รัฐบาลเตรียมผลักดันกฎหมายเพื่อต่อสู้การเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างต่างชาติ

รัฐบาลสหพันธรัฐจะร่างกฎหมายเพื่อความชัดเจนของสิทธิแรงงานต่างชาติ เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองแรงงานเทียบเท่ากับพลเมืองออสเตรเลีย

A man standing at a lectern.

รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานสัมพันธ์โทนี เบิร์กกล่าวว่าการตัดสินใจนี้เป็นก้าวสำคัญเพื่อยุติการเอารัดเอาเปรียบลูกจ้างต่างชาติ Source: AAP / Lukas Coch

ประเด็นสำคัญ
  • พรรคแรงงานเตรียมร่างกฎหมายเพื่อความชัดเจนของสิทธิการทำงานของแรงงานต่างชาติ
  • หลังผลการตรวจสอบพบมีความสับสนว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองการทำงานที่เป็นธรรมครอบคลุมแรงงานต่างชาติหรือไม่
  • ผลการสำรวจยังพบว่าแรงงานต่างชาติจำนวนมากถูกโกงค่าจ้าง
พรรคแรงงานเตรียมร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างชาติ (Temporary Migrant Workers) เตือนมักมีการแสวงประโยชน์จากกลุ่มนี้ เนื่องจากไม่ทราบถึงสิทธิในการทำงาน

การทบทวนเรื่องนี้เป็นเวลา 3 ปีระบุผลลัพธ์เรื่องความสับสนว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองการทำงานที่เป็นธรรม (Fair Word Act) มีผลบังคับใช้กับกลุ่มแรงงานต่างชาติหรือไม่ ส่งผลให้รัฐบาลสหพันธรัฐเตรียมออกร่างพระราชบัญญัติกฎหมายเพื่อความชัดเจนว่าแรงงานต่างชาติมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองในการทำงานเฉกเช่นพลเมืองออสเตรเลีย

มีแรงงานต่างชาติหลายคนเล่าเรื่องของการถูกโกงค่าจ้างซ้ำแล้วซ้ำเล่า หลายคนกลัวว่าการพูดหรือเรียกร้องค่าชดเชยจะทำให้พวกเขาตกงานและถูกยกเลิกวีซ่า

รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานสัมพันธ์โทนี เบิร์ก (Tony Burke) กล่าวว่าแรงงานต่างชาติไม่ค่อยมีความรู้เรื่องสิทธิในการทำงานและมักกลัวที่จะขอความข่วยเหลือเรื่องค่าจ้างและสถานะการทำงาน
รัฐมนตรีเบิร์กอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญเพื่อต่อสู่กับการแสวงประโยชน์จากแรงงานต่างชาติ
บ่อยครั้ง นายจ้างที่ไร้ยางอายอาศัยช่องโหว่เอาเปรียบแรงงานต่างชาติ
“แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ แรงงานต่างชาติจะไม่มีข้อสงสัยถึงสิทธิในการทำงานและจะได้รับความคุ้มครองเหมือนชาวออสเตรเลีย” รัฐมนตรีเบิร์กแถลง

พรรคแรงงานมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำทั้ง 22 ข้อซึ่งเป็นผลของการทบทวนเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติฉบับนี้ ที่ได้รับการเผยแพร่เมื่อต้นปี 2019 ระบุคำเตือนถึงความสับสนว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองการทำงานที่เป็นธรรมครอบคลุมถึงแรงงานต่างชาติหรือไม่

โดยพบว่า บางครั้งสถานที่ทำงานบางแห่งในออสเตรเลียส่งเสริมความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานต่างชาติ

“ความเข้าใจผิดที่แพร่หลายที่สุดคือกฎหมายและสถานะในการทำงานที่ออสเตรเลียไม่คุ้มครองแรงงานต่างชาติ ด้วยเหตุนี้ แรงงานต่างชาติจำนวนมากจึงไม่เสาะหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลของทางการ เช่น ผู้ตรวจการเพื่อการจ้างงานที่เป็นธรรม (Fair Work Ombudsman)” รายงานระบุ
People walking through an airport.
พบแรงงานต่างชาติจำนวนมากไม่ทราบถึงสิทธิในการทำงานที่ออสเตรเลีย Source: Flickr
พรรคแรงงานแถลงว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะทำให้ผู้ถือวีซ่าที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าเกณฑ์มีความมั่นใจมากขึ้นในการขอความช่วยเหลือจากแฟร์ เวิร์ก โดยรัฐมนตรีเบิร์กกล่าวว่ารัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบที่เป็นธรรมและเท่าเทียมมากขึ้น

“แรงงานข้ามชาติชั่วคราวมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของเรา พวกเขามีสิทธิในการทำงานและสิทธิในการได้รับความคุ้มครองเฉกเช่นพลเมืองออสเตรเลียและผู้พำนักถาวร” รัฐมนตีเบิร์กกล่าว

การสำรวจจัดทำขึ้นโดยศูนย์แรงงานข้ามชาติ (Migrant Workers Centre) ซึ่งถูกเผยแพร่ในเดือนมีนาคม 2021 รายงานพบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของแรงงานข้ามชาติในออสเตรเลียเคยถูกโกงค่าจ้าง และมีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่สามารถเรียกร้องเงินที่ถูกโกงไปได้ นายจ้างที่โกงค่าจ้างจากผู้อพยพผ่านการจ่ายด้วยเงินสด ไม่จ่ายตามอัตราค่าจ้างและการให้ชิฟท์เพื่อทดลองงานโดยผิดกฎหมาย

ผลการสำรวจยังรายงานถึงจำนวนแรงงานต่างชาติกว่าครึ่งที่รู้สึกไม่ปลอดภัยในการทำงาน เคยถูกทำร้ายจิตใจด้วยคำพูด ถูกเลือกปฏิบัติและถูกกลั่นแกล้ง


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 29 March 2023 4:09pm
By Finn McHugh
Presented by Chollada Kromyindee
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand