บริการกฎหมายฟรีให้ลูกจ้างผู้อพยพที่ถูกโกงค่าจ้าง

NEWS: บริการ Migrant Employment Legal Service จะให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย รับเป็นตัวแทนทางกฎหมาย และให้ความรู้ด้านกฎหมายชุมชน แก่ลูกจ้างผู้อพยพที่กำลังถูกนายจ้างเอาเปรียบเรื่องค่าจ้าง

ขณะนี้ นักเรียนต่างชาติและผู้ที่มาอาศัยอยู่ในออสเตรเลียด้วยวีซ่าระยะสั้น ที่กำลังเผชิญการถูกนายจ้างเอาเปรียบ จะสามารถรับความช่วยเหลือทางกฎหมายได้ฟรีผ่านโครงการงบประมาณ 1.6 ล้านดอลลาร์ ที่เพิ่งเปิดตัวในรัฐนิวเซาท์เวลส์เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมานี้

ให้คำแนะนำทางกฎหมาย เป็นตัวแทนทางกฎหมาย และให้ความรู้ด้านกฎหมายชุมชน โดยเป็นฟรีการฟรี ให้แก่ผู้อพยพย้ายถิ่น ที่ตกเป็นเหยื่อการขโมยค่าจ้างจากนายจ้าง หรือถูกไล่ออกจากงานอย่างไม่ยุติธรรม

MELS เป็นโครงการร่วมระหว่างศูนย์กฎหมาย 4 แห่งได้แก่ศูนย์กฎหมายอินเนอร์ ซิตี ลีกัลป์ เซนเตอร์ (Inner City Legal Centre)  ศูนย์กฎหมายเรดเฟิร์น ลีกัล เซนเตอร์ (Redfern Legal Centre) ศูนย์กฏหมายคิงส์ฟอร์ด ลีกัล เซนเตอร์ (Kingsford Legal Centre) และศูนย์กฎหมายมาร์ริกวิลล์ ลีกัล เซนเตอร์ (Marrickville Legal Centre) ซึ่งขณะนี้ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายฟรีแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ศูนย์ตั้งอยู่

ด้วยงบประมาณ 1.6 ล้านดอลลาร์จากรัฐบาลสำหรับระยะเวลา 3 ปี MELS จะขยายการให้บริการแก่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่ถือวีซ่าชั่วคราวทั่วรัฐนิวเซาท์เวลส์

คุณชาร์มิลลา บาร์กอน ทนายความด้านกฎหมายการจ้างงานของศูนย์กฎหมายเรดเฟิร์น ลีกัล เซนเตอร์ กล่าวว่า บริการใหม่นี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากลูกจ้างผู้อพยพย้ายถิ่นนั้น มีความเสี่ยงมากเป็นพิเศษที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบในที่ทำงานจากนายจ้าง

“ธุรกิจที่ไม่มีจรรยาบรรณจะเอาเปรียบลูกจ้าง ด้วยการเสนองานที่จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดอย่างมาก” คุณบาร์กอน กล่าว

“นี่กดดันให้ลูกจ้างผู้อพยพย้ายถิ่นต้องละเมิดเงื่อนไขในวีซ่าของพวกเขา เราได้เห็นผู้ถือวีซ่าบางประเภท ถูกบีบให้ต้องทำงานเป็นเวลามากกว่า 40 ชั่วโมงต่อ 2 สัปดาห์ ตามข้อกำหนดที่อนุญาตให้พวกเขาทำได้ตามกฎหมาย” คุณบาร์กอน ยกตัวอย่าง

“หากลูกจ้างผู้อพยพเหล่านั้นร้องเรียน นายจ้างก็จะขู่ว่า พวกเขาจะถูกเนรเทศออกนอกประเทศ นี่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมของการนิ่งเฉยไม่ปริปากเกี่ยวกับเรื่องนายจ้างขโมยค่าจ้าง และการเอาเปรียบลูกจ้างในรูปแบบอื่นๆ”

แคเทอรีนา ซึ่งเป็นนักเรียนต่างชาติ กล่าวว่า เธอได้ค่าจ้าง 12 ดอลลาร์ และ 14 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ในช่วงที่เธอทำงานในซิดนีย์เมื่อมาถึงออสเตรเลียใหม่ๆ โดยงานดังกล่าวทั้งสองงานที่เธอทำเป็นงานในร้านกาแฟ
Kateryna is an international student who says she was underpaid at work.
Kateryna is an international student who experienced underpayment at work. Source: SBS
“ฉันได้รับเงินค่าจ้างเป็นเงินสด” แคเทอรีนา กล่าว “ไม่มีสัญญาใดๆ เป็นลายลักษณ์อักษร ฉันไม่เคยจดบันทึกรายละเอียดชั่วโมงที่ฉันทำงาน ซึ่งความจริงแล้วฉันควรจะทำ และนายจ้างของฉันก็ไม่ได้บันทึกรายละเอียดเหล่านั้น”

“ฉันไม่มีใครมาบอกว่าสิ่งเหล่านั้นมันดูแปลกๆ มีพิรุธ หรือมันผิดไปจากปกติ เพราะฉันรายล้อมไปด้วยผู้คนที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน”

รายการเดอะ ฟีด (The Feed) ของเอสบีเอส ได้คุยกับนักเรียนต่างชาติคนอื่นๆ ที่ได้รับค่าจ้างในอัตราเหมือนๆ กันคือ ราว 12-14 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ขณะทำงานด้านการให้บริการต้อนรับ (hospitality) ในซิดนีย์ แต่ความจริงแล้ว อัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศอยู่ที่ 19.84 ดอลลาร์ ต่อชั่วโมง (อัตราตั้งแต่ 1 ก.ค. 2020 เป็นต้นมา) ซึ่งไม่รวมค่าจ้างเพิ่มพิเศษสำหรับการทำงานในวันหยุด (weekend penalty rate)

อัยการสูงสุดของรัฐนิวเซาท์เวลส์คือ นายมาร์ก สปีกแมน ที่เป็นประธานในงานเปิดตัวบริการ MELS กล่าวว่า บริการนี้จะช่วยเติมเต็มบริการด้านกฎหมายที่ลูกจ้างผู้อพยพย้ายถิ่น ที่ถือวีซ่าชั่วคราวต้องการ

“การแพร่หลายของการที่นายจ้างขโมยค่าแรงลูกจ้างในออสเตรเลียนั้นน่าประหลาดใจ” นายสปีกแมน กล่าว

“ไม่เพียงแต่ในธุรกิจขนาดเล็กต่างๆ หรือในงานเก็บเกี่ยวพืชผักผลไม้ แต่เรายังได้เห็นในธุรกิจใหญ่ด้วยเช่นกัน”
นายสปีกแมนคาดว่าจะมีผู้คนราว 1,000 คนที่จะสามารถเข้ารับความช่วยเหลือด้านกฎหมายได้ผ่านบริการ MELS ในแต่ละปี

“ผู้คนทั่วไปจำนวนมากที่มีปัญหาด้านกฎหมาย แต่ปัญหานี้นั้นรุนแรงอย่างมากสำหรับผู้ที่ถือวีซ่าชั่วคราว ที่เผชิญทั้งความท้าทายด้านวีซ่า ความท้าทายด้านภาษา ความท้าทายด้านวัฒนธรรม และไม่รู้ว่าจะไปขอรับคำปรึกษาด้านกฎหมายฟรีได้จากที่ใด” นายสปีกแมน กล่าว

“ลูกจ้างทุกคนในออสเตรเลียควรได้รับค่าจ้างตามที่พวกเขามีสิทธิได้รับ และโครงการนี้จะช่วยอย่างมากในการทำให้นายจ้างที่เอาเปรียบลูกจ้าง ต้องได้รับผิด”

แคเทอรีนา ซึ่งขณะนี้เป็นเจ้าหน้าที่อาสาสมัครที่ศูนย์กฎหมายเรดเฟิร์น ลีกัล เซนเตอร์ กล่าวว่า หากตอนนั้น เธอรู้สิทธิของตัวเอง และรู้ว่าจะขอรับความช่วยเหลือได้ที่ใด เธอคงจะไม่ปล่อยให้นายจ้างเอาเปรียบ

“ฉันหวังว่าทุกคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้จะลองมารับความช่วยเหลือ ขอให้ถามคำถามต่างๆ ที่สงสัย และอย่ากลัวที่จะขอรับความช่วยเหลือ”

ขณะนี้ นั้นเริ่มให้บริการแก่ประชาชนในนิวเซาท์เวลส์แล้ว คุณสามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับบริการ MELS ได้ทางหรือโทรศัพท์ไปที่หมายเลย 02 8002 1203 เพื่อนัดเวลาพบทนายความ

สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าตนเองตกเป็นเหยื่อการถูกนายจ้างขโมยค่าจ้างในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของออสเตรเลีย สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติม และขอรับความช่วยเหลือได้จากองค์กร
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

 


Share
Published 13 December 2019 1:20pm
Updated 18 May 2021 5:45pm
By Sam Langford
Presented by SBS Thai
Source: The Feed

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand