สมรภูมิการขึ้นค่าจ้างระหว่างสหภาพแรงงาน และ ธุรกิจ

การตัดสินใจเรื่องค่าจ้างส่งผลกระทบต่อชาวออสเตรเลียหลายล้านคน โดยสหภาพแรงงานต่างเรียกร้องให้ขึ้นค่าจ้าง 5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ธุรกิจต่างๆ บอกว่าควรน้อยกว่านั้น

Someone holding $50 and $20 notes in their hand.

คณะกรรมการ Fair Work จะตรวจสอบข้อเสนอจากรัฐบาล สหภาพแรงงาน และนายจ้าง Source: Getty / Traceydee Photography

ประเด็นสำคัญ
  • คณะกรรมการแฟร์เวิร์ก Fair Work จะทบทวนค่าจ้างขั้นต่ำ โดยรับข้อเสนอจากรัฐบาล ภาคธุรกิจ และสหภาพแรงงาน
  • รัฐมนตรีคลัง จิม ชาลเมอร์ส กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องให้ทันกับอัตราเงินเฟ้อ แต่ยังไม่ได้เปิดเผยว่ากี่เปอร์เซ็นต์
  • ข้อเสนอที่เพิ่มขึ้นมีตั้งแต่ร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 5 เนื่องจากสหภาพแรงงานและธุรกิจต่างๆ หยิบยกประเด็นของพวกเขาขึ้นมา
สหภาพแรงงานและกลุ่มธุรกิจมีขัดกันว่าค่าแรงขั้นต่ำของออสเตรเลียควรเพิ่มขึ้นเท่าใด เพื่อบรรเทาความกดดันด้านค่าครองชีพ

รัฐบาลกลางแนะนำว่าการปรับขึ้นค่าจ้างรายปีจำเป็นต้องให้ทันกับเศรษฐกิจ โดยอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4.1 แต่ไม่ได้เปิดเผยเปอร์เซ็นต์ที่เฉพาะเจาะจง

รัฐมนตรีคลัง จิม ชาลเมอร์ส กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในการตามทันความกดดันด้านค่าครองชีพ และเพื่อให้แน่ใจว่า "คนงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำในประเทศนี้จะไม่ยอมถอยหลัง"
การตัดสินใจทบทวนค่าจ้างประจำปีของ Fair Work Commission ส่งผลต่อค่าแรงขั้นต่ำของประเทศและการจ่ายแบบ อวาร์ด เรต ซึ่งประมาณหนึ่งในสี่ของคนงานออสเตรเลียทั้งหมดได้รับ

สภาสหภาพการค้าแห่งออสเตรเลีย (ACTU) เรียกร้องให้มีการปรับขึ้นอัตราร้อยละ 5 ซึ่งจะขึ้นอัตราขั้นต่ำต่อชั่วโมงเป็น 24.39 ดอลลาร์ หรือ 48,200 ดอลลาร์ต่อปีสำหรับคนทำงานเต็มเวลา (full-time)

แซลลี่ แมคมานัส เลขาธิการ ACTU กล่าวว่าแรงงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำที่สุดได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากภาวะเงินเฟ้อ และภาคธุรกิจต่างๆ สามารถจ่ายค่าแรงเพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ได้

“เมื่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น ธุรกิจต่างๆ สามารถปรับราคาเพื่อปกป้องอัตรากำไรขั้นต้นได้ แต่ค่าจ้างของคนงานไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปง่ายๆ นัก” เธอกล่าว
Sally McManus speaking into a microphone
แซลลี่ แมคมานัส เลขาธิการ ACTU กล่าวว่าค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพ Source: AAP / Diego Fedele
แมคมานัส แย้งว่าตัวเลขนี้จะยังไม่ทันอัตราเงินเฟ้อ

ในขณะเดียวกัน หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งออสเตรเลีย (ACCI) ได้สนับสนุนให้เพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 2 นั่นจะทำให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำต่อชั่วโมงอยู่ที่ 23.69 ดอลลาร์หรือ 46,823 ดอลลาร์ต่อปีสำหรับคนทำงานเต็มเวลา(full-time)

แอนดรูว์ แมคเคลลาร์ ผู้บริหารระดับสูงของ ACCI กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับปานกลางนับตั้งแต่แตะระดับสูงสุดที่ 7.8% ในปี 2022 ในขณะที่ "เงื่อนไขทางธุรกิจมีความเข้มงวดมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด"

“เราเห็นการลงทุนเคลื่อนตัวไปด้านข้าง เราเห็นความรู้สึกในแง่ร้ายอย่างแท้จริงสำหรับหลาย ๆ คนในธุรกิจ และที่สำคัญ ความต้องการแรงงานก็เริ่มลดลงเช่นกัน” แมคเคลลาร์บอกกับ ABC Radio เมื่อวันอังคาร

“การจ้างพนักงานเป็นเรื่องยากมากขึ้นสำหรับธุรกิจ และสำหรับผู้ที่ได้รับค่าแรงขั้นต่ำ การมีงานทำยังดีกว่าการดูคนอื่นขึ้นเงินเดือน”

การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2023 เป็นเท่าใด?

เมื่อปีที่แล้ว มีประกาศเพิ่มค่าจ้างครั้งใหญ่ที่สุดในรอบสี่ทศวรรษ

คณะกรรมการแฟร์เวิร์กขึ้นค่าจ้างร้อยละ 5.75 โดยอ้างถึงอัตราการว่างงานต่ำ ค่าจ้างที่ลดลง และอัตราเงินเฟ้อที่สูง ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก

การตัดสินใจประจำปีเป็นปัจจัยในการกำหนดภาวะเศรษฐกิจในการกำหนดค่าจ้าง รวมถึงความกดดันด้านค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายทางการเงินของครัวเรือน

ในเวลาเดียวกัน คณะกรรมาธิการยังได้เตือนถึงความเป็นไปได้ที่ราคาค่าจ้างจะอยู่ในลักษณะงูกินหาง โดยที่การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อจะทำให้คนงานขอขึ้นค่าจ้าง และธุรกิจต่าง ๆ ก็ขึ้นราคาเพื่อครอบคลุมต้นทุนเหล่านั้น
รัฐบาลกลางกล่าวว่า ที่วางแผนไว้นั้นไม่ควรถูกมองว่าเป็นการทดแทนการเพิ่มค่าจ้างที่มีความจำเป็นมากสำหรับคนงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำที่สุดของออสเตรเลีย แต่เป็นการช่วยเหลือเพิ่มขึ้น

การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำของประเทศจะเริ่มในช่วงการจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนงวดแรกในหรือหลังวันที่ 1 กรกฎาคม

- With additional reporting from the Australian Associated Press.

Share
Published 4 April 2024 3:45pm
By Ewa Staszewska
Presented by Warich Noochouy
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand