เจาะลึก 2 วีซ่าพื้นที่ส่วนภูมิภาคออสฯ ชนิดใหม่

NEWS: เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศใช้ 2 วีซ่าสำหรับพื้นที่ส่วนภูมิภาคออสเตรเลียชนิดใหม่ อีกหนึ่งเส้นทางสู่การเป็นพีอาร์ของแรงงานอพยพแบบมีทักษะ ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การได้เป็นพลเมืองออสเตรเลียในอนาคต

The forecast assumes the overall migration program will be delivered at around 160,000 in most years with a one-third to two-third balance in favour of the skill stream

The QLD state nominating body has closed the skilled program owing to a “significant backlog” of applications Source: SBS

คุณอยากมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลียใช่หรือไม่ ข่าวดีก็คือคุณมีช่องทางใหม่ในการอพยพสองทาง แต่มีข้อแม่อยู่อย่างหนึ่งว่า คุณต้องอาศัยและทำงานในพื้นที่ส่วนภูมิภาค

หากคุณมีคุณสมบัติพร้อม นี่จะเป็นประตูสู่การได้เป็นประชากรถาวร (พีอาร์) และหลังจากนั้นไม่กี่ปี คุณก็จะสามารถยื่นเอกสารขอรับสัญชาติออสเตรเลียได้

ตั้งแต่เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (16 พ.ย.) รัฐบาลออสเตรเลียประกาศว่า ผู้อพยพที่มีคุณสมบัติพร้อมและตกลงที่จะทำงานและอาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนภูมิภาคของออสเตรเลีย จะสามารถเข้าถึงวีซ่าที่มีเงื่อนไขดังกล่าวได้สองประเภท โดยมีรายชื่อสาขาอาชีพนับร้อย ซึ่งรวมถึงอาชีพอย่างเจ้าหน้าที่อสังหาริมทรัพย์ นักข่าว นักบัญชี เจ้าหน้าที่กู้ภัย ผู้ผลิตภาพยนตร์ และนักประวัติศาสตร์ ที่จะสามารถสมัครเพื่อขอวีซ่าดังกล่าวได้

ผู้ที่ได้รับวีซ่าพื้นที่ส่วนภูมิภาคเหล่านั้น จะสามารถยื่นขอสถานะประชากรถาวรได้ หากพวกเขาสามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้อาศัยและทำงานอยู่ในพื้นที่ส่วนภูมิภาคเป็นเวลา 3 ปี

รายละเอียดสองวีซ่าใหม่

  • วีซ่าทักษะส่วนภูมิภาค (Subclass 491: Skilled Work Regional Visa) ที่จะมุ่งเน้นไปยังผู้ที่ได้รับการคัดเลือกโยรัฐบาลของรัฐหรือเขตแดนต่าง ๆ หรือได้รับการสปอนเซอร์โดยสมาชิกในครอบครัวที่มีคุณสมบัติ เพื่ออาศัยและทำงานอยู่ในพื้นที่ส่วยภูมิภาคของออสเตรเลีย 
  • วีซ่าทักษะส่วนภูมิภาคแบบมีนายจ้างเป็นสปอนเซอร์ (Subclass 494: Skilled Employer Sponsored Visa) ที่จะมุ่งเน้นไปยังผู้อพยพที่ได้รับการสปอนเซอร์จากนายจ้างในพื้นที่ส่วนภูมิภาคของออสเตรเลีย 

ข้อดี

รัฐบาลออสเตรเลียได้ปรับปรุงขอบเขตการกำหนดพื้นที่ส่วนภูมิภาคของออสเตรเลียในจุดประสงค์เพื่อวีซ่าดังกล่าวให้มีความเข้าใจง่ายขึ้น โดยพื้นที่ทั่วออสเตรเลีย ยกเว้นนครซิดนีย์ เมลเบิร์น และนครบริสเบนนั้น ได้รับการจัดประเภทให้มเป็นพื้นที่ส่วนภูมิภาค ในแง่ของการอพยพย้ายถิ่น

นี่จะหมายถึง ผู้อพยพยย้ายถิ่นที่มีคุณสมบัติพร้อมจะสามารถอยู่ในพื้นที่ส่วนภูมิภาคอย่าง วอลลองกอง (Wollongong) นิวคาสเซิล (Newcastle) และจีลอง (Geelong) ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองใหญ่อย่างซิดนีย์หรือเมลเบิร์น นอกจากนี้ ยังมีนครโกลด์โคสต์ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างจากนครบริสเบนไม่มากนัก ซึ่งหากขับรถก็จะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง

นายฮวน รินคอน (Juan Rincon) ตัวแทนด้านการอพยพย้ายถิ่นกล่าวกับเอสบีเอส ภาคภาษาสเปนว่า เมืองเหล่านี้มีความมั่นคงเป็นอย่างดีที่จะเป็นประโยชน์ให้กับทุก ๆ คน ภายใต้การเปลี่ยนแปลงใหม่นี้

“ผู้อพยพที่อยู่ในพื้นที่ส่วนภูมิภาคจะมีคุณสมบัติในการรับการครอบคลุมโดยเมดิแคร์ (Medicare) ซึ่งจะลดอัตราค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตสำหรับหลายครอบครัว” นายรินคอนอธิบาย 

นอกจากนี้ เด็กเล็กยังได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงการศึกษาจากภาครัฐอีกด้วย

“เห็นได้ชัดว่า หลายรัฐให้ความสนใจในเรื่องนี้ ซึ่งมันจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองขนาดเล็ก” นายรินคอนกล่าวเสริม
Gold Coast is now considered as a regional area for 491 and 494 Visa subclass consideration.
นครโกลด์โคสต์ได้รับการจัดประเภทให้เป็นพื้นที่ส่วนภูมิภาค ในเกณท์การพิจารณาบนวีซ่า 491 และ 494 Source: Pixabay / DroneImagineNation

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับนักศึกษาต่างชาติ

นอกจากนี้ ตัวแทนด้านการอพยพยังกล่าวอีกว่า สำหรับนักศึกษาต่างชาติ จะมีการออกวีซ่าให้สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาในพื้นที่ส่วนภูมิภาค ที่จะต่อเวลาที่สามารถอาศัยอยู่ในออสเตรเลียต่อเป็น 3 หรือ 4 ปี ในบางกรณีที่นักศึกษาได้ลงเรียนในหลักสูตรที่ใช้เวลาศึกษาเป็นเวลาสองปีในพื้นที่ส่วนภูมิภาคของออสเตรเลีย

นอกจากนี้ เขายังได้กล่าวเสริมว่า “ในหลายรัฐ มีโครงการเสนอชื่อเพื่อขอรับสถานะประชากรถาวรในบรรดาผู้สำเร็จการศึกษา ดังนั้น การมาเรียน (ในพื้นที่ส่วนภูมิภาค) ยังเป็นอีกช่องทางในการได้เป็นประชากรถาวรในออสเตรเลีย”

เขตนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี

ที่เขตนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีได้มีการมอบโอกาสที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่พูดภาษาอื่นนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ เนื่องจากอุตสาหกรรมหลายด้านที่พัฒนามากขึ้น อย่างอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เกษตรกรรม เหมือง พลังงานทดแทน และอุตสาหกรรมอวกาศ 

นายมาร์ติน เฟอร์เรย์รา (Martin Ferreyra) ผู้อำนวยการออสเทรด เขตนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (AUSTRADE NT) กล่าวกับเอสบีเอส ภาคภาษาสเปนว่า ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเขตนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีนั้นมอบโอกาสที่มีความเฉพาะตัวให้กับตลาดอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งในออสเตรเลีย และในนานาประเทศ

“พื้นที่ทางตอนใต้ของเขตนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีนั้นมีการเข้าถึงตลาดต่าง ๆ ซึ่งงมีผู้คนอยู่ราว 24 ล้านคนจากทั่วออสเตรเลีย ประกอบกับระยะทาง 5 ชั่วโมงจากดาร์วิน ซึ่งมีตลาดที่มีผู้คนราว 400 ล้านคนจากทางประเทศในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศจีน” นายเฟอร์เรย์ราอธิบาย

ข้อเสีย: ข้อกำหนดของวีซ่า และการขาดแคลนด้านโครงสร้างพื้นฐาน

หนึ่งในความยากลำบากที่ผู้อพยพภายใต้วีซ่าใหม่นี้ยังต้องพบเจอ คือเงินเดือนขั้นต่ำสำหรับยื่นขอสถานะประชากรถาวร (พีอาร์) ที่ถึงแม้ผู้อพยพจะอาศัยและทำงานในพื้นที่ส่วนภูมิภาคครบ 3 ปีตามที่กำหนดแล้ว ยังต้องมีเงินเดือนขั้นต่ำตั้งแต่ $59,300 ดอลลาร์ต่อปีหรือมากกว่า จึงจะสามารถยื่นขอเป็นพีอาร์ได้ ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่สถาบันการอพยพย้ายถิ่นออสเตรเลีย (Migration Institute of Australia) ได้แสดงข้อตำหนิ

การเตรียมพื้นที่ส่วนภูมิภาคให้พร้อมรับผู้อพยพที่จะเข้ามา

การวิจัยโดย นายแอนเดรียส เซบูลลา (Andreas Cebulla) และนายจอร์จ แทน (George Tan) นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแอดิเลด ชี้ให้เห็นว่า โครงการผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะของออสเตรเลียไม่บรรลุศักยภาพทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยผู้อพยพจำนวนมากไม่พบโอกาสที่พวกเขามองหา หรือโอกาสที่ตรงกับประสบการณ์

จากการเก็บข้อมูลแบบสอบถามผู้อพยพย้ายถิ่นมีทักษะ 1,700 คน ที่อาศัยอยู่ในรัฐเซาท์ออสเตรเลีย โดยมหาวิทยาลัยแอดิเลด เปิดเผยว่า ร้อยละ 53 ของผู้อพยพย้ายถิ่นมีทักษะที่ทำแบบสอบถาม บอกว่าพวกเขาไม่ได้ใช้ศักยภาพและความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ ส่วนอีกร้อยละ 44 บอกว่าพวกเขาทำงานที่แตกต่างไปจากงานที่พวกเขาใช้ยื่นขอวีซ่า

นอกจากนี้ ยังมีผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 15 ที่ ไม่มีงานทำในช่วงเวลาที่ทำแบบสอบถามนี้ และในช่วงเวลาส่วนใหญ่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย ซึ่งส่งผลให้อัตราการว่างงานในรัฐเซาท์ออสเตรเลียเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า จากการอ้างอิงบทความของนายเซลูลลาและนายแทน ที่ได้มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ The Conversation

การศึกษาดังกล่าวพบว่าความไม่ตรงกันอย่างมีนัยยะสำคัญ ระหว่างความคาดหวังของผู้อพยพย้ายถิ่นใหม่ และความเป็นจริงในตลาดงาน ทั้งในแง่ของตำแหน่งงานที่มีอยู่ และในแง่ของความคาดหวังจากลูกจ้างและนายจ้าง

ผู้อพยพย้ายถิ่นมีความสับสนและความผิดหวังในสิ่งที่เกิดขึ้น หลังจากได้ใช้ความพยายามอย่างมาก ตั้งแต่การขอวีซ่าไปจนถึงการย้ายมาอยู่อาศัยที่ออสเตรเลีย หลายคนคิดว่าจะมีงานให้พวกเขาทำ

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามยังเชื่อว่า พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติจากนายจ้างเนื่องจากไม่มีประสบการณ์ทำงานในท้องถิ่น

การเลือกปฏิบัติ และอคติแบบไม่รู้ตัว

จากประสบการณ์ของนายรินคอน มีผู้อพยพย้ายถิ่นจำนวนมากที่มาจากภูมิหลังทางวัฒนธรรม ศาสนา และภาษาที่แตกต่าง ซึ่งรายงานการถูกเลือกปฏิบัติในพื้นที่ส่วนภูมิภาคบางส่วน

สิ่งที่ผู้อพยพย้ายถิ่นหลายคนบอกเล่าให้เขาฟังเป็น “ความจริงที่น่าเศร้า”

“มันไม่ใช่คำถามในแง่การให้ความรู้ผู้อพยพย้ายถิ่นเพียงเท่านั้น แต่มันเป็นคำถามถึงการสอนให้ชุมชนในวงกว้างต้อนรับผู้อพยพย้ายถิ่น และนั่นจะเป็นการลงทุนขนาดให้ญในการผสานวัฒนธรรม”

เพื่อช่วยบรรเทาอุปสรรคในเรื่องดังกล่าว นายฮวน รินคอน เชื่อว่า รัฐบาลสหพันธรัฐควรลงทุนให้มากขึ้นในแง่ของสมรรถภาพทางวัฒนธรรม เช่นเดียวกับเรื่องเชิงโครงสร้าง ซึ่งจะเป็นการการสร้างโอกาสทางอาชีพที่มากขึ้นของผู้อพยพย้ายถิ่น เช่นเดียวกันการสร้างกลุ่มบรรดานายจ้างที่มีคุณภาพ

สำหรับนายรินคอนแล้ว นี้เป็นสิ่งที่ทำให้พื้นที่ส่วนภูมิภาคมีความน่าสนใจ

ความล่าช้าในเชิงปฏิบัติ

หนึ่งในบรรดาหน่วยงานรับรองวีซ่าพื้นที่ส่วนภูมิภาคเปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า รัฐบาลรัฐนิวเซาท์เวลส์ได้หน่วงเวลาการเสนอชื่อผู้ที่จะได้รับวีซ่า ซึ่งจะใช้ระบบคะแนนในการตัดสิน ที่มีกำหนดใช้ในช่วงต้นปี 2020

จากรายงานของเอบีซี เปิดเผยว่า Riverina Regional Development Australia โครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนภูมิภาคยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดตัวโครงการใด ๆ แม้จะมีตำแหน่งวีซ่าสำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้ว

ด้วยโฆษกคลังรัฐนิวเซาท์เวลส์กล่าวกับเอบีซีว่า รัฐบาลรัฐนิวเซาท์เวลส์นั้นกำลังพิจารณากระบวนการเสนอชื่อสำหรับวีซ่าชนิดใหม่นี้อย่างรอบคอบ และจะให้ความคืบหน้า “ในเวลาที่เหมาะสม”

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นการให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น หากคุณต้องการคำแนะนำเฉพาะสำหรับกรณีของคุณ ขอให้ตรวจสอบข้อมูลกับกระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย หรือติดต่อทนายความด้านกฎหมายตรวจคนเข้าเมือง หรือติดต่อตัวแทนดำเนินการด้านวีซ่า ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในออสเตรเลีย

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่

Share
Published 22 November 2019 5:11pm
Updated 13 December 2019 9:55am
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS Spanish


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand