ควีนส์แลนด์เริ่มทดลองวัคซีนโควิดในมนุษย์

ขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์พร้อมแล้วที่จะเริ่มการทดลองวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในมนุษย์ วัคซีนต้นแบบดังกล่าวถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์

A volunteer is seen during a coronavirus vaccine development announcement in Brisbane, Monday, July 13, 2020.

Queensland'de bir gönüllü COVID-19 aşı testine katılıyor. Source: AAP

วัคซีนต้นแบบเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา ที่คิดค้นโดยนักวิทยาควีนส์แลนด์ อาจพร้อมใช้งานได้จริงต้นปีหน้า โดยได้มีการเริ่มการทดลองวัคซีนในมนุษย์ในวันจันทร์วันนี้ (13 ก.ค.)

วัคซีนต้นแบบดังกล่าวกำลังถูกพัฒนาและถูกผลิตไปพร้อมๆ กัน โดยเป็นวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 ตัวแรกของออสเตรเลีย

“ขณะที่มีการศึกษาทดลองเหล่านี้เกิดขึ้น เราจะยังคงทำงานไปพร้อมๆ กับหุ้นส่วนของเราคือ ซีเอสแอล ในการเร่งผลิตวัคซีนนี้ เพื่อที่เราจะได้มีวัคซีนเป็นจำนวนมากพอเมื่อต้องการ” ศาสตราจารย์ พอล ยัง ผู้นำทีมนักวิทยาศาสตร์ที่คิดค้นและพัฒนาวัคซีนต้นแบบ บอกกับผู้สื่อข่าวในวันจันทร์
20200713001479603587-minihighres.jpg
ทีมของศาสตราจารย์ ยัง ได้ทำงานอย่างหนักตลอดวันตลอดคืนเป็นเวลา 5 เดือน ซึ่งเขากล่าวว่ารู้สึกเหมือน 5 ปี เพื่อจะได้มีวัคซีนต้นแบบพร้อมใช้ได้ภายในระยะเวลาที่รวดเร็วอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ชาวควีนส์แลนด์กว่า 4,000 คนเสนอตัวเข้ารับการฉีดวัคซีนต้นแบบนี้ในการทดลองกับมนุษย์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะนำไปสู่ความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการปราบปรามเชื้อไวรัสโคโรนา

อาสาสมัคร 120 คนได้รับเลือกให้ได้รับการฉีดวัคซีนต้นแบบนี้ 2 ครั้งโดยมีระยะห่างระหว่างการฉีดวัคซีนแต่ละครั้ง 4 สัปดาห์ และจะได้รับการเฝ้าติดตามดูผลอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินความปลอดภัยและการตอบสนองในการสร้างภูมิคุ้มกันที่มาจากวัคซีน

การทดลองวัคซีนต้นแบบดังกล่าว ที่ใช้เทคโนโลยี การหนีบในระดับโมเลกุล (molecular clamp) นี้เกิดขึ้น หลังผลการทดลองที่น่าพอใจกับสัตว์ ที่เกิดขึ้นในประเทศเนเธอร์แลนด์

มีวัคซีนต้นแบบกว่า 130 ตัวที่กำลังถูกคิดค้นพัฒนาขึ้นขณะนี้ทั่วโลก แต่วัคซีนต้นแบบของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์นี้เชื่อว่าได้ประสบความสำเร็จอย่างมากในขั้นก่อนการทดลองกับมนุษย์

“เรารู้ว่าวิธีที่ดีที่สุดในการทำให้เศรษฐกิจเป็นหนึ่งเดียวและฟื้นตัวคือ การพัฒนาวัคซีนให้สำเร็จ และยอดเยี่ยมมากที่ขณะนี้ควีนส์แลนด์เป็นผู้นำของโลกในการคิดค้นพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา” นางเคท โจนส์ รัฐมนตรีด้านนวัตกรรม กล่าว

“เราคิดค้นพัฒนาวัคซีนกันอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์”

ศาสตราจารย์ ยัง กล่าวว่า พวกเขาหวังว่า วัคซีนนี้จะพร้อมสำหรับการใช้งานเป็นกรณีฉุกเฉินในต้นปีหน้า ขณะที่การแจกจ่ายวัคซีนนี้ไปในวงกว้างจะสามารถทำได้ในช่วงกลางปีจนถึงปลายปี 2021


ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตมหานครของเมลเบิร์นต้องปฏิบัติตามคำสั่ง “ให้อยู่บ้าน” และสามารถออกจากเคหสถานได้เฉพาะเมื่อออกไปทำงานหรือไปเรียน ไปออกกำลังกาย ไปทำหน้าที่ให้การดูแล และไปซื้ออาหารหรือสิ่งของจำเป็นเท่านั้น ยังมีคำแนะนำให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะด้วย

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ อ่านเกี่ยวกับแอปพลิเคชันนี้ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 13 July 2020 1:42pm
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand