สรุปผลการประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย 2024 เศรษฐาเชื่อผลการหารือ สร้างประโยชน์ให้ไทย

นายกฯ สัมภาษณ์สรุปผลสำเร็จการเดินทางร่วมประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย ไทยผลักดันความเชื่อมโยง และการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด และสัญญาจะร่วมมือกับภูมิภาค เพื่อความสำเร็จในภูมิภาค

Mr Srettha Thavisin, Prime Minister of Thailand.jpg

การประชุมสุดยอดพิเศษอาเซียน-ออสเตรเลีย พ.ศ. 2567 ฯพณฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของไทย โดยมีนายแอนโธนี อัลบานีซี นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ให้การต้อนรับอย่างเป็นทางการในการประชุมสุดยอดพิเศษอาเซียน-ออสเตรเลีย พ.ศ. 2567 ที่เมืองเมลเบิร์น วันอังคารที่ 05 มีนาคม 2567 Photograph by Leigh Henningham/ASEAN

6 มีนาคม 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชน โดยได้ระบุว่า การเดินทางมาร่วมการประชุมเต็มคณะของผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลีย (Leaders’ Plenary) ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลีย ภายใต้หัวข้อ ASEAN-Australia Cooperation under ASEAN’s Three Community Pillars
53570875465_97bb7848f9_o.jpg
การเดินทางมาร่วมการประชุมเต็มคณะของผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลีย การประชุมใหญ่ของผู้นำในวันสุดท้ายที่เมืองเมลเบิร์น วันพุธที่ 6 มีนาคม 2567 Photograph by Andrew Taylor/ASEAN Credit: Andrew Taylor

โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้เพื่อส่งเสริมถึงความร่วมมือระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย ภายใต้ 3 สามเสาหลักของอาเซียน 1 การเมืองและความมั่นคง 2 เศรษฐกิจ 3 สังคมและวัฒนธรรม และถือเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบความสัมพันธ์ 50 ปีอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน

ครั้งนี้นายกรัฐมนตรีในฐานะตัวแทนประเทศไทย ได้กล่าวถึงสิ่งที่ประเทศไทยพร้อมผลักดัน ในสองด้านหลักได้แก่ 1. ความเชื่อมโยงในมิติต่างๆ Connectivity ได้แก่ การค้าการลงทุน เพิ่มมูลค่าทางการค้าผ่านกรอบความร่วมมือต่างๆ ด้านที่สอง ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ให้เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไร้รอย Seamless ด้านที่สาม ด้านดิจิทัลโดยได้เริ่มพัฒนาเจรจาความตกลง DEFA (Digital Economy Framework Agreement) ซึ่งจะสร้างมูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และในด้านสุดท้ายที่มีความสำคัญมากคือ ด้านประชาชน การติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างประชาชนผ่านการส่งเสริม Soft Power และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการช่วยเหลือด้านการเชื่อมโยงด้านการตรวจลงตราระหว่างกัน และ 2. การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด ซึ่งไทยสามารถร่วมกับ ออสเตรเลีย ทำให้เกิดระบบนิเวศน์ EV ครบวงจร รวมถึงการออก Sustainability bonds

 Mr Srettha Thavisin, Prime Minister of the Kingdom of Thailand.jpg
การประชุมสุดยอดพิเศษอาเซียน-ออสเตรเลีย พ.ศ. 2567 ฯพณฯ เฟอร์ดินันด์ อาร์. มาร์กอส จูเนียร์ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ฯพณฯ ลี เซียนลุง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ และ ฯพณฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำในวันสุดท้ายของการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลียพิเศษ ที่นครเมลเบิร์น วันพุธที่ 06 มีนาคม 2567 Photograph by Andrew Taylor/ASEAN Credit: Andrew Taylor

ด้านนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญของการประชุมว่า นายกรัฐมนตรีพร้อมผู้นำอาเซียนและออสเตรเลีย ต่างยินดีที่อาเซียนและออสเตรเลียได้ร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลีย โดยออสเตรเลียนับเป็นประเทศแรกที่ได้รับสถานะประเทศคู่เจรจาของอาเซียน ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือให้ใกล้ชิดมากขึ้น จนนำไปสู่การยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership) พร้อมเสนอให้ที่ประชุมฯ ใช้โอกาสที่สถานการณ์โลกปัจจุบันได้แบ่งเป็นหลายขั้ว กระชับความร่วมมือทั้งภายในภูมิภาคและระดับโลก เพื่อนำมาซึ่งสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองของอาเซียนและออสเตรเลีย ผ่านการผลักดันความร่วมมือ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ระบุ 2 ประเด็นเร่งด่วนซึ่งจะทำให้เกิดสันติสุข และความมั่นคง ดังนี้

ประการแรก การส่งเสริมความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อในทุกมิติ (seamless connectivity) ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อาเซียนและออสเตรเลียได้ใช้ประโยชน์จากศักยภาพอย่างเต็มที่ ผ่านการสนับสนุนความเชื่อมโยงในมิติต่าง ๆ ดังนี้

1) ความเชื่อมโยงการค้าและด้านการลงทุน ซึ่งจะส่งเสริมมูลค่าทางการค้าระหว่างกัน ผ่านการเชื่อมโยงตลาดการค้าและใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ทั้งกรอบ RCEP และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area: AANZFTA)

2) ความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมการขนส่งอย่างไร้รอยต่อ โดยเสนอให้ออสเตรเลียซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านระบบการจัดการท่าเรือ กระชับความร่วมมือกับอาเซียน ซึ่งอยู่ระหว่างพัฒนาเอกสารแนวทางสำหรับท่าเรืออัจฉริยะ (Guidelines on Smart Ports) รวมทั้งเชิญชวนออสเตรเลียเข้ามาร่วมลงทุนใน โครงการ Landbridge EEC ระบบขนส่งทางราง และสนามบินด้วย

53570875550_cecd28cd81_o (1).jpg
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีของไทย ในการประชุมสุดยอดผู้นำในวันสุดท้ายของารประชุมเต็มคณะของผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลีย (Leaders’ Plenary) ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ออสเตรเลียประจำปี 2567 ที่เมืองเมลเบิร์น วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567 Photograph by Andrew Taylor/ASEAN Credit: Andrew Taylor
3) ความเชื่อมโยงด้านดิจิทัล ผ่านการลงทุนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันอาเซียนกำลังพัฒนากรอบความตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (ASEAN Digital Economy Framework Agreement: DEFA) ที่ถือเป็นกรอบข้อตกลงเศรษฐกิจดิจิทัลฉบับแรกของโลก และคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนได้ 2 เท่า เป็น 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมหวังว่าออสเตรเลียจะใช้ข้อริเริ่มออสเตรเลียสำหรับอาเซียน (Aus4ASEAN) เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล และการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของอาเซียนในอนาคตด้วย

4) ความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ด้วย Soft power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (creative industries) ต้องการการลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ควบคู่กับการส่งเสริมการไปมาหาสู่ระหว่างกันของประชาชน ซึ่งไทยหวังว่าทุนจากออสเตรเลียที่มอบให้นักเรียนในอาเซียน และการจัดตั้งศูนย์ ASEAN – Australia จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรม และการอบรมเพิ่มพูนทักษะ ระหว่างกันมากยิ่งขึ้น รวมทั้งหวังว่าออสเตรเลียจะอำนวยความสะดวกด้านวีซ่าให้กับประเทศในอาเซียน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและการดำเนินธุรกิจระหว่างกันให้สะดวกมากยิ่งขึ้น


ประการที่สอง การส่งเสริมวาระสีเขียวในภูมิภาค โดยสนับสนุนการลงทุนในเศรษฐกิจสีเขียว และการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาด ซึ่งออสเตรเลียสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับอาเซียน ในการสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า การลงทุนในพลังงานที่สะอาดและยั่งยืน การเงินสีเขียวผ่านพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน และการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม รวมทั้งหวังว่าออสเตรเลียจะร่วมแบ่งปันเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในการจัดการคาร์บอน และตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิต เพื่อรองรับยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน (The ASEAN Strategy for Carbon Neutrality)

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าเชื่อมั่นว่าจะเกิดความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคผ่านการมีเป้าหมายร่วมกัน และจะเกิดความร่วมมือ เป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจ เกิดการพัฒนา ซึ่งจะต้องไม่ลืมที่จะต้องรับมือกับ Climate Charge ร่วมกันด้วย โดยประเทศไทยได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะร่วมมืออย่างเต็มที่ในกรอบความร่วมมือนี้ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จของภูมิภาค

โดยในส่วนอื่นๆ นายกรัฐมนตรีได้พบหารือกับผู้นำ 4 ประเทศ ในการพบหารือกับผู้นำลาวได้พูดถึงการค้าชายแดน พบหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้พูดคุยถึงสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเป็นโอกาสให้พูดคุยเรื่องโอกาสซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นด้วยว่าเราควรเริ่มพูดคุยแนวทางการแก้ปัญหาจากการเพิ่มโอกาส ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการลงพื้นที่เมื่อเร็วๆนี้ เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดการขุด Hidden Gem ถือเป็นอีกมิติในการแก้ไขปัญหา และในส่วนของการคบหากับผู้นำออสเตรเลียนั้นได้พูดคุยเรื่องการสนับสนุนการนำเข้าแรงงานไทยมาทำงานด้านการเกษตรที่ออสเตรเลีย และได้ขอบคุณที่ออสเตรเลียที่ดูแลนักเรียนไทยอย่างต่อเนื่องมาตลอด ในการพบหากับนิวซีแลนด์ ได้พูดคุยกันอย่างเป็นกันเองครับทั้งในเรื่องของ Visa Free และในปีนี้ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์มีกำหนดการเดินทางไทยในช่วงเดือนเมษายน

Share
Published 6 March 2024 1:57pm
Updated 6 March 2024 3:04pm
Presented by Warich Noochouy
Source: SBS

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand