เชื้อสายพันธุ์เดลตา ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน: ผู้เชี่ยวชาญอธิบาย

เหตุใดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลตาจึงแพร่กระจายได้เร็วเช่นนี้ นพ.สัญจาญา เสนานายาเค แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ อธิบายว่าทำไมและตอบคำถามเกี่ยวกับอัตราการป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาล ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน และสิ่งที่เรียกกันว่าอาการ ลองโควิด (Long Covid)

Olympic Park vaccination hub

Source: James Gourley - Pool/Getty Images

เชื้อสายพันธุ์เดลตากำลังสร้างความท้าทายใหม่ให้แก่ออสเตรเลีย เช่นเดียวกับประเทศอื่นหลายประเทศทั่วโลก

เชื้อสายพันธุ์เดลตา ที่ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ B.1.617.2 ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในประเทศอินเดียในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งนำไปสู่การระบาดที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มทวีคูณหลายเท่าตัว

จากข้อมูลของ โครงการริเริ่มเกี่ยวกับการแบ่งปันข้อมูลด้านผลของเชื้อไวรัสโคโรนาและเชื้อไข้หวัดใหญ่นั้น เชื้อสายพันธุ์เดลตา ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์นี้ ถูกตรวจพบใน 78 ประเทศ และกำลังพบมากในสหราชอาณาจักร อินเดีย และรัสเซีย

ขณะนี้ที่มีการล็อกดาวน์ในหลายส่วนของประเทศออสเตรเลีย เราจึงได้สอบถามนพ.สัญจาญา เสนานายาเค (Sanjaya Senanayake) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อของโรงพยาบาลแคนเบอร์รา และเป็นรองศาสตราจารย์ ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) อธิบายว่า เชื้อสายพันธุ์นี้แพร่กระจายได้อย่างไร และไขความกระจ่างเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน
Kituo cha chanjo katika kitongoji cha Lakemba
A health worker is seen in a medical centre in Lakemba which offers COVID-19 vaccines on July 22, 2021 in Sydney, Australia. Source: Jenny Evans/Getty Images

เชื้อสายพันธุ์เดลตาแพร่ระบาดได้อย่างไร และผู้คนต้องพบปะกันนานเพียงใดเชื้อถึงจะแพร่กระจาย

รศ.นพ.เสนานายาเค: สายพันธุ์เดลตายังคงเหมือนเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ดั้งเดิม ที่ก่อนให้เกิดโรคติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ต้นของการระบาด เพียงแต่เป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดได้มากขึ้น

ตั้งข้อสังเกตว่า เชื้อไวรัสนี้แพร่ระบาดได้ผ่านช่องทางหลักๆ 3 ช่องทางคือ

หายใจเอาอากาศเข้าไป โดยอากาศที่หายใจเข้าไปนั้นมีละอองเสมหะขนาดเล็กจิ๋วและละอองฝอยที่แขวนลอยในอากาศ ซึ่งมีเชื้อไวรัสอยู่ ความเสี่ยงจะมีมากที่สุดหากอยู่ห่างจากผู้ติดเชื้อที่มีอาการที่แพร่เชื้อได้ ในระยะ 1-2 เมตร ซึ่งเป็นระยะห่างที่มีอนุภาคที่มีเชื้อกระจุกตัวอยู่มากที่สุด ความเสี่ยงมักเกิดขึ้นในสถานที่อับอากาศ ซึ่งมีการถ่ายเทอากาศไม่ดี

ละอองเสมหะและอนุภาคที่มีเชื้อปนเปื้อนกระเด็นออกมา และไปตกลงบนจมูก ปาก หรือตาของคุณ เมื่อผู้ติดเชื้อไอหรือจามออกมา

จับหรือสัมผัสปาก จมูก หรือตาของคุณเอง ด้วยมือที่ไม่สะอาด ซึ่งมีเชื้อไวรัสติดอยู่ เช่น ไปจับพื้นผิวของสิ่งของที่มีเชื้อไวรัสติดอยู่

สำหรับประเด็นที่ว่า ผู้คนต้องพบปะกับผู้ติดเชื้อนานเท่าไรจึงมีความเสี่ยงติดเชื้อได้ มีคำอธิบายจากกระทรวงสาธารณสุขของออสเตรเลีย ดังนี้

  • การพบปะกันซึ่งหน้าไม่ว่าจะเป็นเวลานานเท่าไร หรือใช้พื้นที่ปิดร่วมกันอย่างน้อย 1 ชั่วโมงกับผู้ติดเชื้อในระหว่างที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อได้
  • ไปยังสถานที่หรืออยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงแพร่เชื้อได้สูง เช่น เหตุการณ์ที่แพร่เชื้อสู่ผู้คนได้จำนวนมากพร้อมๆ กัน (super-spreading event)
เชื้อสายพันธุ์เดลตานั้นติดต่อกันได้ง่ายกว่าเชื้อสายพันธุ์ที่พบก่อนหน้านี้

เช่น บุคคล 2 คนที่มีเชื้อสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิมอาจสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ 5 คน แต่ 2 คนที่มีเชื้อสายพันธุ์ เดลตาสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ 10 คน

พูดอีกอย่างคือ เชื้อนี้สามารถแพร่กระจายได้มากเป็นสองเท่า เรายังได้เห็นตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผู้มีเชื้อสายพันธุ์เดลตาอาจสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ แม้เพียงอยู่ในสถานที่เดียวกันเป็นช่วงสั้นๆ โดยไม่ได้พบหน้ากันด้วยซ้ำ

เราจะสามารถป้องกันเชื้อสายพันธุ์เดลตาแพร่กระจายได้อย่างไร

รศ.นพ.เสนานายาเค: มีหลายวิธีด้วยกันที่คุณจะสามารถสร้างความแตกต่างได้

  1. หากคุณมีอาการใดๆ ที่อาจเป็นอาการของเชื้อโควิด-19 ไม่ว่าอาการเหล่านั้นจะเล็กน้อยเพียงใด ขอให้ไปรับการตรวจเชื้อและแยกตัวจากผู้อื่นจนกว่าจะได้รับผลการตรวจเชื้อเป็นลบ ดูเหมือนว่าเชื้อสายพันธุ์เดลตาจะก่อให้เกิดอาการเบื้องต้นที่ไม่รุนแรงเท่าเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ ดังนั้น บางครั้งอาการที่เล็กน้อยเช่น น้ำมูกไหล เจ็บคอ หรือปวดศีรษะอาจะเป็นอาการของเชื้อสายพันธุ์เดลตาได้ แน่นอนว่า อาการมีไข้ ไอ และอาการของโควิด-19 อื่นๆ สามารถเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
  2. ใช้แอปพลิเคชีนเช็กอินด้วยระบบคิวอาร์โค้ด เมื่อคุณไปยังสถานที่ต่างๆ นี่จะช่วยให้ง่ายขึ้นที่เจ้าหน้าที่ติดตามหาตัวผู้พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อสามารถหาคุณพบ หากมีการระบาดเกิดขึ้น และทำให้มีความเป็นไปได้น้อยลงที่คุณจะแพร่เชื้อโควิด-19 ไปสู่ผู้อื่น
  3. หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มของผู้คนจำนวนมากหากเป็นไปได้
  4. ปฏิบัติตามคำแนะนำด้านสุขภาพในพื้นที่ของคุณเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัย
  5. รักษาระยะห่างทางกายภาพกับผู้อื่น หากทำได้
  6. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร หรือใช้ห้องน้ำ ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ หากสามารถล้างมือได้ด้วยน้ำและสบู่
  7. ไปรับการฉีดวัคซีนต้านเชื้อโควิด-19
vaccination pfizer
Staff are seen preparing Pfizer vaccine doses inside the Melbourne Showgrounds COVID-19 Vaccination Centre on July 20, 2021 in Melbourne. Source: Daniel Pockett/Getty Images

ผลกระทบของโควิด-19 ต่อสุขภาพ

คนที่อายุน้อยและสุขภาพแข็งแรงสามารถป่วยหนักได้จากโควิด-19 หรือไม่

รศ.นพ.เสนานายาเค: สามารถเกิดขึ้นได้ คนที่อายุน้อยและสุขภาพแข็งแรงดีสามารถป่วยหนักได้ และแม้แต่ตายได้จากโควิด-19

การระบาดของโควิด-19 ในนิวเซาท์เวลส์ขณะนี้ มีการเปิดเผยว่า ผู้คนอายุน้อยจำนวนหนึ่ง (รวมทั้งวัยรุ่นผู้หนึ่ง) ต้องรับการรักษาตัวในห้องผู้ป่วยวิกฤต เนื่องจากพวกเขาป่วยหนักจากโควิด-19

ที่วิเคราะห์การเสียชีวิตของผู้คน 601,124 รายจากโควิด-19 พวกเขาพบว่า การเสียชีวิต 28,354 ราย (4.75) เกิดขึ้นในผู้คนอายุระหว่าง 18-49 ปี ดังนั้น ขณะที่อาจไม่พบบ่อยเท่าใดนัก แต่คนอายุน้อยสามารถตายได้จากโควิด-19

มีโอกาสมากน้อยเพียงใดที่คนอายุน้อยที่มีสุขภาพแข็งแรงดีจะลงเอยที่โรงพยาบาลเพราะโควิด และเข้าห้องไอซียู

รศ.นพ.เสนานายาเค: คนในสหรัฐที่อายุระหว่าง 20-54 ปีมีจำนวนร้อยละ 38 ของผู้ที่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อโควิด-19

จากข้อมูลของ ซีดีซี กรณีของผู้ป่วยหนัก ผู้ที่อายุ 20-44 ปีมีจำนวนร้อยละ 12 (1 ใน 8) ต้องรับการรักษาตัวในแผนกดูแลผู้ป่วยหนัก หรือห้องไอซียู เพราะโควิด

มีการคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ไว้หรือไม่สำหรับความเสี่ยงที่จะต้องลงเอยในโรงพยาบาลเพราะโควิดสำหรับคนในกลุ่มอายุต่างๆ

รศ.นพ.เสนานายาเค: ที่วิเคราะห์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและความเสี่ยงเสียชีวิต ที่เกี่ยวเนื่องกับคนอายุ 18-19 ปี

โควิด-19 สามารถสร้างความเสียหายในระยะยาวแก่ร่างกายคนเราได้หรือไม่

รศ.นพ.เสนานายาเค: แม้จะดูเหมือนว่าโควิด-19 อยู่กับเราเป็นเวลานานมากแล้ว แต่ความจริงแล้วมันอยู่กับเรามาได้เพียงหนึ่งปีครึ่ง ดังนั้นเราจึงยังคงเรียนรู้กับเกี่ยวผลกระทบระยะยาวของโควิด-19 อยู่

แต่มีปรากฎการณ์ที่เรียกกันว่า ลองโควิด (Long Covid) หรือโพสต์-แอคิวต์ โควิด-19 ซินโดรม (Post-acute COVID-19 Syndrome หรือกลุ่มอาการหลังเกิดโควิด-19 เฉียบพลัน)

นี่อาจเชื่อมโยงกับอาการหลากหลายทางจิตใจและร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดข้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใจสั่น มีวิตกกังวล/ซึมเศร้า ในบางคนอาการเหล่านี้นั้นเกิดขึ้นต่อเนื่องหลายเดือน หลังจากมีอาการของโควิด-19 แบบเฉียบพลันเกิดขึ้นไปแล้ว

ชี้ว่า คุณไม่จำเป็นต้องป่วยโดยมีอาการของโควิด-19 แบบเฉียบพลันจึงจะมีอาการของลองโควิด ลองโควิด (Long Covid)

แม้คนร้อยละ 19 ที่ไม่มีอาการเลยขณะติดเชื้อ (ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการป่วยใดๆ) และร้อยละ 27 ของผู้ที่มีอาการป่วยจากโควิด-19 แบบเฉียบพลันเพียงแค่ปานกลาง ก็สามารถเกิดอาการเรื้อรังในเวลาต่อมาได้
Health care workers wait in observation after receiving their COVID-19 vaccinations at the Westmead Hospital Vaccination Hub on March 1, 2021 in Sydney.
Health care workers wait in observation after receiving their COVID-19 vaccinations at the Westmead Hospital Vaccination Hub on March 1, 2021 in Sydney. Source: Dean Lewins - Pool/Getty Images

วัคซีน -อาการข้างเคียง

มีความเชื่อมโยงระหว่างวัคซีนแอสตราเซเนกา และอาการที่พบได้ยากของลิ่มเลือดอุดตัน thrombosis with thrombocytopenia syndrome หรือ TTS) มันคืออะไรและมีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่จะเกิดอาการข้างเคียงเหล่านี้

รศ.นพ.เสนานายาเค: ขณะนี้ จากกลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคแห่งออสเตรเลีย (Australian Technical Advisory Group on Immunisation หรือ ATAGI) ความเสี่ยงนี้คือ

  • 2.6 คนใน 100,000 คน ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 60 ปี, และ
  • 1.7 คนใน 100,000 คน ในกลุ่มผู้อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี
  • 1 คนใน 1,200,000 ที่เสียชีวิต (มีผู้เสียชีวิต 5 รายจากการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาโดสแรก 6.1 ล้านคน)

มีรายงานการพบได้ไม่บ่อยนักของอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์โดสที่สอง มีโอกาสมากน้อยเพียงไรที่จะเกิดอาการข้างเคียงเหล่านี้

รศ.นพ.เสนานายาเค: มีการสงสัยกันว่าวัคซีนไฟเซอร์อาจเชื่อมโยงกับอาการข้างเคียงเหล่านี้

มันดูเหมือนว่าจะพบได้ยาก โดยมี จากการฉีดวัคซีนไฟเซอร์อย่างน้อยหนึ่งโดสให้ประชาชนกว่า 177 ล้านคน อาการนี้นั้นมักเกิดในวัยรุ่นเพศชายและคนวัยผู้ใหญ่ตอนต้นเพศชาย ที่อายุ 16 ปีและมากกว่า กรณีเหล่านี้มักเกิดขึ้นชั่วคราวและอาการดีขึ้นได้ด้วยการพักผ่อน บางคนอาจจำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล

สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องจำไว้ว่า โควิด-19 มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (pericarditis) ได้มากกว่าการฉีดวัคซีนไฟเซอร์

ประโยชน์ของวัคซีนแอสตราเซเนกาและไฟเซอร์มีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงที่จะป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโควิด-19 หรือไม่ มีสถิติใดเกี่ยวกับประเด็นนี้

รศ.นพ.เสนานายาเค: ATAGI เป็นคณะผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนที่ให้คำแนะนำแก่รัฐบาล พวกเขากล่าวว่า สำหรับชาวออสเตรเลียที่อายุ 60 ปีหรือมากกว่าทุกคน ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ของแอสตราเซเนกามีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงอย่างมาก ATAGI ได้วิเคราะห์สามสถานการณ์ ที่มีความแตกต่างกันของอัตราการเกิดโควิด-19 ในชุมชน

พวกเขาสรุปว่าประโยชน์ของการได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการป่วยหนักจากโควิด-19 นั้นมีมากกว่าความเสี่ยงใดๆ สำหรับคนวัยผู้ใหญ่ทุกคน (ไม่เพียงแค่ผู้สูงอายุเท่านั้น) ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อในระดับกลางและระดับสูง

หรือกล่าวได้ว่า ในระหว่างการระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งการเข้าถึงวัคซีนไฟเซอร์มีจำกัด ATAGI ย้ำว่า คนวัยผู้ใหญ่ที่อายุต่ำกว่า 60 ปีจำเป็นต้องประเมินประโยชน์ของการได้รับวัคซีนต้านโควิดของแอสตราเซเนกา กับความเสี่ยงที่พบได้น้อยมากของผลข้างเคียงที่รุนแรงจากวัคซีน นั่นหมายความว่า ให้ปรึกษากับแพทย์ของคุณ

อะไรคืออาการข้างเคียงแบบปกติธรรมดาและเกิดขึ้นชั่วคราวจากวัคซีนสองตัวนี้

รศ.นพ.เสนานายาเค: อย่างที่ระบุใน อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดที่มีรายงานเข้ามาจากวัคซีนเหล่านี้นั้นไม่รุนแรงและเป็นไปตามที่คาดไว้ อาการเหล่านั้นได้แก่ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีไข้ หนาวสั่น และมีปฏิกิริยาในบริเวณที่ฉีดวัคซีน

วัคซีนทั้งสองตัวนี้ปลอดภัยสำหรับสตรีมีครรภ์หรือไม่

รศ.นพ.เสนานายาเค: ขณะนี้ในออสเตรเลีย จากคำแนะนำของทีจีเอ วัคซีนไฟเซอร์ได้รับการแนะนำให้ฉีดได้สำหรับสตรีมีครรภ์ ขณะตั้งครรภ์นั้น มีความเสี่ยงสูงกว่าจะที่ป่วยหนักจากโควิด-19 และมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะคลอดก่อนกำหนด
olympic park vaccine
Emergency services and health workers receive their COVID-19 vaccine at the Olympic Park Vaccination Centre on May 10, 2021 in Sydney. Source: Nick Moir - Pool/Getty Images

วัคซีน -ประสิทธิภาพ

ประสิทธิภาพของวัคซีนแอสตราเซเนกาและไฟเซอร์คิดเป็นอัตราส่วนเท่าไรต่อการติดเชื้อแบบแสดงอาการของเชื้อสายพันธุ์เดลตา หลังฉีดวัคซีนโดสแรกและโดสที่สอง

รศ.นพ.เสนานายาเค: ข้อมูลจากสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนครบสองโดสสำหรับวัคซีนแอสตราเซเนกา มีประสิทธิภาพร้อยละ 74.5 ในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 แบบแสดงอาการ ส่วนการรับวัคซีนไฟเซอร์ครบสองโดสมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อโควิดร้อยละ 88

ที่สำคัญคือ ฉีดวัคซีนไฟโดสเดียวไม่ว่าจะเป็นวัคซีนแอสตราเซเนกาหรือวัคซีนไฟเซอร์ จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้เพียงร้อยละ 30.7 หรือพูดอีกอย่างคือ สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนสองโดสไม่ว่าจะเป็นวัคซีนแอสตราเซเนกาหรือวัคซีนไฟเซอร์ แค่โดสเดียวนั้นยังไม่มีประโยชน์เท่าที่ควร

วัคซีนแอสตราเซเนกาและไฟเซอร์มีประสิทธิภาพเพียงใดในการป้องกันการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลจากการติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา

รศ.นพ.เสนานายาเค: ข้อมูลของสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนครบสองโดสไม่ว่าจะเป็นแอสตราเซเนกาหรือไฟเซอร์จะสามารถช่วยปกป้องได้มากกว่าร้อยละ 90 จากการป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลจากโควิด-19 นี่เป็นสถิติที่สำคัญอย่างมาก และช่วยแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการมีภูมิคุ้นกันอย่างเต็มที่จากวัคซีนแอสตราเซเนกา หรือจากวัคซีนไฟเซอร์
คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 




Share
Published 2 August 2021 3:57pm
Updated 20 August 2021 2:10pm
By Chiara Pazzano
Presented by Parisuth Sodsai


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand