กลุ่มผู้ค้าปลีกบ่นขึ้นค่าแรงขั้นต่ำส่งผลเสีย

NEWS: กลุ่มนายจ้างระบุธุรกิจขนาดเล็กจะประสบความยากลำบากในการจ่ายเงินค่าจ้างขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น ขณะที่สหภาพแรงงานย้ำลูกจ้างบางกลุ่มจะยังคงต้องดิ้นรนหารายได้เลี้ยงชีพต่อไป

budget - small business

A small business in Melbourne. Source: AAP

รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full article in English

ผู้ค้าปลีกอิสระบางรายอาจถูกบีบให้ปิดกิจการ เนื่องจากไม่มีเงินพอจะจ่ายค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากการที่คณะกรรมาธิการแฟร์เวิร์คประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ กลุ่มนายจ้างระบุ

แต่สหภาพแรงงาน กล่าวว่า ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างในอัตราค่าแรงขั้นต่ำจำนวนมากจะยังคงต้องดิ้นรนหารายได้ให้พอเลี้ยงชีพต่อไป ถึงแม้จะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำสำหรับปีนี้แล้ว

นายจอช เดอ บรุน ซีอีโอ ของกลุ่มเอ็มจีเอ อินดีเพนเดนต์ รีเทลเลอร์ กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 3 จะส่งผลอย่างรุนแรงต่อการอยู่รอดของอุตสาหกรรมธุรกิจค้าปลีกอิสระ โดยต้องหาเงินค่าแรงมาจ่ายเพิ่มนอกเหนือจากที่เพิ่มค่าแรงร้อยละ 3.5 เมื่อปีที่แล้ว และอีกร้อยละ 3.3 เมื่อปี 2017

นายเดอ บรุน กล่าวว่า ส่วนใหญ่ของร้านค้าซูเปอร์มาร์เกตอิสระ ร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้านขายปลีกวัสดุก่อสร้าง ซึ่งเป็นธุรกิจครอบครัวมักต้องเปิดให้บริการยาวนาน เพื่อจะได้กำไรเพียงเล็กน้อย

"ค่าแรงขั้นต่ำอัตราใหม่นี้จะส่งผลเสียหายร้ายแรงต่อความยั่งยืนของธุรกิจเหล่านี้ และธุรกิจเหล่านี้จำนวนมากไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากปิดกิจการ" นายเดอ บรุน ระบุในแถลงการณ์

กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ยังเตือนด้วยว่า ธุรกิจขนาดเล็กต่างๆ จะต้องดิ้นรนเพื่อจ่ายค่าแรงลูกจ้างเพิ่มขึ้นอีกคนละ 21.60 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ ซึ่งคาดว่าจะเป็นจำนวนเงินที่นายจ้างทั้งหมดจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นรวมกัน 3.1 พันล้านดอลลาร์ต่อปี
นายรัสเซล ซิมเมอร์แมน ผู้อำนวยการบริหารของสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งออสเตรเลีย กล่าวว่า เขาหวังว่าการตัดสินใจของคณะกรรมการแฟร์เวิร์คจะไม่ส่งผลให้มีร้านค้าปลีกอีกมากที่จะต้องปิดกิจการไป 

"มีธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กมากเป็นจำนวนมากมายทีเดียว ที่ความจริงแล้ว ไม่สามารถดึงเงินค่าจ้างออกมาจากเงินในธุรกิจได้ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้แค่พอประทังธุรกิจไปวันๆ" เขาบอกกับผู้สื่อข่าว

"การตัดสินใจนี้จะสร้างความยากลำบากอย่างมากให้กับธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กบางแห่ง ซึ่งอาจกำลังดำเนินธุรกิจอย่างแร้นแค้นอยู่แล้วในขณะนี้"

สหภาพแรงงาน ยูไนเต็ด วอยซ์ กล่าวว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นอีก 57 เซนต์ต่อชั่วโมงจะไม่สร้างความแตกต่างให้มากนักสำหรับลูกจ้างที่เป็นพนักงานทำความสะอาด ผู้ให้บริการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ทำงานในธุรกิจการให้บริการต้อนรับ และลูกจ้างค้าปลีก ที่ต้องดิ้นรนหารายได้ให้พอกับรายจ่ายต่างๆ ของตน

"นี่หมายถึงความไม่เท่าเทียมกันต่อไป และการดิ้นรนเพื่อหารายได้ประทังชีวิตต่อไป" นางโจ-แอน สโกฟิลด์ เลขาธิการแห่งชาติของยูไนเต็ด วอยซ์ กล่าว

นายเจอราร์ด ดไวเออร์ เลขาธิการแห่งชาติของสหภาพแรงงานเอสดีเอ กล่าวว่า ขณะที่การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มรายได้ที่จำเป็นให้แก่ลูกจ้าง แต่พนักงานค้าปลีกและลูกจ้างธุรกิจอาหารฟาสต์ฟูดจะยังคงไม่ได้ประโยชน์เต็มที่จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำครั้งนี้

"จากการเติบโตของค่าจ้างที่ต่ำเป็นประวัติกาล และจากการตัดลดอัตราค่าจ้างเพิ่มพิเศษในการทำงานนอกเวลาทำการปกติ (penalty rate) ไม่ต้องสงสัยเลยว่าลูกจ้างจำนวนมากจะยังคงต้องดิ้นรนหารายได้ให้พอเลี้ยงชีพต่อไป" นายดไวเออร์ กล่าว

นางเคท คาร์แนล ผู้ตรวจการเพื่อธุรกิจขนาดเล็กและกิจการครอบครัว กล่าวว่า การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็ก แต่เธอก็สนับสนุนกระบวนการอิสระที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจของแฟร์เวิร์ค

"ค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นนั้นมากกว่าอัตราเงินเฟ้อ และนั่นจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งธุรกิจเหล่านั้นจำนวนมากก็กำลังดำเนินธุรกิจอย่างยากลำบากอยู่แล้วตอนนี้" นางคาร์แนล กล่าว

Share
Published 3 June 2019 10:45am
Updated 3 June 2019 10:48am
Presented by SBS Thai
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand