Feature

เพราะภัยพิบัติและอากาศที่แปรปรวน ชาวออสเตรเลียเหล่านี้เริ่มคิดแผนสำรองสำหรับวันสิ้นโลกกันแล้ว

อุณหภูมิสูงทำลายสถิติ ความขัดแย้งระดับโลก โรคระบาด และความไม่มั่นคงทางการเงิน ชาวออสเตรเลียเหล่านี้เลือกที่จะเตรียมตัวรับมือกับสิ่งเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้น

three people in a farm

เนริดา (Nerida) วิกกี (Vicki) และเจค (Jake) กับการตัดสินใจเป็น 'เพรปเปอร์ (preppers)' Source: Supplied

วิกกี้ อดีตครูใหญ่โรงเรียน ไม่เคยจินตนาการเลยว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณไปกับการเรียนรู้ทักษะการเอาชีวิตรอด

ตอนนี้ในวัย 60 ปี เธอได้เข้าร่วมกับกลุ่มคนออสเตรเลียที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเตรียมตัวรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเป็นหายนะ เช่น การขาดแคลนอาหาร การโจมตีทางไซเบอร์ หรือสงครามโลกครั้งใหม่

คนกลุ่มนี้ที่เรียกว่า "เพรปเปอร์" (Preppers) จะสะสมทรัพยากรและเรียนรู้ทักษะเพื่อรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอน

สำหรับวิกกี้ จุดเปลี่ยนเริ่มต้นขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 "โลกที่เราอยู่ตอนนี้จะไม่ใช่โลกที่ดำเนินต่อไป มันเปลี่ยนแปลงไม่ได้" เธอกล่าวกับ Insight
a man out in the bush
Jake Cassar teaches survival skills. Source: Supplied

'เพรปเปอร์ (preppers)' คืออะไร?

แม้ภาพลักษณ์ของพรีปเปอร์จะมักถูกมองว่าเป็นพวกที่เก็บอาหารกระป๋องในบังเกอร์ แต่วิกกี้มองว่าความพยายามของเธอคือการปรับตัว

เธอซื้อรถบ้านและเข้ารับการฝึกฝนการเอาชีวิตรอดจนได้พบกับเจค คาสซาร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเอาชีวิตรอดในป่าในรัฐนิวเซาท์เวลส์
เจค ซึ่งสอนทักษะการเอาชีวิตรอดมากว่า 20 ปี เน้นย้ำถึงความสำคัญของความรู้มากกว่าอุปกรณ์ "บางคนมีอุปกรณ์ครบ แต่กลับไม่มีความรู้" เขากล่าว ตั้งแต่ช่วงโควิด เขาเห็นคนธรรมดาเข้าร่วมเรียนรู้มากขึ้น

"การเอาชีวิตรอดคือเรื่องของชุมชน" เขากล่าว "มันไม่ใช่การเอาชีวิตรอดของคนที่แข็งแกร่งที่สุด แต่มันคือการเอาชีวิตรอดร่วมกัน"

ความอยู่รอดขึ้นอยู่กับความร่วมมือ

เจคเน้นย้ำว่าการเป็นพรีปเปอร์ไม่ใช่เพียงการเตรียมพร้อมในด้านทรัพยากร แต่ยังรวมถึงการสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง

“มันคือการอยู่รอดของผู้ที่ร่วมมือกัน ไม่ใช่แค่คนที่แข็งแกร่งที่สุด” เขากล่าว

เจคยังบอกด้วยว่า การเตรียมพร้อมแบบนี้ช่วยให้เขามีสุขภาพจิตและกายที่ดีขึ้น “มันทำให้เราออกไปสนุก ออกกำลังกาย และเชื่อมโยงกับธรรมชาติอีกครั้ง”

เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก

เดวิด คริสเตียน นักประวัติศาสตร์ กล่าวว่า มนุษย์มักถูกดึงดูดโดยสถานการณ์ที่เกี่ยวกับจุดจบของโลกเพราะมันน่าตื่นเต้น

แต่เขายังเตือนถึงผลกระทบที่เป็นลบ

“โลกของสื่อมักสร้างมุมมองเชิงลบอย่างไม่จำเป็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ ซึ่งอันตรายที่สุดคือมันทำลายความหวัง” เขากล่าว

“และความหวังเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อการทำงานเพื่ออนาคตที่ดีกว่า”

แม้ว่าหลายคนอาจถลำลึกไปในทฤษฎีสมคบคิดหรือรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับอนาคต ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเราถูกดึงดูดโดยข่าวร้ายเพราะกลไกการเอาตัวรอดของเราเอง

a woman wearing glasses
Dr Evita March is an expert in Cyberpsychology

โลกดิจิตอลส่งผลกระทบต่อเราอย่างไร?

อีวิตา มาร์ช (Evita March) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาไซเบอร์ เธอศึกษาว่าสื่อดิจิทัลส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและร่างกายของเราอย่างไร

เธอกล่าวว่ามนุษย์มีแนวโน้มที่จะเสพข่าวร้าย เนื่องจากเป็นกลไกการเอาชีวิตรอดที่วิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ อีวิตาอธิบายว่าเราถูกตั้งโปรแกรมให้ไวต่อ "ข่าวร้าย" และอคติต่อความเป็นลบนี้เป็นส่วนหนึ่งของการอยู่รอด

“เรามักจะมองหาและระวังภัยคุกคามในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ซึ่งช่วยให้เรารอดชีวิตได้” อีวิตากล่าว

เธอระบุว่ามีความเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างสื่อที่เราบริโภคกับมุมมองต่อโลกของเรา
“ยิ่งคุณเสพข้อมูลหรือข่าวที่พูดถึงสงคราม อาชญากรรม การขาดแคลนอาหาร หรือโรคระบาดมากเท่าไร คุณก็อาจเริ่มรู้สึกสิ้นหวังเกี่ยวกับอนาคตได้มากขึ้น ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เข้าใจได้” เธอกล่าว

แต่อีวิตาเน้นว่าเราควรมองภาพรวมให้ชัดเจนกว่านี้

“ถ้าไม่นับภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ ที่เกิดขึ้นในโลกตอนนี้ก็ไม่ได้มีอะไรใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

“เราเคยผ่านสงคราม โรคระบาด และผู้นำการเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาแล้วในอดีต”
a woman holding a baby goat
Nerida and her partner Abraham are homesteaders, they say the key is to be self-suffient enough to withstand whatever disaster may come their way.

โฮมสเตดเดอร์ vs เพรปเปอร์

เนริดา เฟิร์ธ วัย 41 ปี และคู่ชีวิตของเธอ อับราฮัม วัย 35 ปี เรียกตัวเองว่า "โฮมสเตดเดอร์"

พวกเขากล่าวว่าความแตกต่างระหว่างโฮมสเตดเดอร์กับพรีปเปอร์ (preppers) คือโฮมสเตดเดอร์มุ่งเน้นไปที่การใช้ชีวิตแบบพึ่งพาตนเองอย่างสมบูรณ์ มากกว่าการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์วันสิ้นโลก

พวกเขาอาศัยอยู่ในที่ดินขนาดใหญ่และปลูกอาหารเองถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของที่พวกเขาบริโภค

อับราฮัมทำงานเป็นวิศวกร และเนริดาเป็นเภสัชกร

ที่บ้าน ทั้งคู่ใช้ทักษะด้านพืชสวน การชำแหละเนื้อสัตว์ และงานช่าง ซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีประโยชน์ในชีวิตจริง
เมื่อไม่นานมานี้ พวกเขาเผชิญกับเหตุการณ์ไฟฟ้าดับนานเกือบหนึ่งสัปดาห์ แต่เนริดาและอับราฮัมยังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายที่บ้าน ในขณะที่คนอื่นขาดแคลนอาหาร น้ำ และสิ่งจำเป็นอื่น ๆ

สำหรับพวกเขา วันสิ้นโลกไม่ได้อยู่ในความคิด แต่พวกเขาต้องการเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่ไม่คาดฝัน

“เรากังวลแค่เรื่องการเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติมากกว่าเรื่องที่โลกจะแตก” เนริดากล่าว

การเปลี่ยนแปลงกำลังจะมาถึง

ในขณะที่วิกกี้ยังไม่แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในรูปแบบใด เธอเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ไกลเกินเอื้อม

เธอกล่าวว่าวิกฤตค่าครองชีพในปัจจุบัน อาจทำให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมมากขึ้น

“เรามีหลายสิ่งที่อยู่ในจุดวิกฤต ฉันรู้ว่าบางคนมองว่าการเตรียมพร้อมเหมือนการเตรียมรับมือกับวันสิ้นโลก ซึ่งมันก็อาจจะเกิดขึ้นได้” วิกกี้กล่าว

แต่เธอบอกว่านั่นอาจไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป

“ท้ายที่สุด ฉันคิดว่ามันจำเป็นต้องมีบางสิ่งที่ช่วยเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เรายึดถืออยู่ เพราะมันกำลังทำลายทั้งโลกและผู้คน

“แต่ฉันจึงบอกเสมอว่า อย่ากลัว เราเพียงแค่เตรียมพร้อมรับมือ” วิกกี้กล่าว

หากคนสนใจเนื้อหาในเรื่องนี้ ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ , พ็อดแคสต์ซีรีส์ใหม่จาก SBS โดยคูมิ ทากุชิ (Kumi Taguchi) ได้ทั้งทางช่องทาง และช่องทางที่คุณใช้ฟังพ็อดแคสต์เป็นประจำ
READ MORE

Insightful

Stream free On Demand

Thumbnail of End Of Days?

End Of Days?

episode Insight • 
Current Affairs • 
52m
episode Insight • 
Current Affairs • 
52m

Share
Published 23 January 2025 5:26pm
By Connor Webster
Presented by Wanvida Jiralertpaiboon
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand