นักเศรษฐศาสตร์เตือน ชาวออสเตรเลียนับแสนเสี่ยงต่อภาวะยากจนหลังจ๊อบซีกเกอร์ตัดเงินช่วยเหลือโควิด

นักเศรษฐศาสตร์เตือนถึงผลกระทบต่อประชาชนจากการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเงินสวัสดิการจ๊อบซีกเกอร์ครั้งนี้

New modelling has warned about the impact of changes to the JobSeeker payment.

Meanwhile the number of people seeking assistance from the Salvation Army increased six-fold between November 2020 and January this year. Source: AAP

แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ชี้ว่า ประชาชนราว 155,000 คนในออสเตรเลียกำลังเผชิญภาวะความยากจน หลังจากโครงการเงินสวัสดิการผู้ว่างงานจ๊อบซีกเกอร์ (JobSeeker) ยุติให้เงินช่วยเหลือจากผลของไวรัสโคโรนา (coronavirus supplement)

อัตราเงินสวัสดิการสำหรับชาวออสเตรเลียที่ว่างงานปรับลดลงตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป เนื่องจากสิ้นสุดระยะอนุมัติเงินช่วยเหลือจากผลของไวรัสโคโรนา ซึ่งคิดเป็นเงิน 150 ดอลลาร์ต่อสองสัปดาห์

ขณะเดียวกัน รัฐบาลปรับอัตราฐานถาวรของเงินจ๊อบซีกเกอร์ เพิ่มขึ้นอีก 50 ดอลลาร์ต่อสองสัปดาห์ หมายความว่า ผู้รับเงินสวัสดิการประเภทดังกล่าวจะได้รับเงินลดลง 100 ดอลลาร์

แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ที่เผยแพร่โดยสถาบัน The Australia Institute พยากรณ์ว่า ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลให้ผู้คนกว่า 155,000 คน รวมถึงเด็ก 18,000 คน เข้าสู่ภาวะยากจน

“มาตรการนโยบายนี้แสดงให้เห็นว่า การจะปล่อยให้ชาวออสเตรเลียดำรงชีวิตอยู่กับความยากจนหรือไม่นั้นเป็นการตัดสินใจของรัฐบาล” นายแมตต์ กรัดนอฟฟ์ (Matt Grudnoff) นักเศรษฐศาสตร์ของสถาบัน The Australia Institute กล่าว
เงินช่วยเหลือจากผลของไวรัสโคโรนาที่เพิ่มเติมไว้ในเงินสวัสดิการจ๊อบซีกเกอร์ทยอยปรับลดลงนับตั้งแต่มีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบเมื่อเดือนเมษายน 2020 โดยลดเหลือ 250 ดอลลาร์ต่อสองสัปดาห์เมื่อเดือนกันยายน และ 150 ดอลลาร์เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ของสถาบัน The Australia Institute อ้างว่า ปัจจุบันมีประชาชนอยู่ในภาวะยากจนเพิ่มขึ้น 580,000 คน เทียบกับก่อนเกิดโรคระบาด

“รัฐบาลมีทางเลือก รัฐบาลสามารถตัดสินใจส่งชาวออสเตรเลียนับล้านสู่ภาวะยากจน รวมถึงเด็กนับแสนคน” นายกรัดนอฟฟ์กล่าว

“หรือรัฐบาลอาจตัดสินใจแบบเดียวกับปีที่แล้ว โดยแสดงให้เห็นว่าออสเตรเลียเป็นประเทศแห่งความเห็นอกเห็นใจ และละเว้นผู้คนเหล่านั้นจากชะตากรรมที่ว่า”

แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์นี้ใช้หลักการเส้นความยากจนของเฮนเดอร์สัน (Henderson Poverty Line) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ประมาณการว่า บุคคลที่ไม่มีครอบครัวจะตกอยู่ในภาวะยากจน หากมีเงินดำรงชีพน้อยกว่า 561 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์
ภายใต้โครงการเงินสวัสดิการจ๊อบซีกเกอร์อัตราปัจจุบัน ผู้ที่ไม่มีครอบครัวจะได้รับเงิน 620.80 ดอลลาร์ต่อสองสัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน เป็นต้นไป

นางแอน รัสตัน (Anne Ruston) รัฐมนตรีด้านบริการสังคม ไม่เห็นด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินจ๊อบซีกเกอร์จะทำให้ผู้คนมากจำนวนขึ้นถูกผลักลงไปอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน

“เราต้องระวังให้มากเวลาตัดสินอะไรก็ตามเกี่ยวกับความยากจน” นางรัสตันกล่าวต่อสถานีวิทยุเอบีซีเมื่อต้นสัปดาห์

นางรัสตันระบุว่า มีความช่วยเหลือจากรัฐบาลอีกหลายรูปแบบนอกเหนือจากจ๊อบซีกเกอร์

“เราไม่ต้องการให้คนอาศัยสวัสดิการผู้ว่างงาน” นางรัสตันกล่าว

“สิ่งหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้คือ นี่จะเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่นำทางโดยธุรกิจ”

รองศาสตราจารย์เบน ฟิลลิปส์ (Ben Phillips) จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University: ANU) กล่าวว่า แม้ในออสเตรเลียจะไม่มีเส้นความยากจนที่ตกลงร่วมกัน แต่หลักฐานยังคงชี้ว่า เงินสวัสดิการจ๊อบซีกเกอร์ไม่เพียงพอข้ามเส้นเหล่านี้

“ยังมีเส้นค่อนข้างชัดเจนในแง่ที่ว่าใครมีเงินพออยู่รอดได้ และใครไม่มี” รองศาสตราจารย์ฟิลลิปส์กล่าว

“ลองพิจารณามาตรการพวกนั้น... ค่อนข้างชัดเจนว่าจำนวนเท่านั้นไม่เพียงพอที่จะใช้ชีวิตแบบที่คนส่วนใหญ่เรียกว่ามีความมั่นคงทางการเงินหรือมีมาตรฐานการดำรงชีพในระดับที่ยอมรับได้”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 1 April 2021 4:45pm
By Tom Stayner
Presented by Phantida Sakulratanacharoen


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand