Analysis

รัฐทุ่มงบเกือบหมื่นล้าน ยกเครื่องระบบวีซ่านับแต้มแรงงานทักษะ

รัฐงบประมาณจำนวน 84 พันล้านดอลลาร์เพื่อปฏิรูประบบวีซ่าแบบนับแต้มคะแนนของผู้ย้ายถิ่นประเภทแรงงานทักษะ ซึ่งประกอบไปด้วยประเด็นสำคัญสามประการที่จำเป็นต้องแก้ไข

A nurse sets up a monitor in an operating theatre.

มีความเป็นไปว่าขณะนี้จนถึงอีก 10ปี ข้างหน้าออสเตรเลียจะอนุมัติวีซ่าทักษะที่ใช้ระบบนับแต้มคะแนนเกือบ 800,000 ราย Credit: Photoroyalty/Shutterstock


ในขณะที่รัฐบาลอยู่ในระหว่างการหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการปฏิรูประบบนับแต้มคะแนนของผู้สมัครวีซ่าทักษะเพื่อการย้ายถิ่น การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนั้นเป็นการเดิมพันที่ค่อนข้างสูงสำหรับออสเตรเลีย

 เพราะผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะเป็นตัวแปรสำคัญไม่เพียงแต่ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของออสเตรเลีย แต่ยังมีส่วนในการเสริมสร้างและเป็นส่วนหนึ่งในสังคมหลากภาษาและวัฒนธรรมของประเทศ ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของออสเตรเลีย

การใช้ระบบนับแต้มนี้จะให้คะแนนกับผู้สมัครวีซ่าทักษะโดยการให้คะแนนดังกล่าวมีหลายปัจจัยขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะของผู้สมัครแต่ละราย เช่น อายุ ความสามารถทางภาษาอังกฤษ การศึกษา และประสบการณ์การทำงาน

ระบบคิดคะแนนเป็นส่วนสำคัญของโครงการการย้ายถิ่นฐานของผู้สมัครทักษะอาชีพของออสเตรเลีย ซึ่งวีซ่าทักษะที่ใช้ระบบนับแต้มคะแนนนี้คิดเป็นเกือบสองในสามของจำนวนวีซ่าทักษะถาวรทั้งหมดที่ได้รับการอนุมัติในแต่ละปี

มีความเป็นไปว่าขณะนี้จนถึงอีก 10ปี ข้างหน้าออสเตรเลียจะอนุมัติวีซ่าทักษะที่ใช้ระบบนับแต้มคะแนนเกือบ 800,000 ราย อย่างไรก็ตามมีเสียงแย้งว่าระบบนี้ไม่ใช่ระบบการคัดเลือกผู้ย้ายถิ่นที่มีทักษะอาชีพที่ดีที่สุด

จากรายงานล่าสุดชี้ว่าการปรับเปลี่ยนระบบนับแต้มคะแนนของผู้สมัครวีซ่าทักษะแรงงาน จะเป็นการเพิ่มรายได้ของเศรษฐกิจออสเตรเลียในระยะยาว มีการประมาณการว่าอาจสูบฉีดเม็ดเงินแก่รัฐบาลเพิ่มขึ้นกว่า 84 พันล้านดอลลาร์ในอีก 30 ปีข้างหน้า นอกจากนี้แรงงานข้ามชาติยังจะช่วยเสริมสร้างผลิตภาพของเศรษฐกิจออสเตรเลีย

อะไรคือปัจจัยสามประการที่ต้องแก้ไข?

ระบบนับแต้มคะแนนไม่ได้คัดสรรผู้สมัครที่มีทักษะมากที่สุด และมีสิ่งที่ควรปรับเปลี่ยนดังนี้

1 ระบบนับแต้มคะแนนควรเอื้อประโยชน์ให้ผู้สมัครที่มีแนวโน้มที่จะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับออสเตรเลียมากที่สุด โดยที่การการันตีรายได้ดีตลอดชีวิตเป็นปัจจัยเอื้อ

แน่นอนว่ารายได้ไม่ใช่ทุกอย่าง ซึ่งอาจตีค่าไม่ได้ในงานอื่นๆ ที่ไม่ได้รับค่าจ้างหรือทำงานในอาชีพที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าปกติ แต่รายได้ก็เป็นเครื่องชี้วัดที่ดีกว่าอย่างอื่น

รายได้ที่ผู้ย้ายถิ่นที่มีทักษะมีรายได้สูงขึ้นจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับรัฐบาลออสเตรเลียได้มากขึ้นด้วย เนื่องจากผู้อพยพจ่ายภาษีมากขึ้นและพึ่งพาการสนับสนุนจากรัฐบาลน้อยลง


รายได้ที่สูงขึ้นยังมีแนวโน้มที่จะสะท้อนถึงทักษะที่นายจ้างให้ความสำคัญและมีแนวโน้มที่จะเสริมสร้างผลิตภาพให้กับคนงานอื่นๆ ด้วย

 ข้อมูลจากการสำมะโนประชากรออสเตรเลีย(Australian Bureau of Statistics; ABS) ล่าสุดช่วยให้เราสามารถวัดได้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับรายได้ระยะยาวของผู้อพยพแรงงานทักษะหลังจากได้รับอนุมัติวีซ่าได้ถึง 20 ปีให้หลัง

และจากการวิเคราะห์สถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าระดับการศึกษา ความสามารถทางภาษาอังกฤษ ระดับทักษะการประกอบอาชีพ และประวัติรายได้สุทธิที่เคยได้รับในออสเตรเลีย เป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญต่อรายได้ของผู้อพยพในระยะยาวมากที่สุด

แต่ปัจจัยเหล่านี้คิดเป็นคะแนนเพียง 70 จาก 130 คะแนน

ระบบการนับแต้มคะแนนเริ่มไม่เสถียรจากการนับรวมคะแนนที่ไม่จำเป็น

2 ปัญหาข้อต่อมาคือการนับแต้มสำหรับคุณลักษณะที่ไม่มีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลต่อกาประเมินรายได้ตลอดชีวิตของผู้ย้ายถิ่นทักษะอาชีพ

การนับคะแนนที่ว่ารวมถึงการนับคะแนนในการเรียนที่ออสเตรเลีย เพื่อที่ผู้สมัครจะได้รับแต้ม 5 คะแนนมีวุฒิการศึกษาจากออสเตรเลีย และได้แต้มเพิ่มอีก 5 คะแนนหากจบการศึกษานอกเมืองใหญ่ๆ เช่นซิดนีย์ เมลเบิร์น และบริสเบน

แต่ผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีทักษะซึ่งจบการศึกษาในออสเตรเลียมักจะมีรายได้น้อยกว่าประมาณร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีคุณวุฒิเท่ากันได้รับในต่างประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการคิดแต้มเพิ่มสำหรับผู้ที่จบการศึกษาในออสเตรเลียทำให้ลดเกณฑ์ที่จะได้ผู้สมัครที่มีทักษะสูงในสายอาชีพนั้น


ในทำนองเดียวกัน การผลักดันนักศึกษาให้เรียนในส่วนภูมิภาคไม่ได้เป็นการประกันรายได้ของผู้ย้ายถิ่น และไม่ได้รับประกันว่าพวกเขาจะยังอยู่ในพื้นที่เหล่านั้นหลังจากสำเร็จการศึกษา

นอกจากนี้ ผู้ย้ายถิ่นยังได้รับคะแนน 5 แต้มจากจบโครงการพัฒนาวิชาชีพที่ผสมผสานระหว่างการเรียนรู้และประสบการณ์การทำงาน สำหรับนักเรียนต่างชาติที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย

ซึ่งใช้กับสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่สำเร็จการศึกษาสาขาการบัญชี ไอที และวิศวกรรมศาสตร์โดยเฉพาะ และมีค่าใช้จ่ายสูงถึง $15,000 แต่ดูเหมือนว่าข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้เป็นตัวแปรว่าพวกเขาจะมีโอกาสได้รับการจ้างงานหรือมีรายได้มากขึ้นในระยะยาว

นอกเหนือจากนั้นผู้ย้ายถิ่นที่มีทักษะจำนวนมากไม่มีสิทธิสมัครในระบบนับแต้มคะแนน

3 ในปัจจุบันวีซ่าทักษะอาชีพถาวรแบบระบบนับแต้ม จำกัดเฉพาะผู้สมัครที่มีคุณสมบัติในรายชื่อทักษะอาชีพที่สำคัญที่รัฐบาลต้องการ

ข้อจำกัดดังกล่าวเป็นอุปสรรคในการเฟ้นหาผู้สมัครที่มีทักษะสูงจากทั่วโลก มีการสำรวจว่าในปัจจุบันผู้สมัครทักษะอาชีพแบบอิสระกว่า 200อาชีพ ไม่มีสิทธิ์สมัครในระบบคัดเลือกนี้

ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อผู้ย้ายถิ่นทักษะอาชีพได้รับอนุมัติวีซ่าแล้วในระยะยาวส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงานในสายอาชีพตนเองได้วีซ่า

จากการสำรวจพบว่า ภายในหนึ่งปีหลังจากได้รับอนุมัติให้เป็นผู้อยู่อาศัยถาวร ผู้ย้ายถิ่นทักษะอาชีพดังกล่าวเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ทำงานในอาชีพที่พวกเขาเสนอชื่อเมื่อยื่นขอวีซ่า

และภายใน 15 ปี มีเพียงประมาณร้อยละ 40 เท่านั้นที่ทำงานต่อไปในอาชีพที่ได้รับการเสนอชื่อ ซึ่งผู้ย้ายถิ่นมักจะเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นที่มีทักษะสูงกว่าและสามารถใช้ทักษะของตนได้ดีกว่า

การเปลี่ยนแปลงระบบคัดกรองวีซ่าทักษะอาชีพเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลดีกว่าในระยะยาว

ระบบนับแต้มคะแนนที่ปรับปรุงใหม่จะตอบโจทย์ในการคัดเลือกผู้ย้ายถิ่นที่มีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จในออสเตรเลียมากขึ้น ดังนี้:

1 นับแต้มเพิ่ม เป็น 500 คะแนน จากเดิม 130 คะแนน

2 ให้คะแนนเพิ่มสำหรับผู้สมัครที่มีวุฒิการศึกษาสูง มีทักษะภาษาอังกฤษที่ดีเยี่ยม และมีคู่สมรสที่มีทักษะอาชีพด้วย

3 พิจารณาการนับคะแนนที่ละเอียดมากขึ้นตามอายุของผู้สมัคร

4 ยกเลิกการนับแต้มพิเศษสำหรับวุฒิการศึกษาในออสเตรเลีย การจบการศึกษาในส่วนภูมิภาค ปีฝึกงาน และคุณวุฒิการศึกษาเฉพาะทาง

5 ให้แต้มเฉพาะช่วงสองปีแรกของการทำงานในอาชีพที่อาศัยทักษะสูงและการฝึกงานในสาขาที่ได้รับค่าตอบแทนสูง

6 เสนอการใช้ระบบวีซ่าแบบนับแต้มคะแนนให้กับทุกสาขาอาชีพที่ต้องอาศัยใช้ทักษะขั้นสูง

7 กำหนดคะแนนขั้นต่ำสำหรับวีซ่าทักษะอาชีพในระบบนับแต้มเพิ่มเป็น 300 คะแนน และรับประกันคำเชิญให้ยื่นขอวีซ่าแก่ผู้สมัครที่มีแต้มคะแนนอย่างน้อย 400 คะแนน

 
บทความนี้จัดทำโดย ผู้อำนวยการโครงการนโยบายเศรษฐกิจจากสถาบันแกรททัน (Grattan Institute) แบรนดัน โคตส์ และผู้ประสานงานอาวุโสอาวุโสในโครงการนโยบายเศรษฐกิจของสถาบัน Grattan นาตาชา แบรดชอว์ ร่วมด้วยรองผู้อำนวยการฝ่ายการย้ายถิ่นฐานและตลาดแรงงานในโครงการนโยบายเศรษฐกิจของสถาบัน Grattan เทรนต์ วิลท์เชียร์

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



Share
Published 7 June 2024 12:08pm
By Brendan Coates, Natasha Bradshaw, Trent Wiltshire
Presented by Chayada Powell
Source: The Conversation


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand