การวิจัยชี้เห็นคนผิวสีหน้าเหมือนกันหมดอาจไม่ใช่เพราะเหยียดผิว

NEWS: การวิจัยล่าสุดพบว่าเด็กๆ ที่มีโอกาสได้พบเห็นบุคคลที่มีใบหน้าแตกต่างกันจากหลายเชื้อชาติ มีโอกาสมากกว่าที่จะมองเห็นความแตกต่างของใบหน้าผู้คนจากหลากเชื้อชาติเมื่อพวกเขาโตขึ้น

Crowds waving Australian flags

Crowds waving Australian flags Source: AAP

เมื่อเกิดเหตุการณ์นิตยสารลงภาพสลับกันระหว่างนางแบบสาวชาวออสเตรเลียเชื้อสายซูดานกับนางแบบเชื้อสายชาวแอฟริกันอีกผู้หนึ่ง ทำให้มีการอภิปรายกันเกี่ยวกับการเหยียดผิว

โดยนางแบบคนดังกล่าวคือ อาดุต อาเคช กล่าวหานิตยสารดังกล่าวว่าไม่เคารพเชื้อชาติของเธอ เพราะนิตยสารใช้ภาพของนางแบบเชื้อสายยูกันดาอีกผู้หนึ่งประกอบบทความที่เกี่ยวกับเธอ (อาดุต อาเคช)

แต่จากการวิจัยโครงการใหม่พบว่า การไม่มีความสามารถมองเห็นความแตกต่างบนใบหน้าของผู้คนที่มีเชื้อชาติแตกต่างออกไปจากตนอาจไม่ได้มาจากความอคติทางเชื้อชาติเสียทั้งหมด

แต่อาจมาจากการที่ในวัยเด็กบุคคลนั้นขาดโอกาสในการพบเห็นผู้คนจากหลากหลายเชื้อชาติ

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออสเตรเลียน เนชันแนล ยูนิเวอร์ซิตี้ ได้พบว่าการพบปะกับผู้คนหลากเชื้อชาติในสังคมระหว่างวัยเด็กอาจช่วยลด และแม้แต่ช่วยกำจัด สิ่งที่เรียกกันว่า ปฏิกิริยา อะเตอร์ เรซ เอฟเฟคต์ (other-race effect หรือคนเชื้อชาติอื่น) ได้ ซึ่งคือการขาดความสามารถในการมองเห็นความแตกต่างบนใบหน้าของผู้คนที่มีเชื้อชาติต่างไปจากตน

“หากคุณได้มีโอกาสพบปะหรือพบเห็นผู้คนจากหลายหลายเชื้อชาติขณะที่เติบโตขึ้นจนถึงอายุ 12 ปี คุณมีแนวโน้มน้อยกว่าที่จะมีปฏิกิริยา อะเตอร์ เรซ เอฟเฟคต์ คุณจะมองเห็นความแตกต่างได้เหมือนกับผู้คนในเชื้อชาตินั้นทีเดียว” คุณเคท เรย์โนลส์ ผู้ร่วมเขียนรายงานการวิจัยดังกล่าว เผยกับเอสบีเอส นิวส์
นักวิจัยกล่าวว่า ขณะที่ความมีอคติทางเชื้อชาติอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา อะเตอร์ เรซ เอฟเฟคต์ (other-race effect หรือคนเชื้อชาติอื่น) แต่ผลการวิจัยไม่อาจชี้ได้ว่าความมีอคติทางเชื้อชาติเป็นปัจจัยสำคัญ

“เรายังสามารถแสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่เราพูดถึงในการวิจัยนี้ไม่สามารถใช้เรื่องอคติมาอธิบายเหตุผลได้” ศาสตราจารย์เรย์โนลส์ กล่าว

“นี่เป็นรูปแบบที่ไม่สามารถอธิบายได้จากทัศนคติแง่ลบของบุคคลที่มีต่อคนที่มีเชื้อชาติต่างออกไป มันเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของสมองมนุษย์ในด้านการรู้คิด ซึ่งได้พัฒนาความสามารถเหล่านี้ขึ้น และอาจไม่สามารถอธิบายได้จากทัศนคติหรือประสบการณ์ของบุคคลนั้น”

“นี่เป็นสิ่งอื่นที่นอกเหนือออกไป ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าเหตุใดพวกเขาจึงไม่เก่งในการมองเห็นความแตกต่างของใบหน้าผู้คนจากกลุ่มเชื้อชาติที่ต่างออกไป”

เหมือนการเรียนภาษา

การได้มีโอกาสพบเห็นหรือพบปะผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ ตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 12 ปี เป็นหน้าต่างที่สำคัญในการพัฒนาระบบการจดจำใบหน้าบุคคล และเช่นเดียวกับการเรียนภาษาที่มีความแตกต่างระหว่างการเรียนเมื่อเป็นเด็กกับการเรียนเมื่อเป็นผู้ใหญ่ คุณจะสามารถมองเห็นความแตกต่างของใบหน้าบุคคลหลากเชื้อชาติได้ยากขึ้นเมื่อคุณอายุมากขึ้น

การวิจัยยังพบด้วยว่า การเพิ่มการพบปะสังสรรค์กับบุคคลเชื้อชาติอื่นๆ เมื่อเป็นผู้ใหญ่ และแม้ว่าจะทำเช่นนั้นเป็นเวลหลายปีและมีเพื่อนจากหลายเชื้อชาติหลายคน แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้ความสามารถนี้ดีขึ้น

“หลังจากพ้นช่วงหน้าต่างการพัฒนาสมองส่วนนี้แล้ว คุณจะต้องฝึกฝนสมองของคุณอย่างหนักจึงจะสามารถเอาชนะปฏิกิริยาอะเตอร์ เรซ เอฟเฟคต์ (other-race effect หรือการขาดความสามารถในการมองเห็นความแตกต่างบนใบหน้าของผู้คนที่มีเชื้อชาติต่างไปจากตน) ได้” ศาสตราจารย์เรย์โนลส์ อธิบาย

“ดังนั้น มันจึงเหมือนการเรียนภาษาที่สอง คุณสามารถทำได้ แต่จะยากลำบากกว่ามาก”

งานสำหรับผู้ที่สามารถบอกความแตกต่างของใบหน้าบุคคลได้ดีกว่าผู้อื่น

เคยมีผลร้ายอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาอะเตอร์ เรซ เอฟเฟคต์ (other-race effect) มาแล้ว เช่น การระบุอัตลักษณ์บุคคลไม่ถูกต้องจากหนังสือเดินทาง และในระบบศาลยุติธรรม

กรณีตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดกรณีหนึ่ง คือการตัดสินลงโทษผิดคน จากการชี้ตัวผู้กระทำผิดที่ผิดพลาดของพยานบุคคล ในคดีของนายโรนัลด์ คอตตอน ชายชาวอเมริกัน ที่ติดคุก 10 ปี จากคดีข่มขืนและปล้น ก่อนที่หลักฐานดีเอ็นเอจะทำให้เขาพ้นผิดในปี 1995

ศาสตราจารย์เรย์โนลส์ กล่าวว่า งานที่จำเป็นต้องมีความสามารถในการระบุความแตกต่างของใบหน้าบุคคลหลากหลายเชื้อชาติได้ดี อาจเป็นงานที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีโอกาสพบปะกับผู้คนหลากหลายเชื้อชาติตั้งแต่วัยเด็ก

แต่อย่างไรก็ตาม สำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องมีการฝึกอบรมให้แก่บุคคลในวัยผู้ใหญ่

“ให้ตระหนักในเรื่องนี้และให้ตระหนักว่าหน้าต่างของการพัฒนาอาจหมายความว่าสำหรับงานบางงาน คุณอาจต้องได้รับการฝึกอบรมและคิดค้นโครงการอบรม เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้คนให้ลดปฏิกิริยาอะเตอร์ เรซ เอฟเฟคต์ได้” ศาสตราจารย์เรย์โนลส์ กล่าวทิ้งท้าย

You can read the article in English on SBS News page

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์ ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่

Share
Published 16 September 2019 1:51pm
Updated 16 September 2019 1:57pm
By Rashida Yosufzai
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand