'อย่าจับพอสซัม' แพทย์เตือนหลังพบผู้ป่วยติดเชื้อไข้กระต่าย

พบผู้ป่วยในรัฐนิวเซาท์เวลส์ติดเชื้อไข้กระต่ายที่มีความอันตรายและแพร่กระจายง่าย หลังถูกพอสซัมกัดและข่วน แพทย์เตือนหากพบพอสซัมห้ามสัมผัส

環尾負鼠(ringtail possum)

環尾負鼠(ringtail possum) Source: AAP

หน่วยงานสุขภาพรัฐนิวเซาท์เวลส์​ระบุว่า เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบหญิงคนหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนเหนือของนครซิดนีย์ เริ่มมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต เหนื่อยล้า และเจ็บคอ หลังถูกตัวริงเทลพอสซัม (ringtail possum) กัดและข่วน 

ขณะที่การตรวจทางพยาธิสภาพยังคงดำเนินต่อไป เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยว่าหญิงคนดังกล่าวเป็นโรคไข้กระต่าย

“หากคุณพบเห็นสัตว์ป่าได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเจ็บป่วย อย่าสัมผัสหรือพยายามช่วยเหลือ โปรดติดต่อผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มช่วยเหลือสัตว์ป่าท้องถิ่น หรือสัตวแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาต” นางคีรา กลาสโกว (Keira Glasgow) รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านโรคติดต่อ จากหน่วยงานด้านสุขภาพรัฐนิวเซาท์เวลส์กล่าว 

ทั้งนี้ นางกลาสโกวกล่าวอีกว่า โรคไข้กระต่าย หรือทูลารีเมีย (tularaemia) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่พบยาก ซึ่งสามารถติดต่อสู่คนจากสัตว์ที่ติดเชื้อ แต่ไม่สามารถติดต่อระหว่างคนสู่คนได้ โรคนี้สามารถแพร่กระจายได้ง่ายมาก แต่ผู้คนส่วนมากสามารถฟื้นฟูอาการได้อย่างเต็มที่ หากได้รับยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม 

ด้วยอาการของโรคไข้กระต่ายจะปรากฏภายใน 2 สัปดาห์ หลังได้รับเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งรวมถึงไข้ขึ้นสูง ตัวสั่นเทา เหนื่อยง่าย ปวดตามร่างกาย เวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน หากผู้ป่วยได้รับเชื้อทางผิวหนัง ผ่านการกัดหรือข่วน จะมีอาการเปื่อยยุ่ยที่บริเวณแผลรวมอยู่ด้วย

“หากคุณรู้สึกไม่สบายด้วยอาการเหล่านี้หลังจากสัมผัสตัวพอสซัม โดยเฉพาะยิ่งหากคุณถูกกัดหรือข่วน มันสำคัญมากที่คุณจะได้รับการช่วยเหลือทางการแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ” นางกลาสโกวกล่าว
Ringtail Possum.
อย่าจับพอสซัม Source: San Diego Zoo
จนถึงปัจจุบัน มีผู้ป่วยโรคไข้กระต่ายเพียง 2 คนในออสเตรเลีย ซึ่งทั้งสองรายถูกพอสซัมกัดและข่วนในรัฐแทสเมเนียเมื่อปี 2011 ขณะที่จำนวนสัตว์ที่ติดเชื้อดังกล่าวในออสเตรเลีย มีเพียงพอสซัมเพียง 2 ตัวเท่านั้น ซึ่งป่วยตายในปี 2002 และปี 2003 ตามลำดับ ในพื้นที่แพร่เชื้อ (คลัสเตอร์) ที่แตกต่างกัน  

หน่วยงานด้านสุขภาพรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าวอีกว่า ยังไม่มีผู้เสียชีวิตในออสเตรเลียจากโรคไข้กระต่าย ขณะที่เชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคมีความอันตรายน้อยกว่า หากเทียบกับที่พบในทวีปอเมริกาเหนือ

ทั้งนี้ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าทารองกา (The Taronga Conservation Society) ในสำนักทะเบียนด้านสุขภาพสัตว์ป่าของออสเตรเลีย (Australian Registry of Wildlife Health) กำลังร่วมมือกับหน่วยงานด้านสุขภาพรัฐนิวเซาท์เวลส์ ในการสอบสวนการติดเชื้อครั้งนี้ต่อไป

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร ให้ตรวจสอบข้อจำกัดในรัฐของคุณเกี่ยวกับการรวมกลุ่มกัน

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ

เอสบีเอสมุ่งมั่นให้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 แก่ชุมชนหลากหลายภาษาในออสเตรเลีย เรามีข่าวและข้อมูลเป็นภาษาต่างๆ 63 ภาษาที่เว็บไซต์ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 21 May 2020 10:30am
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand