ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำท่ามกลางอากาศร้อนจัดกว่า 45 องศาในหลายพื้นที่ทั่วออสเตรเลีย

ในขณะที่วันนี้คลื่นความร้อนจะพัดผ่านหลายพื้นที่ของออสเตรเลียและอาจมีอุณหภูมิถึง 45 องศา ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าสิ่งสำคัญคือต้องเตรียมตัวทั้งแผนระยะสั้นและระยะยาวเพื่อรับมือกับความร้อน

A large number of people spread across a beach in an orange haze

หลายพื้นที่ของออสเตรเลียอุณหภูมิจะแตะ 45 องศาไปจนถึงอาทิตย์หน้า Source: Getty / Laura Reid

ตั้งแต่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ออสเตรเลียเผชิญกับความร้อนอบอ้าว เนื่องจากมีคลื่นความร้อนแผ่ปกคลุมทั่วประเทศ โดยอุณหภูมิในบางพื้นที่จะสูงถึงเกิน 40 องศาเซลเซียส

จากข้อมูลของ คาดการณ์ว่าบางส่วนของรัฐนิวเซาท์เวลส์ วิกตอเรีย ควีนส์แลนด์ เซาท์ออสเตรเลีย และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี อาจเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงถึง 45 หรือ 46 องศาเซลเซียส

ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการประกาศเตือนห้ามจุดไฟอย่างสิ้นเชิง และคำเตือนเกี่ยวกับคลื่นความร้อนรุนแรงทั่วประเทศ ที่กินวงกว้างในหลายพื้นที่ตั้งแต่ทางตอนเหนือไปจนถึงฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย
นักอุตุนิยมวิทยาอาวุโสของ BoM ดีน นาร์รามอร์ กล่าวในรายการ ABC Weekend Breakfast ว่าคลื่นความร้อนในวันอาทิตย์จะปกคลุมไปที่รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐนิวเซาท์เวลส์ภายในประเทศ และรัฐวิกตอเรียตอนเหนือ

และในวันจันทร์ คลื่นความร้อนจะแผ่ปกคลุมทั่วรัฐวิกตอเรียและนิวเซาท์เวลส์ ทำให้พื้นที่ในประเทศบางส่วนอาจมีอุณหภูมิเกิน 45 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิทู่งขึ้นจากคลื่นความร้อนดังกล่าวคาดว่าจะดำเนินต่อไปในสัปดาห์หน้าในหลายพื้นที่ของออสเตรเลีย โดยบางส่วนของควีนส์แลนด์ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี คาดว่าจะมีอุณหภูมิสูงต่อเนื่องไปจนถึงปลายสัปดาห์หน้า

จากข้อมูลของ BoM คาดการณ์ว่าออสเตรเลียตลอดฤดูร้อนปีนี้ ออสเตรเลียจะมีอุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย โดยจะร้อนผิดปกติในช่วงกลางคืน

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าความเครียดจากความร้อนสามารถคร่าชีวิตผู้คนได้มากกว่าภัยธรรมชาติอื่นๆ WHO กล่าวว่า

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความร้อนจัดสามารถกระตุ้น "ทำให้โรคประจำตัวรุนแรงขึ้น เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน สุขภาพจิต โรคหอบหืด และยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุและการแพร่เชื้อของโรคติดเชื้อบางชนิด"

เช่นเหตุการณ์ในยุโรป ในปี 2023 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 47,000 รายเนื่องมาจากความร้อน จากรายงานของ Copernicus Climate Change Service ของสหภาพยุโรป ระบุว่า อัตราการเสียชีวิตจากความร้อนเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา

แพทย์และนักวิจัยนโยบายสาธารณะจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (The Australian National University) ดร.อาร์นาเกรตตา ฮันเตอร์ บอกกับเอสบีเอสนิวส์ว่า ชาวออสเตรเลียอาจไม่เข้าใจความเสี่ยงที่เกิดจากความร้อน เนื่องจากคลื่นความร้อนเป็นส่วนหนึ่งของ "จิตสำนึกระดับชาติ" ของเรา ดร. ฮันเตอร์ ชี้ว่า

“ฉันไม่คิดว่าคนออสเตรเลียตระหนักว่าความร้อนจากคลื่นความร้อนนั้นอันตรายแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลของเรา”

ควรทำอย่างไรในช่วงหน้าร้อน

มีวิธีต่างๆ ที่ทำให้ร่างกายเย็นลงและหลีกเลี่ยงผลกระทบร้ายแรงด้านสุขภาพจากความร้อนได้

สภาสภาพภูมิอากาศ (The Climate Council) แนะนำวิธีหลีกเลี่ยงความร้อนไว้หลายวิธี เช่น การอยู่ในพื้นที่ในร่มที่มีอากาศเย็น ในบ้านหรือพื้นที่สาธารณะ เช่น ห้องสมุดหรือศูนย์การค้า โดยเปิดพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ ทำงานกลางแจ้งให้เสร็จตั้งแต่ตอนเช้า ดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และหมั่นตรวจสอบแผนเตรียมรับคลื่นความร้อนของเทศบาลในพื้นที่ของคุณ

ดร. ฮันเตอร์กล่าวว่าการเฝ้าระวังสภาพอากาศเชิงรุกและการทำความเข้าใจผลกระทบของทั้งความร้อนและความร้อนชื้น เป็นการตั้งรับและเตรียมตัวด้านความปลอดภัยที่สำคัญสำหรับช่วงที่มีคลื่นความร้อน และจะมีความจำเป็นมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
แม้ว่าเด็กและผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อความร้อนมากกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างไรก็ตามทุกคนสามารถได้รับผลกระทบจากความร้อนได้เท่าเทียมกัน เช่นคนที่ทำงานกลางแจ้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับความร้อนได้ง่าย

เนื่องจากการทำงานกลางแจ้งต้องเผชิญกับความร้อนโดยตรง ดร. ฮันเตอร์กล่าวว่าการดูแลตนเองเป็นสิ่งสำคัญที่อุตสาหกรรมนั้นๆ จะต้องแน่ใจว่าคนงานได้รับการคุ้มครองและคำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพ  ดร. ฮันเตอร์ ชี้ว่า

“นั่นหมายถึงการงดทำงานเป็นเวลานานท่ามกลางอุณหภูมิที่ร้อนจัด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคนงานสามารถพักในสภาพแวดล้อมที่สามารถทำให้อุณภูมิร่างกายเย็นลงได้ มีการตรวจสอบอุณหภูมิ และให้แน่ใจว่ามีการดูแลเรื่องการดื่มน้ำให้เพียงพอ”

ดร. ฮันเตอร์กล่าวว่าการพิจารณาสภาพแวดล้อมรอบตัวในช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัดเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
“มันเป็นการดูแลซึ่งกันและกัน จะทำอย่างไรให้สภาพแวดล้อมที่คุณอยู่มีอากาศเย็นและทำให้แน่ใจว่าผู้คนสามารถพักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่เย็นสบายได้”

“ข้อได้เปรียบคือการรู้จักเพื่อนบ้าน รู้จักชุมชนของเรา รู้ว่าใครอยู่บนถนนของเรา และเอื้อเฟื้อต่อพวกเขาเมื่อสภาพอากาศเลวร้าย”

การวางผังเมืองเพื่อรับมือกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น

รองศาสตราจารย์คณะวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นซิดนีย์ เอียน ไรท์ บอกกับเอสบีเอสนิวส์ว่าเขาเชื่อว่านครต่างๆ จำเป็นต้องมีแผนรับมือเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาระยะยาว เพื่อช่วยให้ผู้คนจัดการกับความร้อน รวมถึงการมีสถานที่หลบพักที่เย็นสบาย และการเข้าถึงการแหล่งน้ำที่สามารถว่ายน้ำได้มากขึ้น

รองศาสตราจารย์ ไรท์ กล่าวว่าการขาดแคลนแหล่งน้ำที่ผ่านมาตรฐานการเป็นปัญหาใหญ่โดยเฉพาะทางตะวันตกของซิดนีย์

“เรามีแม่น้ำแต่เราไม่สามารถว่ายน้ำโดยปลอดภัยได้ และมันรวมถึงสวนสาธารณะและสระว่ายน้ำที่เราน่าจะสามารถไปว่ายน้ำได้เหมือนตามชายทะแล มันเป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างไม่เท่าเทียม”
A beach with sand, parasols and people sitting. The water is visible, with people swimming in it.
การเข้าถึงแหล่งน้ำที่มีความปลอดภัยสำหรับว่ายน้ำ ได้รับการเสนอแนะว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาระยะยาวที่มีความเท่าเทียม เพื่อแก้ปัญหาความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น Source: AAP / Dan Himbrechts
การขาดแคลนพื้นที่สาธารณะที่มีร่มเงาในเมืองต่างๆ ของออสเตรเลียก็เป็นปัญหาสำหรับผู้คนที่ต้องการหาที่หลบพักร้อนในเขตเมืองเช่นกัน

งานวิจัยที่เผยแพร่เมื่อต้นปีนี้พบว่า 8 เมืองทั่วโลก รวมถึงเมลเบิร์นและซิดนีย์ มีต้นไม้ที่ให้ร่มเงาไม่เพียงพอ แม้ว่าจะมีต้นไม้จำนวนมากก็ตาม

จากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications พบว่าในขณะที่เมืองส่วนใหญ่มีทัศนียภาพที่มีต้นไม้ปกคลุม แต่ยังขาดต้นไม้ที่ให้ร่มเงา (เทียบจากข้อกำหนดที่ว่า ร้อยละ 30 ของชุมชนต้องมีต้นไม้ที่ให้ร่มเงา)

LISTEN TO
Settlement Guide: Silent killers: Heatwaves and skin damage in the Australian summer image

Settlement Guide: ร้อนนี้ระวังคลื่นความร้อนและผิวไหม้แดด

SBS Thai

14/12/202010:43
จากการศึกษาตัวอย่างของเมืองใหญ่ต่างๆ จำนวน 8 แห่ง พบว่า มีเพียงนครซีแอตเทิลและประเทศสิงคโปร์เท่านั้นที่ผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ดังกล่าว

รองศาสตรจารย์ ไรท์กล่าวว่าการวางผังเมืองในเมืองต่างๆ ในออสเตรเลียจำเป็นต้องพิจารณาถึงการมีต้นไม้ที่ให้ร่มเงา

"ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่อันร่มรื่นที่เรียงรายไปด้วยต้นไม้ของสิงคโปร์ นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของการวางผังเมืองที่ดี เราน่าจะวางกรอบการพัฒนาที่เข้มงวดมากขึ้นในนครซิดนีย์ ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม เราน่าจะปรับปรุงให้มันดีขึ้นได้”

LISTEN TO
thai_water safety RNF image

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำวิธีเล่นน้ำให้ปลอดภัยในหน้าร้อน

SBS Thai

28/12/202309:56
นอกเหนือจากความสามารถในการเข้าถึงแหล่งน้ำและร่มเงาแล้ว รองศาสตรจารย์ ไรท์ยังกล่าวอีกว่าเมืองต่างๆ ในออสเตรเลียจำเป็นต้องติดตั้งระบบน้ำดื่มสามธารณะซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นโดยเฉพาะช่วงที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นในขีดที่สามารถเป็นอันตราย

"การมีบริการน้ำดื่มกรองด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เย็นและสะอาด ตามทางเดินหน้าหาดหรือทางเลียบตามแม่น้ำ น่าจะเป็นเรื่องที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก"

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 16 December 2024 1:42pm
By Elfy Scott
Presented by Chayada Powell
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand