รัฐบาลออสฯ พิจารณาปรับรายชื่ออาชีพผู้ขอวีซ่าทักษะยกแผง

NEWS: รัฐบาลออสเตรเลียเดินหน้าพิจารณาปรับรายชื่ออาชีพสำหรับผู้ขอวีซ่าทักษะ รับตลาดแรงงานขยาย-เศรษฐกิจโต คาดแล้วเสร็จ มี.ค.2020

Australia's top-10 highest earning jobs.

Source: AAP/ Getty Images

รัฐบาลได้ให้คำมั่นในการยกเครื่องระบบรับเข้าแรงงานแบบมีทักษะ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการแรงงานจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมบางภาคส่วน

นางมิเคเลีย แคช (Michaelia Cash) รัฐมนตรีด้านการจ้างงานและทักษะ ได้ประกาศการพิจารณาของรัฐบาลในครั้งนี้ เพื่อตอบรับกับข้อกังวลในรายชื่ออาชีพปัจจุบันราว 500 รายการ ที่ไม่สะท้อนกับความต้องการแรงงานจากต่างประเทศในบางภาคส่วน
Senator Michaelia Cash in Melbourne
Employment Minister Michaelia Cash says skilled migration is needed to support the government $100 billion infrastructure roll out. Source: AAP
“เรารับทราบถึงข้อกังวลเหล่านั้น และได้ให้คำมั่นเพื่อที่จะทำให้แน่ใจว่า ไม่มีกำแพงใดมาขวางกั้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องของออสเตรเลีย” นางแคชกล่าว

การพิจารณารายการอาชีพ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ยังเล็งเป้าไปที่การทำให้แน่ใจว่า จะมีคนทำงานที่เพียงพอเพื่อมาสนับสนุนโครงการระบบสาธารณูปโภค มูลค่า $100,000 ล้านดอลลาร์ ที่มีระยะเวลา 10 ปี

“ลูกจ้างแบบมีทักษะเป็นส่วนหนึ่งของความมั่งคั่งของประเทศนี้ตลอดมา แต่เราจำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่า เรานำลูกจ้างที่เหมาะสมเข้ามาเติมตำแหน่งงานที่ยังขาดคน” นางแคชกล่าว

เมื่อปีงบประมาณที่ผ่านมา ออสเตรเลียได้อนุมัติวีซ่าสำหรับลูกจ้างแบบมีทักษะไป 80,000 ราย โดยอาชีพในหมวดสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นสาขาอาชีพที่มีความนิยมสูงสุด

แต่อย่างไรก็ตาม งานประเภทใหม่ อย่างนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) ที่กำลังมีความต้องการคนทำงาน อาจไม่สามารถเพิ่มในรายการอาชีพซึ่งถูกกำกับดูแลโดยมาตรฐาน ANZSCO (Australian and New Zealand Standard Classification of Occupations) ซึ่งไม่ได้รับการปรับปรุงมาตั้งแต่ปี 2013

นายจารอด บอล (Jarod Ball) ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งออสเตรเลีย กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวสร้างความยากลำบากให้กับนายจ้าง โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

“ตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในตลาดแรงงาน มีอาชีพใหม่ๆ มากมายที่ไม่สามารถนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศได้โดยง่าย หากยึดตามรายชื่ออาชีพในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องจัดการ” นายบอลกล่าว 

ขณะที่โครงการรับผู้มีความสามารถจากทั่วโลกมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย (Global Talent Scheme) ได้มีการนำมาใช้เพื่อพยายามให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยี อย่างเช่น ธุรกิจสตาร์ทอัพ ไปจนถึงการจ้างคนทำงานที่มีทักษะสูงจากต่างประเทศ นายบอลกล่าวว่า งานเหล่านั้นควรที่จะสะท้อนกับระบบการรับผู้อพยพย้ายถิ่นแบบมีทักษะกระแสหลัก

มุ่งเป้าส่งแรงงานสู่พื้นที่ชนบท

การพิจารณารายการอาชีพในครั้งนี้ จะพิจารณางานโดยแยกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ที่ครบคลุมลูกจ้างแบบมีทักษะชั่วคราว (Temporary Skilled Worker) แรงงานที่อาศัยอยู่ระยะกลาง (Medium-long term stay) และอาชีพในพื้นที่ชนบท (Regional occupations) 

ในส่วนหนึ่งของนโยบาย “ลดความแออัด” มีการออกประเภทวีซ่าใหม่ เพื่อดึงดูดให้ผู้อพยพย้ายถิ่นไปอาศัยและทำงานในพื้นที่ชนบท
Lawyers predict a 50 per cent increase in the number of migrants who will face deportation under the government's proposed changes.
รัฐบาลต้องการให้แรงงานที่มีทักษะจากต่างประเทศไปอยู่อาศัยในพื้นที่ชนบทมากกว่าในเมืองใหญ่ Source: AAP
นอกจากนี้ นายบอลกล่าวอีกว่า มีผลลัพธ์ที่ค่อนข้างคละเคล้ากันไปในแง่ความสำเร็จของความพยายามเพิ่มจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นที่ไปอาศัยและทำงานในพื้นที่ชนบทครั้งก่อน

“ผู้คนจะรับโอกาสนี้ ในการไปอาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทเป็นระยะสั้น และอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี หรือตามเงื่อนไขใดก็ตาม และจะย้ายเข้ามาในเมืองใหญ่เพื่อที่มาทำงานที่มีทักษะสูงกว่า และได้รับค่าตอบแทนมากกว่า” นายบอลกล่าว 

การปรึกษากับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ยังคงดำเนินการ โดยคาดว่ารายชื่อสาขาอาชีพจะได้รับการปรับปรุงภายในเดือนมีนาคม ปี 2020

ทั้งนี้ โครงการรับผู้อพยพย้ายถิ่นของออสเตรเลียมีข้อกำหนดว่า วีซ่าสำหรับอาศัยและทำงานถาวรในออสเตรเลียจะต้องได้รับการอนุมัติให้ผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะไม่เกิน 2 ใน 3 ของผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะทั้งหมด

รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can check out the full version of this story in English on SBS News website .

Share
Published 5 September 2019 2:24pm
Updated 5 September 2019 5:03pm
By Rosemary Bolger
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand