3 หนังผีไทยได้รับเลือกฉายในเทศกาล ‘Spotlight on Thai Horror’ ในออสเตรเลีย

ACMI (Australian Centre for the Moving Image) หรือ พิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลียได้จัดโปรแกรม ‘Spotlight on Thai Horror’ และทำการฉายภาพยนตร์แนวสยองขวัญของไทย 3 เรื่อง เพื่อเปิดตัวต้อนรับฮาโลวีนในช่วงต้นเดือนตุลาคมนี้ที่ออสเตรเลีย

Nang Nak Tai Entertainment.jpeg

ภาพยนตร์เรื่อง “นางนาก” ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่ฉายในโปรแกรม ‘Spotlight on Thai Horror’ ของพิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลีย ACMI Credit: Supplied/ACMI


“หนังผีของไทยไม่เพียงแต่เป็นภาพยนต์ที่มอบความบันเทิง แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย”

นี่เป็นประโยคชวนคิดตาม จากรายงานจากนิตยสารศิลปวัฒนธรรมฉบับ เดือน เมษายน 2566 โดยอ้างอิงมาจากการเสวนาหัวข้อ“ความสำคัญของหนังผีในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย” ณ หอประชุมใหญ่ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม วันที่ 30 31 มีนาคม 2566 (2023)

จากงานเสวนาดังกล่าว โดย ผศ. ดร. สุกัญญา สมไพบูลย์ รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่าระหว่างปี พ.ศ. 2540-2547 ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของภาพยนตร์ไทย เนื่องจากในปี 2542 ภาพยนตร์เรื่อง “นางนาก” กำกับโดยนนทรีย์ นิมิบุตร ประสบความสำเร็จทั้งในและนอกประเทศ ทำให้ภาพยนตร์ผีไทยเริ่มเป็นที่สนใจในแวดวงของเทศกาลหนัง กลุ่มของคนดูหนังระดับนานาชาติ

Nang Nak Tai Entertainment.jpeg
ภาพยนตร์เรื่อง “นางนาก” ได้รับเลือกเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่ฉายในโปรแกรม ‘Spotlight on Thai Horror’ ของพิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลีย ACMI Credit: Supplied/ACMI

โดยจุดเด่นของเรื่องนางนากคือเป็นเรื่องที่เต็มไปด้วยความสมจริงโดยการศึกษาบริบทสังคมขณะนั้น เช่น การแต่งตัว ทรงผม คำพูด ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้ช่วยหนุนให้เรื่องนางนากประสบความสำเร็จอย่างมาก

จนกระทั่งต่อมาได้มีการพัฒนาพล็อตของเรื่องอื่นๆ ให้ร่วมสมัย โดยที่ “ผี” สามารถอยู่ในบริบทของเมืองและใช้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมมาเป็นจุดดำเนินเรื่อง ซึ่งหนังผีรูปแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจนอย่างมากในหนังชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ที่สร้างปรากฏการณ์ครั้งใหญ่ให้กับวงการภาพยนตร์ผีไทยอีกครั้งหนึ่ง

เผยว่านอกจากตลาดซีรีย์ Y ที่เป็นที่นิยมแล้ว ตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดเอเชีย เช่นในประเทศใต้หวันมีการตอบรับหนังผีไทยดีมากไม่ว่าจะเป็นเรื่อง นางนาก ไปจนถึง ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ, แฝด, ลัดดาแลนด์, พี่มากพระโขนง และร่างทรง ต่างก็ทำรายได้สูงจากการเข้าฉายในไต้หวัน

จากผลสำเร็จนี้ทำให้ สคต. มีการต่อยอดในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสินค้าและบริการจากไทยซึ่งเป็นการส่งเสริมและใช้ประโยชน์จากซอฟต์พาวเวอร์ ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง

'หนังผี' ซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่ออสเตรเลีย

หรือ พิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลีย ได้จัดโปรแกรม ‘Spotlight on Thai Horror’ ได้คัดเลือกหนังผีไทยที่ทำเงินมาแล้วทั่วโลก 3 เรื่องคือ นางนาก ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ และ เพื่อน..ที่ระลึก มาฉายในการเปิดตัวต้อนรับฮาโลวีนในต้นเดือนตุลาคมนี้ที่ออสเตรเลีย

ACMI poster 2.jpeg
โปรแกรม ‘Spotlight on Thai Horror’ ของพิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลีย หรือ ACMI Credit: Supplied/Chayada Powell

คุณ ลอรี เฟลตเชอร์ จากทีมคัดเลือกโปรแกรมภาพยนต์ของ ACMI เปิดเผยกับกับเอสบีเอสไทยว่าปัจจุบันผู้ชมเปิดรับมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับชมภาพยนต์ที่มาจากต่างภาษาและวัฒนธรรม และสาเหตุที่ภาพยนตร์สยองขวัญจากประเทศไทยสามารถเข้าไปนั่งในใจคนดูในต่างประเทศได้ก็เพราะว่าภาพยนตร์สยองขวัญไทยนำเสนอ มุมมองและแนวคิดใหม่ๆ แก่ผู้ชม คุณเฟลตเชอร์ กล่าวว่า

“เช่นเรื่องชัตเตอร์ ก็มีการใช้กล้องและการถ่ายภาพ ตลอดจนเรื่องราวผีที่มีลักษณะเฉพาะ (และมีเรื่องราวที่คาดไม่ถึง) ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่และไม่เหมือนใครในขณะนั้นและสามารถดึงดูดผู้ชมได้เป็นจำนวนมาก จนทำให้ฮอลลีวูดพยายามจะเลียนแบบการนำเสนอดังกล่าว”

คุณเฟลตเชอร์ บอกว่าเทรนด์ในปัจจุบัน ผู้ชมจะมองหาเรื่องราวและภาพยนตร์ที่มีความประณีต สมจริง และมีความพินิจพิเคราะห์มากขึ้น เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ร่างทรง The Medium ซึ่งมีการถ่ายทำโดยการเล่าเรื่องจากการที่นักแสดงถ่ายทอดเรื่องราวจากวิดีโอซึ่งมีต้นตำรับมาจากภาพยนต์เรื่องดัง The Blair Witch Project
อย่างภาพยนต์เรื่องร่างทรงที่ได้ใส่ความเป็นไทย และยังพาคุณไปสำรวจเรื่องจิตวิญญาณและประเพณีไทย มันทำให้คุณไม่สามารถลุกจากที่นั่งได้เลยทั้งเรื่อง
คุณ ลอรี เฟลตเชอร์ ทีมงานคัดเลือกโปรแกรมภาพยนต์ของ ACMI

จุดเด่นของ หนังผีไทย ในสายตาคนต่างชาติ

ภาพยนตร์สยองขวัญของไทยส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นมาจากนิทานและตำนานพื้นบ้าน ซึ่งทำให้การดำเนินเรื่องมีรสชาติและเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ยากต่อการลอกเลียนหรือเปรียบเทียบกับภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องอื่นๆ

เรามักจะเห็นภาพยนตร์ไทยที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับผีหรือองค์ประกอบเหนือธรรมชาติที่ถูกนำมาประยุกต์กับบริบททางวัฒนธรรมในช่วงเวลาแตกต่างกัน คุณเฟลตเชอร์ เปิดเผยว่า

“แม้ว่าเราจะเห็นการตีความเรื่องผีที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากบริบทของยุคสมัย แต่หนังผีไทยยังคงมีอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่ชัดเจน เช่น การมีอยู่ของผีที่ผูกพันกับขนบธรรมเนียม จิตวิญญาณ และวัฒนธรรมของไทยอย่างแน่นแฟ้น”

Shutter_GMM Pictures Co.jpeg
ภาพยนตร์ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ เป็นหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับการคัดเลือกเข้าฉายในโครงการ ‘Spotlight on Thai Horror’ ที่ พิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลีย ACMI Credit: Supplied/ACMI
นอกจากนี้ คุณเฟลตเชอร์ อธิบายจุดเด่นของภาพยนต์ไทยอีกประการหนึ่งคือ การเล่าเรื่องที่เข้มข้นและสามารถเชื่อมโยงอารมณ์คนดูกับหนัง ซึ่งไม่ใช่แค่แนวสยองขวัญเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงภาพยนตร์ที่เพิ่งออกฉายล่าสุด เช่น How to Make Millions Before Grandma Dies ซึ่งวีธีการเล่าเรื่องดังกล่าวทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกร่วมในเรื่องราวและสามารถดึงคุณเข้าสู่โลกของตัวละครและภาพยนต์ที่ผู้กำกับสร้างขึ้นอย่างไม่รู้ตัว
 

นางนาก ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ และ เพื่อน..ที่ระลึก

คุณเฟลตเชอร์ ชี้ว่าเหตุผลที่เลือกภาพยนตร์ไทยสยองขวัญ 3 เรื่องนี้มาฉายในพิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลียเพราะเป็นภาพยนต์ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และบอกเล่าบริบทของเวลาในภูมิภาคเอเชีย

คุณเฟลตเชอร์ ใหเความเห็นว่า

"โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภาพยนต์ 'Spotlight on Asia Pacific Horror' ที่จะทำให้ผู้ชมได้เห็นภาพรวมของความสยองขวัญจากเอเชียแปซิฟิก โดยทั่วไปจะเน้นที่ภาพยนตร์คลาสสิกหรือภาพยนตร์ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์สยองขวัญในภูมิภาค (ในกรณีนี้คือ นางนาค) หรือภาพยนตร์ที่เพิ่งลงจอ (เพื่อน..ที่ระลึก The Promise) และภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก (ชัตเตอร์ Shutter) โดยเฉพาะยังเป็นการฉลองภาพยนต์เรื่องชัตเตอร์ ครบรอบ 20 ปีด้วย"

The Promise_GDH 559.jpeg
ภาพยนตร์ไทยเรื่อง เพื่อน..ที่ระลึก The Promise เป็นภาพยนตร์ไทยแนวสยองขวัญเรื่องใหม่ที่เพิ่งทำการฉายในประเทศไทยเมื่อปี 2017 Credit: Supplied/ACMI

ความระทึกในโรงภาพยนต์แบบ 4 K เป็นอย่างไร

คุณเฟลตเชอร์ ทีมงานคัดเลือกภาพยนต์ของพิพิธภัณฑ์ภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติของออสเตรเลีย กล่าวว่า ภาพยนต์ทั้ง 3 เรื่องที่ได้รับคัดเลือกมาฉายในออสเตรเลียจะฉายในในโรงภาพยนตร์ในรูปแบบ 4K หรือ ภาพยนตร์ดิจิตอลที่มีความละเอียดของภาพสูง ซึ่งผู้ชมจะได้สัมผัสประสบการณ์เต็มรูปแบบบนหน้าจอขนาดใหญ่

“หวังว่าในอนาคตคุณผู้ชมจะได้รับชมภาพยนต์ไทยเรื่องอื่นๆ อีกรวมถึงภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ที่ ACMI ด้วย” คุณ ลอรี เฟลตเชอร์ จากทีมคัดเลือกโปรแกรมภาพยนต์ของ ACMI ทิ้งท้าย

อ่านรายละเอียดของเทศกาลภาพยนตร์นี้เพิ่มเติมได้ที่ :

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 30 September 2024 3:37pm
Updated 30 September 2024 5:36pm
By Chayada Powell
Presented by Chayada Powell
Source: SBS

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand