ศรัทธาที่เลือนหาย: ทำไมเยาวชนออสเตรเลียจึงปฏิเสธศาสนา

Losing Our Religion: ผู้คนอายุน้อยจำนวนมากเป็นประวัติการณ์หันหลังให้กับศาสนา เอสบีเอสนิวส์ติดตามว่าเพราะเหตุใด

บทความนี้ เป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ห้าตอนเกี่ยวกับศาสนาตลอดทั้งสัปดาห์นี้ทางเอสบีเอสนิวส์

คุณซาบีนา โมซาฟฟาร์ เติบโตในประเทศปากีสถานและถูกเลี้ยงดูให้เป็นชาวมุสลิมที่เคร่งครัด

ตลอดมา เธอมีข้อสงสัยเกี่ยวกับศาสนาของเธอ แต่ก็ไม่รู้สึกสะดวกใจพอที่จะแบ่งปันในเรื่องนี้จนกระทั่งเธอย้ายมาเข้ามหาวิทยาลัยในนครซิดนีย์

ตอนนี้ เธอจัดเป็นบุคคล อเทวนิยม หรือ ผู้ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า

“แค่ถามว่า: ‘หากพระเจ้าเป็นผู้รับผิดชอยต่อสิ่งที่เป็นบวกทั้งหลายในโลกนี้ ทำไมเขาจึงไม่รับผิดชอบต่อสิ่งที่เป็นลบทั้งหลายด้วย?’ พ่อแม่ของฉันก็จะมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่รุนแรง เพราะว่าพวกเขากลัวว่าฉันจะออกจากศาสนาไป” คุณโมซาฟฟาร์ซึ่งมีอายุ 23 ปี กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“เมื่อสุดท้ายแล้วฉันตระหนักว่า ใช่ ฉันเป็นคนอเทวนิยม หรือคนที่ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า ฉันรู้สึกโล่งอก ฉันก็รู้สึกโกรธด้วย เพราะว่าฉันเสียเวลา 21 ปีของชีวิตฉันเชื่อในหลักความคิดที่ตอนนี้ฉันตระหนักแล้วว่าไม่เป็นความจริง และฉันก็ไม่เคยมีส่วนออกความเห็นว่าฉันจะเชื่อเกี่ยวกับอะไร” เธอกล่าว

คุณโมซาฟฟาร์ไม่ใช่คนเดียว ข้อมูลสำมะโนประชากร (Census data) เผยให้เห็นว่า มีชาวออสเตรเลียอายุน้อย จำนวนมากเป็นประวัติการณ์หันหลังให้กับศาสนาของพวกเขา

ในปี ค.ศ. 2001, 19 เปอร์เซ็นต์ของผู้คนอายุต่ำกว่า 24 ปี ระบุว่าไม่มีศาสนา ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 35 เปอร์เซ็นต์ในปี 2016
คุณซาบีนา โมซาฟฟาร์ เติบโตในประเทศปากีสถานในครวบครัวมุสลิมที่เคร่งครัด
คุณซาบีนา โมซาฟฟาร์ เติบโตในประเทศปากีสถานในครวบครัวมุสลิมที่เคร่งครัด (Source: supplied) Source: Source: supplied
นักศึกษามหาวิทยาลัย คุณลิซ่า ชิว เติบโตขึ้นมาในครอบครัวคริสต์ ขณะนี้เธอเป็นนักกิจกรรมด้านอเทวนิยมและเป็นประธานของกลุ่มผู้ไม่มีศาสนา, อเทวนิยม และมานุษยนิยม แห่งมหาวิทยลัยนิวเซาท์เวลส์ (UNSW Agnostics, Atheists and Humanists)

“ดิฉันเริ่มต้นจากการใช้วิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นในการตอบคำถามต่างๆ ไม่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องชี้นำในการทำความดี แต่ใช้สัญชาตญาณของตัวเอง ดิฉันมีจิตใจที่ค่อนข้างจะเป็นอิสระมากกว่า” เธอกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“ศาสนาไม่ใช่ส่วนหนึ่งของตัวตนของฉัน เพราะฉันคิดว่าพ่อแม่ของฉันและปู่ย่าตายายได้ตั้งมั่นว่าศาสนาจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ฉันเป็นคนที่ดีขึ้น”

เธอกว่าวว่าอินเทอร์เน็ต มีอิทธิพลที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของเธอที่จะไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า
คุณลิซ่า ชิว เป็นนักกิจกรรมอเทวนิยม (ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้า) ที่มหาวิทยาลัยของเธอ
คุณลิซ่า ชิว เป็นนักกิจกรรมอเทวนิยม (ผู้ไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า) ที่มหาวิทยาลัยของเธอ (Source: supplied) Source: Source: supplied

ศรัทธาที่เลือนหาย

คุณแคโคล คูแซ็ค ศาสตราจารย์ด้านศาสนศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์กล่าวว่าว ศาสนานั้นไม่ได้เป็นแรงดึงดูดอย่างที่เคยเป็น

“คนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน สร้างตัวตนของพวกเขาเป็นปัจเจกบุคคล มากกว่าที่จะเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนต่างๆ และพวกเขาก็สนใจที่จะแสดงออกถึงความเป็นปัจเจกบุคคลของพวกเขา มากกว่าที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันต่างๆ ซึ่งได้สร้างกฎที่ไม่ยืดหยุ่นหรือสร้างแบบแผนสำหรับพฤติกรรมไว้” เธอกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“วัฒนธรรมทางโลก ได้ค่อยๆ กัดกร่อนวัฒนธรรมศาสนาและผู้คนก็สามารถดำเนินชีวิตของพวกเขาไปได้โดยไม่จำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมกับหน้าที่ทางศาสนาใดๆ เลย”
SBS
(SBS) Source: SBS

การปรับตัวเข้ากับยุคสมัยใหม่

การตื่นตัวของฆราวาสนิยม (การเป็นอิสระจากศาสนา) ได้กระตุ้นให้ผู้นำของศาสนาต่างๆ เปลี่ยนแปลงวิธีที่พวกเขาพูดคุยกับคนอายุน้อยเกี่ยวกับศาสนา

คุณอเดล ซาลมาน จากสภาอิสลามแห่งรัฐวิกตอเรียกล่าวว่า การเข้าถึงทุกพื้นที่ของอินเทอร์เน็ตนั้น ทำให้มีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิมที่ผู้นำศาสนาต่างๆ นั้นจะมีส่วนร่วมกับผู้มีอายุน้อย

“ที่เรากำลังพบเจอนั้นคือ อิหม่ามและชีคหลายๆ ท่านนั้น ไม่พร้อมในการที่จะรับมือกับปรากฏการณ์นี้ แต่ข่าวดีก็คือ พวกเขากำลังเปลี่ยนแปลงเพื่อมีส่วนร่วมอย่างทันสมัยมากขึ้น และให้ข้อมูลซึ่งเยาวชนนอกจากจะเข้าใจแล้วยังยอมรับว่าน่าเชื่อถือ” เขากล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“เรากำลังเปลี่ยนไปจากเพียงแค่มุ่งเน้นในหลักพื้นฐานต่างๆ ของศาสนา และเสาหลักของอิสลาม และอะไรถูกอะไรผิด ไปเป็นการสนทนาเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ และพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาจริงๆ ที่ผู้คนประสบ"

“เยาวชนมุสลิมในออสเตรเลียกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาซึ่งเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของพวกเขาในฐานะชาวมุสลิมคนหนึ่ง และความยากลำบากต่างๆ สำหรับพวกเขานั้นน่าจะเป็นสิ่งที่พิเศษเฉพาะพวกเขา ถ้าจะว่าอย่างนั้น”

อัครมุขนายกแองกลิคันแห่งซิดนีย์ (Sydney Anglican Archichop) เกล็นน์ เดวีส์ กล่าวว่า ลัทธิแองกลิคันนั้นกำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนคำสอนของพระเจ้า เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจต่อเยาวชนรุ่นหลัง

“วัยรุ่นนั้นมักจะตื่นสายในวันอาทิตย์ นั่นก็เป็นจากประสบการณ์ของผมนะ ฉะนั้นโบสถ์ของเราเกือบทั้งหมดจะมีช่วงพิธีทางศาสนาในตอนเย็นหรือตอนบ่ายด้วย เพื่อให้พวกเขาได้มารวมตัวกัน” เขากล่าว

“เรายังคงมีโปรแกรมเข้าค่ายโดยผ่านทางโรงเรียนของรัฐบาลและโรงเรียนแองกลิคันของเราเองด้วย”

Share
Published 17 May 2018 2:27pm
Updated 19 May 2018 1:44am
By Lydia Feng
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand