นครโฮบาร์ตจะเริ่มใช้ชื่อภาษาพื้นเมืองหรือไม่?

NEWS: นครโฮบาร์ตจะสามารถใช้ชื่อเรียกภาษาพื้นเมืองควบคู่ไปกับชื่อปัจจุบันได้

ภาพของโฮบาร์ต นครหลวงของรัฐแทสมาเนีย จากภูเขา Mt Nelson

ภาพของโฮบาร์ต นครหลวงของรัฐแทสมาเนีย จากภูเขา Mt Nelson Source: AAP

สมาชิกชุมชนพื้นเมืองของรัฐแทสมาเนียได้เรียกร้องให้นครโฮบาร์ตหันมาใช้ชื่อคู่กับชื่อภาษาพื้นเมือง เพื่อแสดงความสมานฉันท์ (Reconciliation) ซึ่งเป็นการแสดงความปรองดองระหว่างผู้ตั้งรกรากยุคหลังกับชาวพื้นเมืองของออสเตรเลีย

ศูนย์ชาวอะบอริจินแห่งแทสมาเนีย (Tasmanian Aboriginal Centre) เสนอให้สภาเทศบาลนครโฮบาร์ตใช้ชื่อภาษาพื้นเมืองว่า Nipaluna (ออกเสียงว่า นิบ-พา-ลู้-เหนอะ) ในระหว่างการนำเสนอเมื่อวานนี้ (30 พ.ค.) อันเป็นส่วนหนึ่งของสัปดาห์สมานฉันท์หรือ Reconciliation Week

ชื่อดังกล่าวนั้นมาจากการรื้อฟื้นภาษาอะบอริจินที่ชื่อว่าภาษา พาลาวา คานิ
“การยอมรับว่าชาวอะบอริจินมาถึงที่นี่ก่อนใครอื่นนั้นย่อมจะเป็นแต่สิ่งที่ดีเท่านั้น”
“จะเป็นการมอบความภาคภูมิใจอย่างมากให้กับชุมชนชาวพื้นเมือง เพราะพวกเขาจะได้ไม่ต้องคอยแต่เห็นอนุสาวรีย์ของนักล่าอาณานิคมผิวขาวและเห็นแต่ภาษาอังกฤษที่นี่” ผู้บริหารสูงสุดของ TAC คุณเฮเธอร์ สคัลธอร์ป กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“การยอมรับว่าชาวอะบอริจินมาถึงที่นี่ก่อนใครอื่นนั้นย่อมจะเป็นแต่สิ่งที่ดีเท่านั้น”

คุณสคัลธอร์ปกล่าวว่า การค้นหาชื่อดั้งเดิมของเมืองนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการซึ่งใช้เวลายาวนาน 30 ปี

ชื่อดังกล่าวนั้นถูกเริ่มใช้เป็นครั้งแรกในเดือนมกราคมปี 1831 เมื่อผู้นำชาวอะบอริจินที่ชื่อ วูเรดดี (Wooreddy) ได้แบ่งปันชื่อดังกล่าวให้กับหมอสอนศาสนาหรือมิชชันนารีชื่อ ออกัสตัส รอบินสัน ทราบ

เธอกล่าวว่าชุมชนชาวพื้นเมืองนั้นจะ “เปี่ยมล้นไปด้วยความปิติและความภาคภูมิใจ” หากว่าสภาเทศบาลนครโฮบาร์ตเลือกที่จะหันมาใช้ชื่อดังกล่าว

นายกเทศมนตรีนครโฮบาร์ต คุณรอน คริสตี กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า เขายินดีกับข้อเสนอชื่อดังกล่าว

“แน่นอนว่าเราจะจะน้อมนำเรื่องนี้เอาไว้ ผมจะใช้ชื่อ Nipaluna ในการกล่าวปราศรัยของผมทุกครั้ง”

ขณะนี้การใช้ชื่อคู่กันดังกล่าวกำลังจะถูกเสนอต่อสภาเทศบาลเพื่ออนุมัติ ในการประชุมวันในจันทร์ที่จะถึงนี้ (4 มิ.ย.) และอาจถูกนำไปใช้อย่างเป็นทางการได้ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์

“เราเป็นชุมชนขนาดเล็ก แต่ชุมชนของเรานั้นมีแรงใจเต็มเปี่ยมที่จะยอมรับในเรื่องนี้”

“เราอาจเป็นเมืองหลวงที่เล็กที่สุด แต่เราจะเป็นผู้นำของประเทศในหลายๆ ด้าน เช่นในเรื่องนี้เป็นต้น”

มีการผลักดันชื่อภาษาพื้นเมืองทั่วประเทศ

นครบริสเบนก็ตกอยู่ท่ามกลางการถกเถียงเรื่องชื่อนี้เช่นเดียวกัน

ขณะนี้มีการยื่นเสนอชื่อสิบชื่อต่อกรมทรัพยากรธรรมชาติรัฐควีนส์แลนด์เพื่อหันกลับไปใช้ชื่อดั้งเดิมของเมืองว่า Miguntyun

ในพื้นที่อื่นๆ การผลักดันให้เขตเลือกตั้งสหพันธรัฐ เขต Batman ในรัฐวิกตอเรียเปลี่ยนชื่อเป็น Wonga นั้นถูกล้มเลิกไปโดยคณะกรรมาธิการการเลือกตั้งแห่งออสเตรเลีย (Australian Electoral Commission)

พรรคแรงงาน พรรคกรีนส์ สภาเทศบาลของย่าน Darebin ตลอดจนผู้นำชาวอะบอริจินต่างร่วมเสนอให้มีการเปลี่ยนชื่อดังกล่าวเพื่อเฉลิมฉลองผู้นำเผ่า Wurundjeri แทนผู้ก่อตั้งนครเมลเบิร์น นายจอห์น แบทแมน ซึ่งพวกเขาได้อ่างว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ชาวอะบอริจินในศตวรรษที่ 19

สำนักข่าว นิวส์ คอร์ป ออสเตรเลีย รายงานว่าทาง AEC ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว เนื่องจากทางหน่วยงาน “พิจารณาแล้วไม่พบเหตุผลที่หนักแน่นเพียงพอ” ที่ถูกนำมาสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงชื่อดังกล่าว

Share
Published 31 May 2018 11:49am
Updated 31 May 2018 11:22pm
By Lydia Feng
Presented by Tanu Attajarusit


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand