เตือนเภสัชกรออสฯ หยุดจ่ายสินค้าโฮมีโอพาธี

NEWS: กำลังมีการเตือนเภสัชกรไม่ให้จ่ายยา “ทางเลือก” หรือโฮมีโอพาธี หากไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่แสดงให้เห็นว่าจะเป็นการรักษาที่ได้ผล

Image of homeopathic preparations by Pixabay

ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ไม่มีประสิทธิผล และมีความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิเสธหรือรับการรักษาซึ่งทราบว่าปลอดภัยและได้ผลทว่าเป็นไปโดยล่าช้า Source: Pixabay

You can read the full version of this story in English on SBS News .

หน่วยงานสูงสุดซึ่งเป็นตัวแทนของเหล่าเภสัชกรกำลังกระตุ้นเตือนให้สมาชิกนั้นหยุดขายผลิตภัณฑ์ “ทางเลือก” และโฮมีโอพาธีแก่ผู้ป่วยหากว่าไม่มีพยานหลักฐานทางการแพทย์ที่แสดงให้เห็นว่าสามารถรักษาหรือป้องกันความเจ็บป่วยได้

สมาคมเภสัชกรรมแห่งออสเตรเลีย (Pharmaceutical Society of Australia หรือ PSA) ได้ทำการเรียกร้องดังกล่าว ภายใต้แนวทางปฏิบัติหกข้อใหม่ ซึ่งได้รับการเผยแพร่โดยเป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ที่กว้างขวางโดยกลุ่มเอ็นพีเอสเมดิซินไวส์ (NPS Medicine Wise) เพื่อสนับสนุนให้ผู้เชี่ยวชาญทางคลินิกและผู้ป่วยนั้นพูดคุยเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา และหัตถการต่างๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ใดๆ

โดยพีเอสเอได้กล่าวว่า หากผู้ป่วยเลือกซื้อการรักษาแบบโฮมีโอพาธีซึ่งไม่มีพยานหลักฐานว่าได้ผล ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก็ควรจะทำการพูดคุย ถึงการขาดประโยชน์ของการรักษาเหล่านั้นและอาจยังเป็นการที่ผู้ป่วยนำสุขภาพของตนเองเข้าเสี่ยง

แนวทางการปฏิบัติยังได้เร่งกระตุ้นให้เหล่าเภสัชกรนั้นไม่แนะนำยาที่มีลักษณะเสริมการรักษา หรือ “ทางเลือก” เช่นวิตามินต่างๆ ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและการรักษาด้วยกลิ่น นอกเสียจากว่ามีหลักฐานว่ามีประโยชน์

“เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โฮมีโอพาธีนั้น ไม่มีพยานหลักฐานที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับประสิทธิผล” ประธานระดับชาติของ PSA ดร. คริส ฟรีแมน กล่าว

“ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพควรจะใช้เวลาเพื่อหารือกับผู้บริโภคทางสุขภาพที่กำลังใช้หรือพิจารณาว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ถึงการไม่มีประสิทธิผลใดๆ และความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิเสธหรือรับการรักษาซึ่งทราบว่าปลอดภัยและได้ผลทว่าเป็นไปโดยล่าช้า”

แนวทางปฏิบัติของพีเอสเอยังได้เร่งให้เภสัชกรนั้นไม่จ่ายยาปฏิชีวนะซ้ำ หากไม่ตรวจสอบเสียก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่

โดยแนวทางปฏิบัติกล่าวว่า ถึงแม้ว่ายาปฏิชีวนะซ้ำนั้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษาภาวะเรื้อรังต่างๆ การใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมก็อาจส่งผลให้การติดเชื้อนั้นลุกลาม และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะ

แนวทางปฏิบัติระบุว่า “ในหลายๆ กรณี ผู้ป่วยนั้นมักจะขอให้มีการจ่ายยาปฏิชีวนะซ้ำโดยไม่มีการปรึกษาหารือกับแพทย์ผู้รักษาของพวกเขาเสียก่อน และบางครั้งก็เป็นระยะเวลายาวนานแล้วหลังจากที่เขียนใบสั่งยาใบแรก”

“หากมีการขอให้มีการจ่ายยาปฏิชีวนะซ้ำ ให้พิจารณาถึงความเหมาะสมทางคลินิกของคำขอ”

ข้อแนะนำอื่นๆ ยังครอบคลุมเกี่ยวกับยานอนหลับรวมถึงยากลุ่มเบนโซไดอะซีพีน (benzodiazepines) และคำเตือนเพื่อให้มีการติดตามผู้คนซึ่งใช้ยาเป็นจำนวนตั้งแต่ห้าขนานขึ้นไป

Share
Published 13 December 2018 10:26am
Updated 13 December 2018 10:31am
By AAP-SBS
Presented by Tanu Attajarusit
Source: AAP, Pixabay, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand