สัปดาห์ผู้ลี้ภัยคืออะไรและเหตุใดต้องจัดทุกปีในออสเตรเลีย?

สัปดาห์ผู้ลี้ภัยเป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีในออสเตรเลีย เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย และเพื่อเฉลิมฉลองคุโณปการที่ผู้ลี้ภัยร่วมสร้างให้แก่สังคมออสเตรเลีย

Refugees

Credit: Getty Images/bymuratdeniz

ประเด็นสำคัญ
  • สัปดาห์ผู้ลี้ภัยเป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีของออสเตรเลียเพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่สาธารณชนเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย
  • สัปดาห์ผู้ลี้ภัยในแต่ละปีจะมีแนวคิดหลัก (ธีม) ที่แตกต่างกันไป
  • สภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลียดำเนินโครงการมากมายตลอดทั้งปีเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับผู้ลี้ภัย
  • ในทศวรรษที่ผ่านมา จำนวนผู้ลี้ภัยเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า
ทุก ๆ ปี ผู้คนหลายล้านคนถูกบีบคั้นให้ต้องหลบหนีออกจากบ้านเกิดเพื่อแสวงหาที่ปลอดภัย

สัปดาห์ผู้ลี้ภัยในออสเตรเลียมักจัดขึ้นตั้งแต่วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์ในสัปดาห์ที่มีวันที่ 20 มิถุนายน ซึ่งเป็น รวมอยู่ด้วย

สัปดาห์ผู้ลี้ภัยจัดขึ้นครั้งแรกที่ซิดนีย์ในปี 1986 โดยออสต์แคร์ (Austcare) ในปี 1987 สภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลีย (RCOA) ได้กลายเป็นผู้ร่วมจัดงานสัปดาห์ผู้ลี้ภัย และงานนี้ได้กลายเป็นงานระดับประเทศในปีถัดมา จากนั้น RCOA ได้รับหน้าที่ประสานงานการจัดงานสัปดาห์ผู้ลี้ภัยทั่วประเทศในปี 2004

คุณอดามา คามารา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลีย หรือ RCOA กล่าวว่าหนึ่งในจุดมุ่งหมายของสัปดาห์ผู้ลี้ภัยคือการเฉลิมฉลองคุโณปการที่ผู้ลี้ภัยร่วมสร้างให้แก่สังคมออสเตรเลีย
Adama Kamara Deputy CEO RCOA
คุณอดามา คามารา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของสภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลีย Credit: RCOA
เป้าหมายโดยรวมคือเพื่อให้เรามีความเข้าใจที่ดีขึ้นระหว่างชุมชนผู้ลี้ภัยและชุมชนที่ไม่ใช่ผู้ลี้ภัย … และให้การต้อนรับซึ่งกันและกันมากขึ้น
อดามา คามารา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลีย

แนวคิดหลักประจำปีของสัปดาห์ผู้ลี้ภัย

สัปดาห์ผู้ลี้ภัยในแต่ละปีจะมีแนวคิดหลักหรือธีม (theme) ที่แตกต่างกันไป นี่ก็เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้ลี้ภัยในออสเตรเลียและทั่วโลก และเพื่อช่วยให้ชุมชนในวงกว้างเข้าใจว่าการเป็นผู้ลี้ภัยเป็นอย่างไร

แนวคิดหลักหรือธีมช่วยให้สารที่ส่งออกไปเป็นหนึ่งเดียวและสอดคล้องกัน ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปทั่วประเทศ ทำให้ช่วยเพิ่มผลสะท้อนของแคมเปญและกิจกรรมการสร้างความตระหนักรู้

การมีแนวคิดหลักประจำปีช่วยเสริมสร้างความสามัคคีและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน นำบุคคล ชุมชน และองค์กรที่มีภูมิหลังหลากหลายมารวมกันภายใต้จุดประสงค์ร่วมกัน ทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนใจอันทรงพลังว่า แม้เราจะแตกต่างกัน แต่เราทุกคนก็เชื่อมโยงกัน ด้วยมนุษยธรรมที่เรามีร่วมกัน

การล้มและลุกขึ้นได้เร็ว (resilience) ของผู้ลี้ภัย

คุณโอลิเวอร์ สเลวา เป็นทนายความในซิดนีย์และเป็นหนึ่งในทูตสันถวไมตรีประจำสัปดาห์ผู้ลี้ภัย เขาเติบโตในครอบครัวชาวอัสซีเรียในอิรักและเดินทางผ่านจอร์แดน ตุรกี และกรีซในฐานะผู้ลี้ภัย ก่อนจะได้ที่พักพิงเพื่อลี้ภัยในออสเตรเลียในปี 1994

คุณสเลวากล่าวว่า บาดแผลทางใจที่สืบทอดกันมาในคนหลายรุ่นอาจใช้เวลาหลายปีกว่าจะบรรเทาลง แต่การเยียวยาจะสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อผู้ลี้ภัยเริ่มต้น “การเดินทางเพื่อตั้งถิ่นฐานใหม่”

เขาเชื่อว่าองค์ประกอบสำคัญของการเยียวยาสำหรับผู้ลี้ภัยคือ “ความสามารถในการล้มและลุกขึ้นได้อย่างรวดเร็ว” (resilience) และกล่าวว่า “ขั้นตอนการเยียวยาเริ่มตั้งแต่วันที่คุณก้าวเท้าเข้ามาในออสเตรเลีย”
การพูดคุยกับผู้อื่น การบอกเล่าเรื่องราวของคุณ การที่สามารถพูดคุยเรื่องการเดินทางนั้นได้อย่างเปิดเผยโดยไม่มีอคติ และการได้รับการยอมรับ ท้ายที่สุดแล้วเป็นสิ่งที่ต้องการ (สำหรับผู้ลี้ภัย) ผมคิดว่าการได้รับการยอมรับ ได้รับความเคารพ จะช่วยกระบวนการเยียวยาได้
โอลิเวอร์ สเลวา หนึ่งในทูตสันถวไมตรีประจำสัปดาห์ผู้ลี้ภัย
RCOA ambassador, Oliver Slewa
โอลิเวอร์ สเลวา เป็นทนายความในซิดนีย์และเป็นหนึ่งในทูตสันถวไมตรีประจำสัปดาห์ผู้ลี้ภัย Source: Supplied / Supplied by RCOA

โครงการ 'Face-to-Face'

มีโครงการและกิจกรรมต่างๆ มากมายที่ดำเนินการโดยสภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลีย หรือ RCOA ในช่วงสัปดาห์ผู้ลี้ภัยและหลังจากนั้น

 Face-to-Face เป็นหนึ่งในโครงการที่เกิดขึ้นตลอดสัปดาห์ผู้ลี้ภัย โดยเป็นการเข้าไปพูดคุยกับนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ และมีการประชุมเชิงปฏิบัติการโดยทูตสันถวไมตรีและผู้แทนของ RCOA

 วิทยากรที่เป็นผู้ลี้ภัยจะบอกเล่าเรื่องราวส่วนบุคคลเกี่ยวกับการเดินทางหาที่ปลอดภัยเพื่อลี้ภัย และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับผู้ลี้ภัย ประสบการณ์ของพวกเขา และการร่วมสร้างคุโณปการของพวกเขาในออสเตรเลีย

กิจกรรมนี้ได้รับการปรับให้เหมาะสมกับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ครู และกลุ่มผู้สนใจ
Face-2-Face program workshop
การประชุมเชิงปฏิบัติการของโครงการ Face-2-Face Credit: RCOA

จำนวนผู้พลัดถิ่นเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว

ในทศวรรษที่ผ่านมา จาก 41 ล้านคนเป็น 103 ล้านคน (ในเดือนมิถุนายน 2022)

 จากข้อมูลของ ปัจจุบันผู้คน 1 ใน 95 คนถูกบีบคั้นให้ต้องพลัดถิ่น โดยเพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 159 คนในปี 2010 โดยอัตราการพลัดถิ่นทั่วโลกในขณะนี้แซงหน้าการเติบโตของประชากร

 คุณคามารากล่าวว่า RCOA กำลังสนับสนุนให้รัฐบาลออสเตรเลียเพิ่มจำนวนการรับผู้ลี้ภัยต่อปีภายใต้โครงการด้านมนุษยธรรม


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 19 June 2023 12:24pm
By Roza Germian
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand