ต่อจากนี้ทีมหมู่ป่าอาจเผชิญกับอุปสรรคที่ท้าทายที่สุด

EDITOR'S CHOICE: หลังจากที่ติดอยู่ในถ้ำเป็นเวลากว่าสองสัปดาห์ อุปสรรคต่อไปของทั้งโค้ชและผู้เล่นทั้ง 12 คนก็คือการรักษาตัว

ภาพสมาชิกทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย

ภาพสมาชิกทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สายทั้ง 13 คน Source: Reuters Image Grab/Facebook/Ekapol Chantawong

ทั่วโลกต่างใจจดจ่อกับการกู้ชีพผู้เล่นฟุตบอลเยาวชนทั้ง 12 คนและโค้ชของพวกเขาจากถ้ำที่ประเทศไทย – แต่สิ่งที่ยากลำบากที่สุดสำหรับพวกเขานั้นก็อาจเป็นช่วงการรักษาตัว

เด็กๆ 8 คนแรกที่ได้รับการกู้ชีพนั้นมีอายุระหว่าง 11 ถึง 16 ปี และในตอนนี้ก็ “มีสุขภาพดีโดยทั่วๆ ไปและยิ้มแย้มแจ่มใส” ทั้งยังรับประทานอาหารปกติได้แล้วที่โรงพยาบาล หลังจากติดอยู่ใต้ดินกว่าสองสัปดาห์ โดยมีเด็กจำนวนสองคนซึ่งสงสัยว่าอาจมีการติดเชื้อที่ปอด และทุกคนนั้นยังคงถูกจำกัดในการที่จะพบตัวบิดามารดาเนื่องจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

แต่นักจิตวิทยาก็กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า ความกระทบกระเทือนทางจิตใจนั้นอาจเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่สุดที่จะต้องก้าวข้ามผ่าน

ดร. เมริน เลโควิคซ์ ผู้อำนวยการหน่วยจิตวิทยาเด็กประจำคลินิกของมหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์เมื่อวันอังคาร (11 ก.ค.) ว่า ความเสี่ยงต่อชีวิตและความปลอดภัยนั้น อาจเป็นสิ่งที่ “ยากลำบากอย่างมาก และน่าวิตกกังวล สำหรับเด็กๆ”

ทีมฟุตบอลดังกล่าวได้ติดอยู่ในเครือข่ายของถ้ำหลวง โดยปราศจากอาหาร แสงสว่างจากธรรมชาติ และไม่ทราบเลยว่าจะได้รับการช่วยเหลือเมื่อไร หรือจะได้รับความช่วยเหลือหรือไม่
ขณะนี้เด็กๆ ได้ออกจากถ้ำมาแล้ว (AAP)
ขณะนี้เด็กๆ ได้ออกจากถ้ำมาแล้ว (AAP) Source: AAP
แต่เธอก็เน้นย้ำในแง่มุมที่ว่า ทางทีมนั้นดูจะมีสภาวะทางจิตใจที่ดี หรือ “in good spirit” เมื่อนักประดาน้ำได้เข้าไปพบตัว

“(การที่มีสภาวะทางจิตใจที่ดี)นั้น อาจช่วยให้พวกเขาคงตัวให้อยู่ในความสงบ หรืออาจมุ่งเน้นที่จะสงวนพละกำลังเอาไว้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีเมื่อคำนึงถึงระยะเวลายาวนานซึ่งพวกเขาอยู่ที่นั่น โดยมันจะช่วยป้องกันไม่ให้มีความรู้สึกสิ้นหวัง” ดร. เมริน เลโควิคซ์  กล่าว

ทั้งยังอาจช่วยให้พวกเขานั้น “พัฒนาแนวคิดต่อเรื่องของการฟื้นฟู และเรื่องความแข็งแกร่ง ในประสบการณ์ครั้งนี้”

ไม่มีประโยชน์ที่จะตื่นตระหนก

คุณไบรอัน อีวานส์ ผู้ประสานงานของคณะกรรมการกู้ชีพจากถ้ำแห่งออสเตรเลีย (The Australian Cave Rescue Commission) ก็กล่าวย้ำว่า “สภาพจิตใจที่สงบนิ่งและมุ่งมั่น” นั้นอาจเป็นสิ่งที่ช่วยเด็กๆ

“ดูแล้วเหมือนกับว่า ทีมนักประดาน้ำและก็โค้ชของพวกเขานั้น ได้ทำหน้าที่อย่างยอดเยี่ยมในการเป็นที่พึ่งของพวกเขา” คุณอีวานส์กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“ในการสำรวจถ้ำ คุณจำเป็นต้องมอบความไว้วางใจให้กับผู้คนรอบๆ ตัวคุณ และจากมุมมองของเด็กๆ  พวกเขาก็น่าจะรู้สึกดีต่อสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้ยนต่อไปในข้างหน้า”

“หากคุณนั้นติดอยู่ไม่ว่าจะในลักษณะใดก็ตาม มันก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะแก้ไขมันอย่างไร และหลุดพ้นจากสถานการณ์นั้นออกมาให้ได้ ไม่มีประโยชน์ที่จะตื่นตระหนกและกระวนกระวายไปๆ มาๆ เพราะหินผาต่างๆ นั้นก็จะไม่มีวันขยับเขยื้อน”
เด็กๆ สี่คนแรกหลุดพ้นจากถ้ำและถูกนำไปยังโรงพยาบาลโดยเฮลิคอปเตอร์
เด็กๆ สี่คนแรกหลุดพ้นจากถ้ำและถูกนำไปยังโรงพยาบาลโดยเฮลิคอปเตอร์ (AAP) Source: AAP
ดร. เลโควิคซ์ คาดว่าขณะนี้เด็กๆ นั้นจะเผชิญกับการปรับตัวเป็นระยะเวลาหลายเดือน ซึ่งเธอก็กล่าวว่ามันไม่ “ผิดปรกติหรือแปลกประหลาด” หลังจากที่ได้รับความกระทบกระเทือน

“กลุ่มอาการต่างๆ [ของการปรับตัว] อาจรวมถึงความเครียดทางอารมณ์ ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ... ความเปลี่ยนแปลงต่อการอยากอาหาร ระดับการทำกิจกรรมต่างๆ ระดับของกำลังวังชา หรือต่อสมาธิ” เธออธิบาย

“ผู้คนเกือบทั้งหมดจะพบว่า กลุ่มอาการเหล่านี้จะลดน้อยลงในช่วงเดือนต่อๆ ไป”

“สำหรับบางคน พวกเขาอาจประสบกับอาการต่างๆ ซึ่งรุนแรงขึ้นหรืออาการของความทุกข์ที่ชัดเจน ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ อาจเกี่ยวพันกับภาวะความเครียดผิดปกติหลังเหตุสะเทือนใจ (post-traumatic stress disorder) ความวิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้า"

“ซึ่งสำหรับบุคคลเหล่านี้ ดิฉันคิดว่ามันสำคัญอย่างมากที่จะให้มีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ และมีการให้ความช่วยเหลือตามที่จำเป็น เพื่อให้พวกเขานั้นเดินหน้าต่อไปได้ในการรักษาตัว”

ถึงการรักษาทางการแพทย์จะเป็นปัจจัยที่สำคัญ แต่ดร. เลโควิคซ์ก็เน้นย้ำว่า การเป็นที่พึ่งโดยครอบครัวนั้น ก็สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

“จะมีผู้คนจำนวนหลายล้านคนจากทั่วโลกซึ่งติดตามเรื่องราวนี้ และเฝ้ามองความเป็นไปด้วยความคิดอันมีความหวังและความปรารถนาดีต่อเด็กๆ กลุ่มนี้” เธอกล่าว

“มันอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับพวกเราในตอนนี้ที่จะบอกว่า จะมีผลกระทบอะไรเกิดขึ้นบ้าง และจะมีความยากลำบากอะไรบ้างสำหรับเด็กๆ ในเรื่องที่จะฟื้นฟูรักษาตัว”

“มันสำคัญอย่างมาก ที่เราพึงหตระหนักไว้ว่า พวกเขานั้นจำเป็นจะต้องกลับเข้าไปสู่สังคมของพวกเขาอีกครั้งหนึ่ง”


Share
Published 11 July 2018 10:09am
Updated 11 July 2018 2:58pm
By Sophie Gidley
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand