WA จ่อเลิกใช้แก้วกาแฟใช้แล้วทิ้ง หลายฝ่ายกังวลอาจแก้ปัญหาไม่ถูกจุด

รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียประกาศเลิกใช้แก้วกาแฟกระดาษ ด้านผู้สนับสนุนเรื่องการลดจำนวนขยะชี้อาจเป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด

Disposable coffee cups in rubbish bins

Nearly two billion single-use cups are used by Australians every year. Source: Getty / picture alliance/dpa

ประเด็นสำคัญ:
  • รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียประกาศเลิกใช้แก้วกาแฟกระดาษตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์นี้
  • คนออสเตรเลียใช้ถ้วยกระดาษแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นจำนวนประมาณ 1.8 พันล้านถ้วยต่อปี
  • แม้ว่ายังมีการอนุญาตให้ขายแก้วกาแฟกระดาษที่ย่อยสลายได้สำหรับซื้อกาแฟกลับบ้านแต่ผู้สนับสนุนกล่าวว่ารัฐยังไม่มีกระบวนการที่ทำให้ถ้วยเหล่านี้ย่อยสลายอย่างมีประสิทธิภาพ
การออกกฎห้ามใช้แก้วที่ใช้สำหรับซื้อกาแฟกลับบ้านของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ซึ่งถ้วยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในร้านกาแฟทั่วออสเตรเลียจะถูกห้ามขายในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป

ถ้วยเหล่านี้นั้นแม้ว่าตัวแก้วกาแฟส่วนใหญ่ทำจากกระดาษแข็ง แต่มักจะบุด้วยพลาสติกเพื่อให้ของเหลวไม่ทำให้ถ้วยเปียก

Biodegradable coffee cups
If disposed of in general waste, compostable coffee cups will create methane as they break down in landfill. Source: Getty / Nungning20
ในขณะที่ถ้วยกาแฟแบบซื้อกลับบ้านแบบเดิมนั้นบุด้วยพลาสติกแบบเดียวกับที่ใช้ในถุงพลาสติกและบรรจุภัณฑ์นั่นคือ โพลิเอทิลีน (PE)แต่ถ้วยที่ย่อยสลายได้นั้นใช้โพลิเอทิลีน ซึ่งทำจากน้ำตาลจากแหล่งธรรมชาติ เช่น แป้งข้าวโพด (PLA)

แต่ผู้ที่รณรงค์การลดขยะกำลังกระตุ้นให้ผู้คนใช้ถ้วยกาแฟที่ใช้ซ้ำหากเป็นไปได้ เนื่องจากทางเลือกในการใช้ถ้วยกาแฟที่ย่อยสลายได้อาจไม่ได้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างที่ผู้คนคาดหวัง

นโยบายแบนพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวล่าสุดของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย

หลังจากการห้ามใช้ถุงพลาสติกน้ำหนักเบาในปี 2561 รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียได้ออกคำสั่งห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวหลายรายการเมื่อต้นปี 2565 รวมถึงจาน ช้อนส้อม และหลอด

ในอนาคตจะมีการห้ามใช้ถุงประเภทต่างๆ ที่ทำมาจากพลาสติกและสำลีก้านที่มีก้านพลาสติกเพิ่มเข้ามาเช่นเดียวกับถ้วยกาแฟพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้

รัฐบาลรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียระบุว่า ถ้วยกาแฟทางเลือกจะทำให้ร้านค้าปลีกต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก 7 เซนต์ต่อกาแฟหนึ่งแก้ว หากผู้บริโภคไม่ได้นำแก้วมาเองหรือดื่มกาแฟที่ร้าน

แม้ว่าผู้ค้าปลีกและซัพพลายเออร์อาจถูกปรับสูงถึง 25,000 ดอลลาร์ แต่รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียกล่าวว่าจะใช้ "สามัญสำนึก และใช้แนวทางให้ความรู้" เพื่อเป็นแนวทางการปฎิบัติซึ่งแนวทางดังกล่าวจะอนุญาตให้มีระยะเวลาเปลี่ยนผ่านระหว่าง 6 ถึง 28 เดือนสำหรับสินค้าแต่ละประเภท

การห้ามใช้แก้วกาแฟพลาสติกคาดว่าจะบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่เดือนมีนาคม 2024

ซึ่งผลจากการห้ามใช้พลาสติกเพิ่มเติมหลายรายการนี้ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียประเมินการว่ารอาจจะลดขยะพลาสติกลงได้ 700 ล้านชิ้นต่อปี

ส่วนรัฐเซาท์ออสเตรเลียเป็นอีกรัฐหนึ่งที่มีนโยบายห้ามใช้ถ้วยกาแฟที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ โดยคำสั่งห้ามนี้จะมีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายน 2024

ทางเลือกในการใช้แก้วกาแฟแบบอื่นในปัจจุบัน

ดังที่นายกรัฐมนตรี มาร์ค แมคโกแวน ชี้ให้เห็นในโพสต์ของเขาในโซเชียลมีเดียว่า ถ้วยกาแฟแบบนำกลับบ้านที่ย่อยสลายได้เป็นทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจากถ้วยพลาสติกที่จะถูกสั่งห้าม

อย่างไรก็ตามถ้วยที่ย่อยสลายบางประเภทที่ผ่านมาตรฐานบางข้อของออสเตรเลียจะยังคงได้รับอนุญาตให้ใช้ต่อไป

และหากทำตามกระบวนการที่ถูกต้อง ถ้วยกาแฟที่ย่อยสลายได้สามารถย่อยสลายได้ภายใน 12 สัปดาห์ในโรงงานอุตสาหกรรม

อะไรคือความกังวลผู้สนับสนุนการลดขยะ

คุณ รีเบกกา พรินซ์-รูซส์ ผู้อำนวยการบริหารของมูลนิธิ Plastic Free Foundation กล่าวว่าปัญหาของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียคือ "การห้าม" การใช้มันจะไม่ได้ลดปริมาณวัสดุที่ใช้ผลิตตามไปด้วย เธอกล่วว่า

“หากถ้วย [ที่ย่อยสลายได้] ไม่ถูกย่อยสลายแต่หากถูกส่งไปฝังกลบแทนมันจะมีผลที่ตามมาคือ มันจะเพิ่มการผลิตก๊าซมีเทน” เธอกล่าว

"แน่นอนว่า วัสดุอาจย่อยสลายได้แต่เราใช้สิ่งของเหล่านี้ในที่สาธารณเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นมันจะลงเอยที่ถังขยะสาธารณะ ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยที่พวกมันจะไปลงเอยในโรงงานอุตสาหกรรมที่แปรรูปขยะ]”

“เราไม่มีระบบการจัดเก็บและจัดการกับขยะเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพมากพอ”

ในขณะที่หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นใน WA แนะนำให้ประชาชนอย่าทิ้งถ้วยกาแฟลงในถังขยะรีไซเคิล

แต่คุณ ชาคกา ฮอร์นาโกวา ผู้ก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม Donut Waste ซึ่งมีวัตุประสงค์ให้การศึกษาและการพัฒนาในการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน กล่าวว่าเธอมองไม่เห็นว่าถ้วยกาแฟที่ย่อยสลายได้ที่ผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขายในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียจะถูกย่อยสลายได้อย่างไร เธอกล่าวว่า

“มันมีโอกาสปนเปื้อนสูงเกินไป ดังนั้นถ้วยกาแฟไม่ว่าประเภทใดก็ตามมันจะถูกแยกออกไปทิ้งในถังขยะทั่วไปอยู่ดี”

Sharka Hornakova
Sharka Hornakova says WA's incoming ban on takeaway coffee cups does not go far enough.

ความเห็นของผู้ผลิตถ้วยที่ย่อยสลายได้

คุณ แกรี สมิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของบริษัท BioPak กล่าวว่าถ้วยกาแฟที่ย่อยสลายได้ซึ่งผลิตโดยบริษัทของเขานั้นไม่มีสาร PFAS

เขากล่าวว่าเทศบาลในนครโฮบาร์ตและแอดิเลดหลายแห่งมีการอนุญาตให้ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ในคอลเลกชัน FOGO ของพวกเขา และเนื่องจากนโยบายการห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวที่เพิ่มมากขึ้น หน่วยงานกำกับดูแลควรแน่ใจว่าควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมาตฐาน

นายสมิธไม่ได้ระบุว่าถ้วยกาแฟที่ย่อยสลายได้ของ BioPak ย่อยสลายได้กี่เปอร์เซ็นต์ แต่เขากล่าวว่า

"มันจำเป็นต้องมีการให้ความรู้เพื่อช่วยให้บรรจุภัณฑ์ของเราย่อยสลายสู่ธรรมชาติ"

แล้วอะไรคือทางเลือกของผู้บริโภค

คุณ รีเบกกา พรินซ์-รูซส์ กล่าวว่ามีการวิจัยโดยมูลนิธิของเธอที่ชี้ให้เห็นว่ามันมีมาตรการที่น่าจะสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้ถ้วยกาแฟคือลูกค้าที่เลือกรซื้อกาแฟในถ้วยกาแฟกลับบ้านต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

อีกประการหนึ่งก็คือการห้ามใช้ถ้วยที่นำกลับบ้านสำหรับร้านอาหารที่สามารถทำความสะอาดได้

ส่วนคุณ ฮอร์นาโกวา ชี้ให้เห็นว่ามีร้านกาแฟบางร้านที่ใช้แนวทางนี้อยู่แล้ว แต่สำหรับร้านอื่นๆ ที่ไม่ได้ใช้แนวทางนี้แพราะพวกเขากลัวเสียฐานลูกค้า เธอทิ้งท้ายว่า

"ร้านกาแฟหลายๆ แห่งกังวลว่าหากทำอย่างนั้นคนจะไปซื้อที่อื่น มันก็มีคำถามว่าแล้วทำไมไม่ทำให้เหมือนกันหมดล่ะ"



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Published 15 February 2023 11:46am
Updated 15 February 2023 2:19pm
By Aleisha Orr
Presented by Chayada Powell
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand