หวั่นควันไฟป่ากระทบสุขภาพ คนแห่สวมหน้ากาก

NEWS: ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่ามลภาวะจากการจราจรส่งผลเสียมากกว่าควันจากไฟป่า พร้อมแนะสถานการณ์ยังไม่น่าเป็นห่วง

A woman seen wearing a dust mask as smoke haze from bushfires in New South Wales blankets the CBD in Sydney, Tuesday, December 3, 2019. (AAP Image/Joel Carrett) NO ARCHIVING

Some Sydney-siders are wearing face masks to help cope with the smoke. Source: AAP

ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.: สถานการณ์หมอกควันในซิดนีย์เข้าขั้นวิกฤต  ด้านสำนักอุตุนิยมวิทยาออสฯ เตือนรัฐนิวเซาท์เวลส์ระวังคลื่นความร้อนที่จะก่อตัว

 


 

 

จากสถานการณ์ไฟป่าที่ยังเผาไหม้ต่อเนื่องกว่า 12 จุดทั่วทั้งรัฐนิวเซาท์เวลส์ ทำให้นครซิดนีย์จะมีหมอกควันปกคลุมตลอดทั้งหน้าร้อนนี้ ซึ่งจากการพยากรณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่านครซิดนีย์จะยังมีทัศนะวิสัยเช่นนี้ต่อไปอีกสองสามวัน

นอกเหนือจากทัศนะวิสัยที่มืดมัวแล้ว ควันจากไฟป่านี้ยังมีฝุ่นควันที่มีอนุภาคของ PM 2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นควันที่มีขนาดเล็กมาก เมื่อคุณสูดฝุ่นควันเหล่านี้เข้าไปมันจะสามารถเข้าไปในปอดของคุณและแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ทันที
Commuter ferries sail past the Sydney Harbour Bridge as smoke haze from bushfires in New South Wales blankets the CBD in Sydney, Monday, December 2, 2019. (AAP Image/Steven Saphore) NO ARCHIVING
Commuter ferries sail past the Sydney Harbour Bridge as smoke haze from bushfires in New South Wales blankets the CBD. Source: AAP
มีการเปรียบเทียบว่าตอนนี้เมื่อคุณสูดอากาศในนครซิดนีย์ก็เหมือนกับคุณสูบบุหรี่ 30 มวนต่อวัน แต่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์กล่าวว่า การเปรียบเทียบนี้ยังไม่ตรงกับความจริงเท่าไหร่นัก ศาตราจารย์ กาย มากซ์ แพทย์ทางด้านระบบทางเดินหายใจ จากสถาบันวิจัยทางการแพทย์ วูลค็อก เปิดเผยกับเอสบีเอส นิวส์ ว่า

“มันเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง แต่ยังไม่ใช่สิ่งที่น่าตกใจ ความจริงแล้วควันจากการสูบบุหรี่จะมีสารพิษบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งจะแตกต่างจากควันที่มาจากการเผาไม้หรือมวลชีวภาพทั้งหลาย ดังนั้นผมจึงไม่มีความกังวลเท่าไหร่ว่าควันจากไฟป่าจะอันตรายเท่ากับควันจากการสูบุหรี่”  ศาตราจารย์ กาย มากซ์ ให้ความเห็น

แต่การที่หายใจเอาควันไฟเข้าไปเป็นระยะเวลานานๆ ก็สามารถที่จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและก่อให้เกิดการระคายเคืองตาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีอาการหอบหืดหรือคนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับปอด

คุณจะป้องกันตนเองได้อย่างไร

วิธีที่ดีที่สุดคือการอยู่ในอาคารที่ปิดประตูและหน้าต่างไม่ให้ควันเข้ามาได้ ใช้เครื่องกรองอาการภายในอาคารที่ปิดสนิทก็จะช่วยให้คุณคัดกรองอนุภาคของฝุ่นที่หลุดลอดเข้ามาออกไปได้

ศาตราจารย์ กาย มากซ์  ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ แนะนำว่า แต่คุณควรใช้สามัญสำนึกเมื่อคุณต้องออกไปทำกิจกรรมข้างนอก

“แน่นอนว่าตอนนี้มันคงไม่ใช่ช่วงเวลาที่คุณควรจะวิ่งมาราธอน ฮาล์ฟมาราธอน หรือ กิจกรรมการออกกำลังกายกลางแจ้ง”
Sydney-siders are concerned about the impact of exposure to bushfire smoke.
Sydney-siders are concerned about the impact of exposure to bushfire smoke. Source: AAP
ชาวนครซิดนีย์บางคนเริ่มสวมหน้ากากเพื่อป้องกันตนเองจากเรื่องควันไฟป่า แต่การสวมหน้ากากนั้นยังเป็นเรื่องที่ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่าจะป้องกันสุขภาพได้จริงหรือไม่

ศาสตราจารย์ มากซ์ กล่าวว่าเรื่องหน้ากากนั้นมันขึ้นอยู่กับว่าเป็นหน้ากากประเภทใด ตัวอย่างเช่นการสวมหน้ากากที่ใช้ในห้องผ่าตัดนั้นไม่ได้ช่วยป้องกันอะไรเลย เขาชี้ว่า

“หน้ากากที่เห็นคนใช้กันทั่วไปเช่นหน้ากากที่ใช้ในห้องผ่าตัดนั้นเป็นหน้ากากที่หลวมๆ ซึ่งจุดประสงค์หลักของมันคือการออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง ซึ่งหน้ากากประเภทนี้นั้นไม่สามารถป้องกันอันตรายจากฝุ่นควันได้  แต่หน้ากากที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคือหน้ากากที่เรียกว่า หน้ากาก P 2 หรือหน้ากาก N 95  ซึ่งจะสามารถกรองอนุภาคของฝุ่นควันจิ๋วออกไปได้ถึง ร้อยละ 95”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลู เออวิงค์ แพทย์ระบบทางเดินหายใจ จากโรงพยาบาลรอยัลเมลเบิร์น และศูนย์มะเร็ง ปีเตอร์ แมคคัลลัม  มีความคิดเห็นแตกต่างออกไป เพราะว่าขณะนี้การสวมหน้ากากยังไม่ใช่เรื่องจำเป็นสำหรับคนทั่วไป เขากล่าวว่า

“ ควันจากไฟป่าที่ลอยปกคลุมทั่วนครซิดนีย์นั้นไม่เป็นอันตรายสำหรับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นโรคเกี่ยวกับปอด”

“ แต่มันก็จะมีช่วงที่ควันหนาทึบมากซึ่งจะทำให้คนที่ไวต่อสิ่งเร้านี้ เช่นคนที่ป่วยเป็นหอบหืด หรือคนที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ตกอยู่ในความเสี่ยง และพวกเขาต้องระมัดระวังตัว โดยการใส่หน้ากากที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะช่วยได้ แต่สิ่งที่สามารถป้องกันตัวเองได้ดีที่สุดคือการอยู่ในอาคาร” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลู เออวิงค์ แนะนำ

 มลภาวะจากการจราจรน่าห่วงมากกว่า

ในขณะที่หมอกควันจากไฟป่านั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความไม่สบายใจ แต่ผู้เชี่ยวชาญกลับชี้ว่าเราควรเป็นห่วงกับควันที่มองไม่เห็นจากการจราจรที่ผู้คนที่อาศัยในเมืองรวมถึงคนที่เข้ามาทำงานในเมืองสูดดมกันทุกวันมากกว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลู เออวิงค์ เปิดเผยว่า

“ในสังคมของเรา ฝุ่นควันที่ทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ คือฝุ่นควัน PM 2.5 ที่มาจากมลภาวะที่เกิดจากการจราจร จากการใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งสิ่งที่ปนเปื้อนในมลภาวะนี้อันตรายมากกว่าควันจากไฟป่ามาก”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลู เออวิงค์ ชี้ต่อไปว่า ในมลภาวะที่มาจากน้ำมันดีเซลนั้นประกอบไปด้วยสารคาร์ซิโนเจน ซึ่งเป็นรู้กันดีว่าเป็นสารก่อมะเร็งปอด ยิ่งไปกว่านั้นมาตรฐานน้ำมันของออสเตรเลียก็ไม่ได้เข้มงวดมากเมื่อเทียบกับประเทศตะวันตกอื่นๆ เขาให้รายละเอียดว่า
Traffic congestion at Sydney Harbour Bridge.
Traffic pollution is likely doing more damage to your lungs than bushfire smoke. Source: AAP
“ถึงแม้ว่าโดยทั่วไปแล้วออสเตรเลียจะมีคุณภาพอากาศที่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วเรายังไม่มีการจัดการกับมลภาวะทางอากาศที่มาจากน้ำมันดีเซลอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเปรียบเทียบกับทางยุโรปหรืออเมริกา”

ในปี 2015 สถาบันสุขภาพและสวัสดิภาพแห่งออสเตรเลีย (The Australian Institute of Health and Welfare) พบว่าในออสเตรเลียมลภาวะทางอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของทารกที่คลอดก่อนกำหนดถึง 3,000 รายต่อปี ซึ่งศาตราจารย์ กาย มากซ์  เห็นด้วยว่าออสเตรเลียควรจะมีมาตรการลดมลภาวะทางอากาศ เขาสรุปว่า

“มลภาวะทางอากาศที่มากขึ้นนั้นเป็นอันตราย แต่ถ้ามลภาวะอากาศลดลงก็จะเป็นผลดีกับทุกคน”

ou can check out the full version of this story in English on SBS News .

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 9 December 2019 6:47pm
Updated 11 December 2019 9:14am
By Rosemary Bolger
Presented by Chayada Powell
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand