แต่งงาน 11 ครั้ง หมั้น 28 ครั้ง เรื่องราวการตามหาความรักของสาวคนหนึ่ง

แม้จะแต่งงานมา 11 ครั้ง แต่โมเนตต์ ดิแอส ก็ยังคงเชื่อในรักแท้ และการค้นพบความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน

Monette and her current partner, plus two of her ex-husbands

คุณโมเนตต์ กับคู่ครองคนปัจจุบัน (ภาพบนด้านซ้าย) และกับอดีตคู่ครองสองคน

อัตราการแต่งงานในออสเตรเลียกำลังลดลง แต่มีผู้คนจำนวนไม่มากนักที่ผ่านการแต่งงานมาหลายครั้ง รายการโทรทัศน์ Insight พูดคุยกับผู้มีประสบการณ์เหล่านั้น ถึงเหตุผลและผลกระทบ ในตอน “I do” over and over again? ติดตามชมได้ทาง

โมเนตต์ ดิอาส วัย 53 ปี แต่งงานมาแล้ว 11 ครั้ง และหมั้น 28 ครั้ง ก่อนที่เธอจะได้พบกับคู่ชีวิตคนปัจจุบันของเธอ

โมเนตต์พบกับแฟนคนแรกของเธอใน "โรงเรียนประถมศึกษา" และตั้งแต่นั้นมาเธอก็เฝ้าเสาะแสวงหาการแต่งงานที่จะคงอยู่ไปชั่วชีวิต ต้นแบบของเธอคือพ่อแม่ ซึ่งความรักของพวกเขาเป็นแบบอย่างความสัมพันธ์ที่เธอปรารถนาจะมี

แต่ตัวอย่างของ 'ความสัมพันธ์ที่สมบูรณ์แบบ' นั้นถูก "กระชากออกไป (จากโมเนตต์) ในวัยที่กำลังเปราะบางอย่างมาก" เมื่อพ่อของเธอเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ในช่วงที่เธอกำลังจะมีอายุ 15 ปี

“ฉันสูญเสียพ่อไป และฉันรู้สึกว่า ถ้าฉันมีสามีและเริ่มมีครอบครัวเป็นของตัวเอง ฉันจะได้รับความรู้สึกของการมีครอบครัวกลับคืนมา” เธอบอกกับ SBS Insight

“ตอนนั้น ฉันกำลังพยายามกลบหลุมที่ไม่มีวันจะกลบได้เต็ม”
Monette and her dad.
โมเนตต์กับพ่อของเธอ

ความรักในออสเตรเลียเทียบกับในต่างประเทศ

จากโดยสถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมประยุกต์แห่งเมลเบิร์น มีเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากรวัยผู้ใหญ่ในออสเตรเลียที่แต่งงานมาแล้วมากกว่าสองครั้ง ครึ่งหนึ่งของกลุ่มนี้มีอายุมากกว่า 65 ปี

โมเนตต์มาจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการแต่งงานและการหย่าร้างนั้นแตกต่างไปจากกฎเกณฑ์ในออสเตรเลีย การแต่งงานของโมเนตต์ยาวนานระหว่าง 4 สัปดาห์ถึง 10 ปี ขณะที่เธอแต่งงานมาแล้ว 11 ครั้ง โดยที่สองครั้งเธอแต่งงานกับอดีตสามีของเธอสองคน

ดร.เฮย์ลีย์ ฟิเชอร์ นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ที่มีความสนใจในด้านพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายครอบครัว กล่าวว่ากฎหมายด้านนี้เข้มงวดกว่าที่นี่

“ในออสเตรเลีย มันยากกว่าที่จะแต่งงานและหย่าร้างที่นี่ เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่”

ในออสเตรเลีย ผู้ที่ตั้งใจจะแต่งงานต้องแจ้งเจตนารมณ์ที่จะแต่งงานและต้องรอเป็นเวลา 1 เดือนก่อนจะแต่งงานได้ ในขณะที่รัฐส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ผู้คนสามารถขอใบอนุญาตการสมรสและแต่งงานได้ทันที

"แน่นอนว่า ในสหรัฐฯ ผู้คนสามารถทำตามความคิดที่ผ่านเข้ามาโดยไม่มีการวางแผนล่วงหน้า เมื่อเราอยากจะแต่งงาน มากกว่าที่นี่ในออสเตรเลีย" ดร. ฟิเชอร์กล่าว

เธอกล่าวว่ากฎเกณฑ์ในการหย่าร้างนั้นคล้ายคลึงกัน

“ในออสเตรเลีย คุณต้องแยกทางกันเป็นเวลา 1 ปีเพื่อแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของคุณได้พังทลายลงอย่างไม่อาจแก้ไขได้ แต่ในสหรัฐอเมริกามักไม่เป็นเช่นนั้น…อาจใช้เวลาเพียง 6 ถึง 8 สัปดาห์เท่านั้น”
โมเนตต์บอกว่าเธอตกหลุมรักได้ง่าย

“ฉันรักผู้คนอย่างสุดหัวใจ แม้แต่คนที่ใจร้ายกับฉัน ฉันก็ยังแคร์พวกเขา” โมเนตต์ กล่าว

แม้ว่านั่นอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เธอแต่งงานหลายครั้ง แต่ความเชื่อมโยงกับลัทธิมอร์มอน (Mormonism) ของเธอก่อนหน้านี้ก็มีบทบาทเช่นกัน ศาสนาของเธอขัดขวางไม่ให้เธอออกเดทและอาศัยอยู่ร่วมกันกับคนรักเป็นเวลายาวนานก่อนแต่งงาน สิ่งนี้นำไปสู่การตัดสินใจที่ทำให้เธอเสียใจในบางครั้ง การแต่งงานครั้งที่เธอเสียใจมากที่สุดคือการแต่งงานที่ส่งผลเสียต่อลูกๆ ของเธอ

“ฉันไม่ต้องการให้พวกเขาได้รับผลกระทบ…ลูกๆ ของฉันไม่ได้ขอให้มันเกิดขึ้น พวกเขาแค่เป็นผู้ยืนดูอยู่ห่างๆ ในการหย่าร้างของฉัน ฉันอาจจะตกหลุมรักผู้ชายหลายคน แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ฉันเลิกรักได้เร็วกว่าสิ่งอื่นใดคือ ถ้าคุณทำให้ครอบครัวของฉันต้องเจ็บ” โมเนตต์ กล่าว

 ดร.ฟิเชอร์กล่าวว่า ผู้ที่แต่งงานหลายครั้งมีแนวโน้มที่จะมีลูก แต่โดยทั่วไปแล้ว ลูกๆ มักมาจากการแต่งงานครั้งแรกของพวกเขา

การหย่าร้างส่งผลกระทบต่อลูกๆ

ชาวี อิสราเอล สาววัย 24 ปี เติบโตในเมลเบิร์น เธอยังได้รับผลกระทบจากการแต่งงานหลายครั้งของแม่ของเธอ เธอเกิดจากการแต่งงานครั้งแรกของแม่ แต่หลังจากนั้นก็ได้เห็นแม่ของเธอแต่งงานอีก 2 ครั้งหลังหย่าร้างกับพ่อของเธอ

Chavi, left, pictured with her mum.
ชาวี (ซ้าย) กับแม่ของเธอ
ในขณะที่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย ชาวีรับหน้าที่เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง ซึ่งรวมไปถึงการดูแลน้อง ๆ ของเธอ ในขณะที่จัดการงานธุรการในบ้าน เช่น ทำเรื่องเกี่ยวกับธนาคาร และการจัดการบิลค่าใช้จ่ายต่างๆ

เธอกล่าวว่า การหย่าร้างและการแต่งงานใหม่ของแม่ของเธอ ยังส่งผลกระทบต่อเธอในด้านอารมณ์อีกด้วย

“ฉันต้องคอยให้กำลังใจเธอและชี้นำทางให้เธอขณะที่ฉันอายุเพียง 15 ปี นั่นเป็นเรื่องยากสำหรับฉันจริงๆ ที่ต้องคอยให้กำลังใจตัวเองและให้กำลังใจแม่ของฉันด้วย” ชาวี กล่าว

ข้อมูลล่าสุดจากสำนักสถิติแห่งออสเตรเลียแสดงให้เห็นว่า จากการแต่งงานที่จดทะเบียนทั้งหมดในออสเตรเลีย ร้อยละ 71.6 เป็นการแต่งงานครั้งแรกของทั้งคู่ ตามมาด้วยร้อยละ 16.6 เป็นการแต่งงานครั้งแรกสำหรับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และมีเพียงร้อยละ 11.9 เท่านั้นที่ไม่ใช่การแต่งงานครั้งแรกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
MULTIPLE MARRIAGES STATS FINAL.jpg
สถิติการแต่งงานในออสเตรเลีย
การวิจัยจากสถาบันครอบครัวศึกษาแห่งออสเตรเลีย (AIFS) ชี้ให้เห็นว่าสาเหตุที่ยังไม่มีการแต่งงานใหม่เพิ่มขึ้นแม้ว่าจะมีจำนวนประชากรที่หย่าร้างกันมากขึ้นนั้น เป็นเพราะหลังจากการหย่าร้าง คนส่วนใหญ่มักจะอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เนื่องจากมีการให้สิทธิแก่คู่ครองที่อยู่ร่วมกันตามพฤตินัยเช่นเดียวกับสิทธิของคู่สมรสภายใต้กฎหมายทั่วไป ดังนั้นผู้คนจำนวนมากขึ้นจึงเลือกที่จะไม่จดทะเบียนแต่งงานใหม่

"คุณสามารถเริ่มมีลูก ได้รับเงินช่วยเหลือด้านรายได้ เข้าถึงการสนับสนุนจากรัฐบาล และเข้าถึงบริการศาลเพื่อขอแยกทางกันสำหรับความสัมพันธ์แบบอยู่ร่วมกันโดยไม่จดทะเบียนได้" คุณ คู นักวิจัยจาก AIFS กล่าว

สำหรับผู้ที่ยังคงเลือกที่จะแต่งงาน คุณคูกล่าวว่าบ่อยครั้งเพราะพวกเขาต้องการประกาศคำมั่นสัญญาต่อสาธารณะ การแต่งงานส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นการแต่งงานที่เกิดขึ้นหลังจากที่คู่รักอาศัยอยู่ร่วมกันแล้ว

แม้จะผ่านการแต่งงานมาแล้วหลายครั้ง แต่การมองโลกในแง่ดีของโมเนตต์หมายความว่า เธอยังคงเชื่อในรักแท้

“หลายคนมาหาฉันและบอกฉันว่าพวกเขารู้สึกแย่กับตัวเองขนาดไหน พวกเขาพากันบอกว่าจะไม่รักใครอีกเลย หรือพวกเขาแต่งงานมาหลายครั้งเกินไปแล้ว” โมเนตต์ กล่าว

“แต่ฉันเองก็เคยบอกว่า ถ้าฉันได้สวมแหวนที่นิ้วอีกครั้ง มันจะไม่มีวันถูกถอดออกมาเลย”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 26 September 2022 3:50pm
By Anushri Sood
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand