัญญาณดีถึงการ ‘กลับมาอยู่ในกรอบ’

คุณรานบีร์ ซิงห์ ซึ่งทำงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการอพยพย้ายถิ่นฐานในนครเมลเบิร์นก็ยินดีต่อความเปลี่ยนแปลงล่าสุดเกี่ยวกับระยะเวลาประเมินวีซ่าคู่ครอง

“มันน่ายินดีที่ได้เห็นเรื่องนี้เกิดขึ้น ฉันก็หวังอย่างจริงใจว่ามันจะกลับมาอยู่ในกรอบ ถ้าหากว่าทำให้น้อยกว่าหกเดือนได้ก็จะเป็นสถานการณ์ในอุดมคติเลย สำหรับผู้ที่ยื่นคำร้อง” เขากล่าว

“ความล่าช้าในการประเมินวีซ่ามีผลกระทบอย่างหนักต่อลูกค้าของเรา พวกเขากลายเป็นว่ามีความวิตกกังวลมากเกินไปเมื่อเราแจ้งให้พวกเขาคาดการณ์ว่าระยะเวลาในการออกวีซ่าจะกินเวลาประมาณสองปี”

“อุปสรรคสำคัญๆ ที่พวกเขาพูดคุยกันถึงเกี่ยวกับความล่าช้า ก็เป็นเรื่องการซื้อบ้านหลังแรกของพวกเขา การหางานทำ และการวางแผนครอบครัว...และในกรณีที่สุดโต่ง มันก็ทำให้ความสัมพันธ์นั้นล่มสลายลง”

 

ระยะเวลาการประเมินวีซ่า ‘ยังควบคุมไม่อยู่’

นายอาบี สูด ยังคงรอผลของคำร้องขอวีซ่าคู่ครองของภรรยาของเขา และได้ริเริ่มล่ารายชื่อเพื่อร้องเรียนทางออนไลน์ ต่อปัญหาความล่าช้าซึ่งยังคงเกิดขึ้นอยู่ในระยะเวลาการประเมินวีซ่าคู่ครอง

เมื่อได้ทราบเกี่ยวกับการประกาศครั้งใหม่ดังกล่าว เขาก็มีปฏิกิริยาตอบโต้โดยกล่าวว่า ก็ยังคงเป็นระยะเวลา ‘ที่ยาวนานอย่างย่ำแย่มาก’ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่นแคนาดาหรือสหรัฐอเมริกา

“มันยังควบคุมไม่อยู่ ผมหวังว่าพวกเขาจะลดลงให้เหลือหกเดือนให้ได้ ความล่าช้านั้นได้ก่อให้เกิดความเครียดอย่างมากเกินไปต่อคู่ครองทั้งหลาย” คุณสูดกล่าว

“ชีวิตของพวกเราต้องหยุดรอ เพียงเราเพราะว่าพวกเขา [กระทรวงมหาดไทย] ใช้เวลายาวนานเกินไปเพื่อตัดสินใจว่าใครคนหนึ่งนั้นดีพอหรือไม่ที่จะอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียกับคู่ครองของเขา” เขากล่าว

“ผมขอแนะนำว่า หากใครก็ตามที่รอคำร้องของพวกเขาเป็นเวลายาวนานกว่า14 เดือน เมื่อถึงตอนนั้นก็ให้ติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ประจำกรณีของคุณ (case officers)”

ทางกระทรวงกล่าวก่อนหน้านี้ว่า ความล่าช้าต่างๆ นั้นเนื่องมาจากมีความต้องการที่สูง และมีการเพิ่มอัตราส่วนของคำร้องที่อยู่ในกลุ่ม “ความเสี่ยงสูง”

จำนวนวีซ่าคู่ครองนั้นยังคงอยู่ที่ 47,825 ราย ในแผนระดับการอพยพย้ายถิ่นฐานประจำปีตั้งแต่เมื่อปี 2014-15 เป็นต้นมา แม้ว่าจะมีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นกว่า 7% ในปี 2016-17 โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเป็น 56,333


Share
Published 12 September 2018 10:32am
Updated 12 September 2018 6:21pm
By Preetinder Grewal
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS Punjabi, Pixabay


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand