เหตุใดผู้อพยพย้ายถิ่นในออสเตรเลียจึงเสี่ยงต่อโรคหอบหืดมากกว่า?

เมื่อสิ้นสุดการสอบสวนการเสียชิวิตด้วยโรคหอบหืดรายหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างพายุฝนอันแปลกประหลาดในนครเมลเบิร์น เอสบีเอสนิวส์ก็ได้สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพว่าเพราะเหตุใดบางท่านจึงมีความเสี่ยงที่สูงกว่า

As the inquest into a fatal freak thunderstorm asthma event in Melbourne comes to a close, SBS News asks health experts why some people may be at higher risk.

เอสบีเอสนิวส์สอบถามผู้เชี่ยวชาญว่าเหตุใดบางคนจึงมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดหอบหืดที่มากับพายุฝนฟ้าคะนอง Source: Images obtained by SBS News

สรุประเด็นสำคัญในบทความนี้...

  • ทำไมจึงต้องเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานชาวเอเชียตะวันออกและชาวอินเดีย?
  • อะไรคือหอบหืดจากพายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm asthma)?
  • ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?
  • ท่านจะสามารถปกป้องตนเองได้อย่างไร?
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรุนแรงเมื่อเวลาประมาณ 18:00 น. ของวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 นั้น คาดว่าจะช่วยบรรเทาความร้อนของวันดังกล่าวลงได้ที่นครเมลเบิร์น แต่ทว่า มันกลับก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในนครดังกล่าว โดยมีผู้คนเป็นจำนวนหลายพันคนประสบกับปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงต่อเกสรของดอกหญ้า ซึ่งได้ถูกพัดขึ้นไปในอากาศโดยพายุ

จากรายงานของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์สูงสุดของรัฐ มีผู้คนจำนวนกว่า 12,700 คนที่มายังแผนกฉุกเฉินทั่วรัฐวิกตอเรียในระหว่างวิกฤตดังกล่าว โดยที่สิบคนเสียได้ชีวิตลง ซึ่งหกคนในจำนวนนั้นมีพื้นเพมาจากอินเดียหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานหนึ่งซึ่งสอบสวนเรื่องดังกล่าวยังได้ระบุว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นสิ่งซึ่ง “ไม่ว่าจะในเรื่องของขนาด ความรุนแรง และความปัจจุบันทันด่วนนั้น ไม่เคยปรากฏพบเห็นมาก่อน และก็ไม่เคยมีใครอาจคาดฝัน หรือวางแผนเตรียมการล่วงหน้าไว้ได้” ซึ่งเรื่องนี้ก็ยังคงเป็นประเด็นในการวินิจฉัยของศาลผู้ใต่สวนหาสาเหตุการตายในรัฐวิกตอเรีย ซึ่งผลสรุปในท้ายที่สุดนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา
Thunderstorm asthma victims
Ten people died following Melbourne's thunderstorm asthma event in 2016. Source: SBS News

ทำไมจึงเป็นผู้อพยพย้ายถิ่นฐานจากเอเชียตะวันออกและอินเดีย?

ภายในเวลา 30 ชั่วโมงของพายุดังกล่าวเมื่อปี 2016 มีผู้คนมากกว่าปกติ 4,000 คนเดินทางไปยังแผนกฉุกเฉินด้วยปัญหาของระบบทางเดินหายใจหรือหอบหืดขั้นรุนแรง “โดยเฉพาะบุคคลซึ่งเกิดในประเทศอินเดียหรือศรีลังกา” โดยอ้างอิงจากงานวิจัยชิ้นสำคัญที่ตีพิมพ์ในวารสาร  เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้คนจากชาติพันธุ์เอเชียตะวันออกหรืออินเดียนั้นคิดเป็นจำนวน 25 เปอร์เซ็นต์ของประชากรนครเมลเบิร์น แต่จำนวนผู้คนซึ่งได้ถูกรับตัวไว้เพื่อรักษาในโรงพยาบาลจากกลุ่มดังกล่าวนั้นมีถึง 39 เปอร์เซ็นต์
新州昆州繼續受惡劣天氣影響
(Source: AAP) Source: AAP
ดร. นาฮ์เมห์ รัตกฤษณา ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินหายใจ การนอนหลับและภูมิแพ้จากโรงพยาบาลเซนต์วินเซนต์และจากคลินิกเอกชนแห่งหนึ่งที่ชื่อว่าอีสต์เมลเบิร์นฮาร์ทแอนด์ลัง (East Melbourne Heart and Lung) กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า ชาวเอเชียนั้น โดยทั่วๆ ไปแล้วไม่ได้มีความชุกของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (hay fever) หรือหอบหืดที่สูงแต่อย่างใด

“ทว่าหลังจากที่พวกเขาย้ายมาที่ออสเตรเลีย นั่นก็จะเป็นเวลาที่คุณจะได้เห็นการเพิ่มความชุกของกลุ่มอาการต่างๆ เหล่านี้” เธอกล่าว

เธออ้างอิงถึงงานวิจัยชิ้นสำคัญซึ่งแผยแพร่โดย ดร. โรแลนด์ เหลียง ในปี 1994 ซึ่งพบว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานสู่ประเทศออสเตรเลียนั้น มีความน่าจะเป็นที่จะเกิดกลุ่มอาการต่างๆ เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่อยู่ในประเทศ(ออสเตรเลีย)

“ส่วนหนึ่งของเรื่องนั้นจะเกี่ยวข้องกับความเป็นจริงที่ว่า พวกเขาไม่เคยสัมผัสกับสารก่อให้เกิดการแพ้ต่างๆ ที่เรามีอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ยกตัวอย่างเช่นหญ้าไรย์ (ryegrass)” ดร. รัตกฤษณา กล่าว

หญ้าไรย์นั้นเป็นหญ้าที่พบได้บ่อยมากในทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลีย

“เพราะฉะนั้น เมื่อพวกเขามาที่ประเทศออสเตรเลียเพียงไม่กี่ปี ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณห้าถึงสิบปี พวกเขาก็จะเริ่มไวต่อสารต่างๆ เหล่านี้ … ดังนั้นพวกเขาจึงเริ่มประสบกับอาการต่างๆ เหล่านี้ของภาวะภูมิแพ้ จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ คันดวงตา จาม คันคอ และคันหู”
Some of the pollen that was flying around Melbourne on November 2016 as a consequence of the  thunderstorm.
Some of the pollen that was flying around Melbourne on November 2016 as a consequence of the thunderstorm. Source: AAP
ศาสตราจารย์แจเน็ต เดวีส์ หัวหน้างานวิจัยภูมิแพ้แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนส์แลนด์ หนึ่งในทีมหัวหน้านักประพันธ์งานวิจัยของ Lancet Planetary Health กล่าวว่า ยังไม่มีใครเข้าใจสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ว่าทำไมประชากรในกลุ่มต่างๆ จึงมีภาวะที่ไวต่อละอองเกสรของหญ้าที่ไม่เหมือนกัน

“มันน่าสนใจมากอย่างแน่นอน” เธอกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ “มันอาจจะเป็นเรื่องต่างๆ ขนานใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเข้าไปเปลี่ยนแปลงการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขา” แต่มันก็อาจจะเกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ซึ่งต่างชนิดกันไปได้ด้วย
Head of allergy research at Queensland University of Technology, Professor Janet Davies.
Head of allergy research at Queensland University of Technology, Professor Janet Davies. Source: Queensland University of Technology
“มันอาจจะเป็นเรื่องของสิ่งต่างๆ เช่นอาหาร จุลชีวมิติ (microbiome หรือจุลชีพต่างๆ ที่อาศัยอยู่ภายในร่างกาย)  ภายในทางเดินอาหารของคุณ และการที่ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของคุณ มันแน่นอนว่าเป็นการปฏิสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน ระหว่างแนวโน้มทางด้านพันธุกรรมของคุณ และสิ่งแวดล้อมที่คุณอาศัยอยู่ - ซึ่งก็อาจเกี่ยวข้องกับความซับซ้อนหลายๆ ชั้นที่มีผลต่อการแสดงออกต่างๆ ของโรคภูมิแพ้ในผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน”

อะไรคือหอบหืดจากพายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm asthma)?

โดยอ้างอิงจากสภาโรคหอบหืดแห่งชาติ The National Asthma Council “การระบาดของโรคหอบหืดจากพายุฝนนั้น เป็นการกระจุกตัวของโรคหอบหืดจากการแพ้ที่ไม่ปกติ  โดยจะเป็นมากขึ้นหลังจากพายุฝนฟ้าคะนองบางชนิดในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิหรือต้นฤดูร้อน ... ซึ่งก็มีสาเหตุร่วมกันจากจำนวนเกสรหญ้าที่มาก และสภาพฝนฟ้าคะนองที่ไม่ปกติ ซึ่งจะทำให้มีความหนาแน่นของเมล็ดต่างๆ หรือสารก่อให้เกิดการแพ้ และเกสรหญ้า ที่ทำให้แต่ละคนนั้นแพ้“

มีการบันทึกโรคหอบหืดจากพายุฝนเอาไว้เป็นจำนวน 23 ครั้งในโลกตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นที่รัฐวิกตอเรีย (ซึ่งเป็นที่แรกที่ได้รับการระบุไว้) และในสหราชอาณาจักร

เหตุการณ์ดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นในภูมิภาคเขตอบอุ่น ซึ่งมีหญ้าเป็นจำนวนมากในฤดูกาลผลิเกสรของหญ้า ซึ่งในนครเมลเบิร์นนั้นได้แก่ช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดกระบวนการต่างๆ ดังกล่าวนั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด แต่สมมติฐานที่เด่นนำอยู่ในเรื่องนี้ก็คือ วันที่มีจำนวนเกสรอย่างมากสุดโต่ง (extreme pollen days) ในกระแสลมแรง กอปรกับความชื้นในอากาศระหว่างพายุฝน ทำให้เมล็ดเกสรหญ้าเล็กๆ นั้นแตกตัวออก และปลดปล่อยอานุภาคขนาดจิ๋วซึ่งมีสารก่อให้เกิดการแพ้

“ภายในเมล็ดเกสรนั้นมีผงแป้งขนาดจิ๋วหลายร้อยชิ้น ซึ่งก็จะถูกปลดปล่อยออกมา จนกลายเป็นละอองเล็กๆ ในอากาศ ที่มีขนาดเล็กพอจนสามารถถูกสูดหายใจเข้าไปได้” ศาสตราจารย์เดวีส์กล่าว

ใครบ้างที่เสี่ยง?

อุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2016 นั้น เป็น “การเป็นหอบหืดครั้งแรก(ในชีวิต) ... ของหลายๆ คน ที่ได้รับผลกระทบ” ตามรายงานของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์สูงสุดแห่งรัฐวิกตอเรีย ซึ่งก็หมายความว่าบางคนนั้นอาจไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น

โดยอ้างอิงจากสภาโรคหอบหืดแห่งชาติ “ผู้คนนั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืดขึ้นมาอย่างเฉียบพลัน โดยถูกกระตุ้นจากพายุฝนฟ้าคะนองซึ่งก็รวมถึงจมูกอักเสบจากการแพ้ตามฤดูกาล (ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีหอบหืดด้วยก็ตาม) ผู้ซึ่งมีประวัติโรคหอบหืด และผู้ที่เป็นหอบหืดแต่ยังไม่เคยได้รับการวินิจฉัย”

ศาสตราจารย์เดวีส์กล่าวว่า ในออสเตรเลียนั้น ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดก็คือ “ปัจจัยสามประการจากเกสรหญ้าไรย์” ซึ่งหมายถึงการเกิดปฏิกิริยาภูมิไวต่อเกสรหญ้าไรย์ จมูกอักเสบจากการแพ้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และการสัมผัสกับเกสรหญ้าไรย์ในระดับสูงระหว่างที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง

ท่านจะสามารถปกป้องตนเองได้อย่างไร?

ดร. รัตกฤษณา กล่าวว่า มีวิธีการรักษาต่างๆ หากว่าท่านมีความเสี่ยง ซึ่งก็จะช่วยบรรเทาความรุนแรงของอุบัติการณ์หอบหืดจากพายุฝนฟ้าคะนอง

“หากท่านมีอาการต่างๆ ของโรคหอบหืด – หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก และลมหายใจมีเสียงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูใบไม้ผลิ ท่านก็จำเป็นที่จะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่าท่านเป็นหอบหืดหรือไม่”

“หากท่านเป็นหอบหืด ท่านก็ควรจะใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง และท่านก็ควรจะสอบถามแพทย์ทั่วไปหรือ GP ของท่านเกี่ยวกับการมีแผนเพื่อรับมือกับหอบหืด และก็ทำให้แน่ใจว่าท่านมียาช่วยบรรเทาอาการติดมือไว้ เช่น ยาละอองสำหรับสูดหายใจ เวนโทลิน (Ventolin) หรือ แอสมอล (Asmol) โดยพกติดตัวไว้ เก็บไว้พร้อมใช้งาน”

การอยู่ภายในอาคารก็อาจช่วยได้ เธอยังแนะนำให้ใช้  ซึ่งจะให้บริการการพยากรณ์ละอองเกสร ออสพอลเลน (AusPollen) จากศาสตราจารย์เดวีส์ ซึ่งก็จะคอยเตือนผู้ใช้ถึงจำนวนเกสรที่อาจเป็นอันตรายในพื้นที่ของพวกเขา

หากมีเหตุฉุกเฉิน โทรเรียกรถพยาบาลทันทีที่หมายเลข 000

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหอบหืดจากพายุฝนฟ้าคะนอง ติดต่อ สายให้ความช่วยเหลือโรคหอบหืด 1800 ASTHMA Helpline (1800 278 642)
หรือไปที่: , และ


Share
Published 28 August 2018 1:20pm
Updated 28 August 2018 11:59pm
By Kelsey Munro
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News, AAP


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand